ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไทยเลือกยืนข้างจีนและญี่ปุ่นต่อต้านข้อเสนอควบคุมการซื้อขายอวัยวะปลาฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์


การถกเถียงเรื่องมาตรการปกป้องปลาฉลามและปลากระเบนหลายสายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์เพราะการประมง ได้ก่อให้เกิดความเห็นที่แตกแยกในการประชุม CITES ที่กรุงเทพฯ

สมาชิก 178 ประเทศของที่ประชุม CITES (Convention on the International Trade in Endangered Species) ที่กรุงเทพฯ กำลังเห็นแตกแยกกันในเรื่องข้อเสนอมาตรการปกป้องปลาฉลามและปลาประเบนที่ใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงปลาฉลามครีบขาว ฉลาม porbeagle ฉลามหัวค้อน 3 สายพันธุ์ ปลาฉนาก และปลากระเบนยักษ์ ซึ่งสหประชาชาติระบุว่าแต่ละปี มีฉลามหัวค้อนถูกล่าราว 2 ล้าน 7 แสนตัว ส่วนปลาฉลามครีบขาวถูกฆ่าเพื่อตัดครีบไปเป็นอาหารราว 1 ล้าน 2 แสนตัวต่อปี

คุณ Sonja Fordham ประธานกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ปลาฉลาม Shark Advocates International กล่าวว่าข้อเสนอให้จำกัดการซื้อขายชิ้นส่วนปลาฉลามนั้นได้รับการสนับสนุนจาหลายองค์กร รวมทั้งองค์กรอาหารและการเกษตรสหประชาชาติหรือ FAO และเวลานี้ได้ถูกนำเสนอต่อที่ประชุม CITES แล้ว

แต่คุณ Rebecca Regenry แห่งองค์กร Humane Society International ระบุว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกต่อต้านจากประเทศใหญ่ๆในเอเชียรวมทั้งจีนและญี่ปุ่น และบางประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย โดยก่อนหน้านี้ผู้แทนของไทยระบุว่าจะสนับสนุนจุดยืนของจีนเรื่องการต่อต้านข้อเสนอควบคุมการซื้อขายอวัยวะปลาฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์

ปัจจุบัน ครีบปลาฉลามมีราคาสูงมาก ตกประมาณ 120$ ต่อก.ก แต่ชิ้นส่วนอื่นๆนั้นไม่มีราคามากนัก บ่อยครั้งชาวประมงจึงตัดเอาเฉพาะครีบปลาฉลามออก แล้วปล่อยฉลามกลับคืนสู่ทะเลขณะยังมีชีวิต

ฮ่องกงคือตลาดใหญ่ที่สุดของครีบปลาฉลามซึ่งนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทหูฉลาม คาดว่าเมื่อปี พ.ศ 2554 ฮ่องกงนำเข้าครีบฉลามรวม 10 ล้านก.ก คิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณการซื้อขายครีบปลาฉลามทั่วโลก
XS
SM
MD
LG