ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'อนามัยโลก' กลับลำแนะนำฉีดวัคซีนบูสเตอร์


Virus Outbreak-Vaccines-Omicron
Virus Outbreak-Vaccines-Omicron

องค์การอนามัยโลก (WHO) ปรับคำแนะนำในวันอังคาร สนับสนุนการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิ หรือ บูสเตอร์ เป็นการเร่งด่วน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจุดเดิมที่องค์การอนามัยโลก เคยมองว่าการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ไม่มีความจำเป็นและนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านวัคซีน

ในแถลงการณ์ของอนามัยโลก ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปว่าการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ให้การป้องกันระดับสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตท่ามกลางการระบาดของโควิดโอมิครอนทั่วโลก และว่าการฉีดวัคซีน ซึ่งรวมถึงวัคซีนบูสเตอร์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คนที่เสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรง

อีกด้านหนึ่ง ทาง WHO ระบุว่า ยังคงจับตาการแพร่ระบาดของโควิดโอมิครอน รวมทั้งสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีการศึกษาพบว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโอมิครอนมาก่อนจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ แต่วัคซีนโควิดนั้นมีประสิทธิผลในการป้องกันโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยได้

ที่ผ่านมา มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับที่ชี้ว่า วัคซีนบูสเตอร์จะช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ซึ่งหลายประเทศ รวมทั้งอังกฤษ แคนาดา และสหรัฐฯ ได้ผลักดันการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ เพื่อสกัดกั้นการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิดโอมิครอนที่ระบาดหนักในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ทาง WHO ย้ำว่าวัคซีนที่อนุมัติการใช้ในปัจจุบัน พัฒนามาจากโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ของจีนเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว และแนะให้มีการปรับปรุงพัฒนาวัคซีนให้สามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ด้วยเช่นกัน

วิจัยชี้ แม้ป่วยโควิด-19 เล็กน้อย ยังเสี่ยงสมองหดตัว-สูญเสียความทรงจำ

การศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันจันทร์ พบว่า การติดเชื้อโคโรนาไวรัส โควิด-19 มีความเสี่ยงภาวะสมองหดตัว หรือสูญเสียความจำ แม้จะมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย

ในการศึกษาเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสมองกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 785 คน ช่วงอายุ 51-81 ปี พบหลักฐานความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับสมอง แม้จะป่วยไม่รุนแรง ส่วนขนาดของสมองผู้ป่วยหดตัวลงราว 0.2% ถึงระดับ 2%

นอกจากนี้ ยังพบภาวะสมองล้า หรือ brain fog ภาวะการทำงานของสมองส่วนควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมแย่ลงไป หลังจากติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

  • ที่มา: เอพีและรอยเตอร์
XS
SM
MD
LG