ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘อนามัยโลก’ ชี้ ‘แอสปาร์แตม’ เป็นสารก่อมะเร็ง แต่บริโภคได้


FILE - Sodas are displayed at a Vons grocery store in Pasadena, Calif., June 10, 2020. Many soft drinks contain the artificial sweetener aspartame, which is about 200 times sweeter than sugar. It's the world's most widely used artificial sweetener.
FILE - Sodas are displayed at a Vons grocery store in Pasadena, Calif., June 10, 2020. Many soft drinks contain the artificial sweetener aspartame, which is about 200 times sweeter than sugar. It's the world's most widely used artificial sweetener.

องค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่าผู้ที่บริโภคแอสปาร์แตมและสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดอื่น ๆ ในปริมาณจำกัดทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้น้อยมาก แม้จะระบุว่าสารแอสปาร์แตมเป็นสารก่อมะเร็งก็ตาม

ฟรานเซสโก แบรนกา ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า “การบริโภคสารดังกล่าวเป็นครั้งคราว ในระดับที่น้อยกว่าสัดส่วนการบริโภคต่อวัน ถือว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ”

WHO Aspartame
WHO Aspartame

ทั้งนี้ แอสปาร์แตม สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นำมาใช้อย่างแพร่หลายในอาหารและเครื่องดื่มมากมาย ทั้งน้ำอัดลม หมากฝรั่ง ไอศกรีม ซีเรียล มาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980

แต่ล่าสุดทางองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง หรือ IARC ขององค์การอนามัยโลก กับคณะกรรมการร่วมด้านสารปรุงแต่งอาหาร แห่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก หรือ JECFA ตัดสินเมื่อเดือนมิถุนายน ให้บรรจุสารชนิดนี้เข้าไปในรายการ “สารที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์” เป็นครั้งแรก และมีกำหนดบรรจุสารดังกล่าวไปในรายการสารก่อมะเร็งในเดือนกรกฎาคม

แบรนกา เสริมว่า ทาง JECFA ประเมินความเสี่ยงของการบริโภคแอสปาร์แตมและสรุปว่า “ยังไม่พบหลักฐานการทดสอบหรือข้อมูลของมนุษย์เกี่ยวกับสารแอสปาร์แตมว่ามีผลกระทบเชิงลบหากบริโภคต่อวันไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม”

นั่นหมายความว่า หากบุคคลนั้นน้ำหนัก 70 กิโลกรัม จะสามารถบริโภคแอสปาร์แตมได้ 2,800 มิลลิกรัมต่อวัน และเมื่อเราพิจารณาอาหารที่ใช้สารดังกล่าว อย่างน้ำอัดลม มีปริมาณแอสปาร์แตมราว 200-300 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง นั่นเท่ากับว่าบุคคลที่น้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม จะสามารถดื่มน้ำอัดลมที่มีสารแอสปาร์แตมได้ไม่เกิน 9-14 กระป๋องต่อวัน

ส่วนกรณีของเด็กที่น้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม สามารถบริโภคน้ำอัดลมลักษณะดังกล่าวได้ไม่เกิน 2-3 กระป๋อง

อย่างไรก็ตาม แบรนกา ไม่ได้แนะนำให้บริษัทอาหารและเครื่องดื่มเปลี่ยนแปลงสูตรที่ใช้สารชนิดอื่นแทนแอสปาร์แตม แต่ทิ้งท้ายไว้ว่าฝั่งผู้บริโภคควรจะพิจารณาหรือจำกัดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG