Jason Reiger กับ Chuck Aoki เป็นนักกีฬารักบี้คนพิการชาวอเมริกันที่เก่งกาจระดับโลก แม้ว่าจะมีความแตกต่างด้านอายุ นักรักบี้พิการทั้งสองคนมีความเหมือนกันตรงที่ความทุ่มเทและการฝึกซ้อมอย่างหนัก
ทีมรักบี้รถเข็นสหรัฐเคยอยู่อันดับหนึ่งของโลกตอนแข่งขัน World Wheelchair Rugby ครั้งที่แล้วเมื่อปี ค.ศ.2010 ในแวนคูเว่อร์ แคนาดาและพกเหรียญทองกลับบ้านมากกว่าทีมชาติอเมริกันทีมอื่นๆ
Aoki อายุ 21 ปี เขาเป็นนักรักบี้คนพิการที่อายุน้อยที่สุดในทีมและลงแข่งในพาราลิมปิกเป็นครั้งแรก
Aoki บอกว่า เขามีความพิการแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้เขาไม่มีความรู้สึกที่ข้อศอกและหัวเข่า เขาเริ่มเล่นรักบี้รถเข็นเมื่อห้าปีที่แล้วและได้รับคัดเลือกให้เป็นยอดนักกีฬาของสมาคมกีฬารักบี้อเมริกันแห่งปี ค.ศ. 2009และยังได้รับเหรียญทองในการแข่งขันสำคัญๆระดับชาติในอเมริกาหลายรายการ Aoki บอกว่าเขาเกลียดการพ่ายแพ้ ชัยชนะคือแรงบันดาลใจ เขาต้องการให้คนรอบข้างภาคภูมิใจ
ส่วนทางด้านเจสัน เรจเจอร์ เขาไม่ได้พิการแต่กำเนิดเหมือนกับ Aoki แต่เขาเริ่มเล่นกีฬารักบี้ในช่วงเข้ารับการฟื้นฟูร่างกายหลังอุบัติเหตุรถยนตร์
เรจเจอร์บอกว่าเขาได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเมื่อ 16 ปีที่แล้วและตอนที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่โรงพยาบาล เขาได้ชมการแข่งขันรักบี่รถเข็นทัวร์นาเม้นท์แล้วรู้สึกทึ่งมาก ตอนนั้นเขายังต้องใส่ที่รองรอบคอ หกเดือนหลังจากนั้นเขาได้ลองเล่นรักบี้รถเข็นดูแล้วรู้สึกว่าตนเองมีอิสรภาพมากขึ้น
เรจเจอร์เป็นนักรักบี้รถเข็นที่ได้รับรางวัลมาครองหลายรายการ เขาได้รับการเลือกให้เป็นยอดนักกีฬาของสมาคมกีฬารักบี้อเมริกันแห่งปี ค.ศ. 2008 เขายังชอบทำงานเพื่อสังคมด้วย เขาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงแก่มูลนิธินักกีฬาคนพิการ Challenged Athletes Foundation เรจเจอร์กล่าวว่าการแข่งขันกีฬาคนพิการหรือพาราโอลิมปิกมีความสำคัญเท่าๆกับการแข่งขันกีฬาอื่นๆ
เขาบอกว่านักกีฬาที่มีอุปสรรคทางกายอย่างพวกเขาต้องการได้รับการปฏิบัติต่อเหมือนกับนักกีฬาทั่วไป เขาบอกว่านักกีฬาพิการพิสูจน์ให้คนเห็นว่าไม่ควรยอมแพ้ต่ออุปสรรคทางกายที่ตนมี คนพิการควรบอกตนเองเสมอว่าฉันทำได้
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อสื่อมวลชนว่าให้ความสำคัญแก่การทำข่าวเกี่ยวกับพาราลิมปิกน้อยมากกว่ากีฬาโอลิมปิก Aoki นักรักบี่รถเข็นอเมริกันบอกว่า การแข่งขันกีฬาคนพิการเอาจริงเอาจังเหมือนกับการแข่งขันทั่วไป ไม่ใช่รายการโชว์ ทุกคนฝึกซ้อมกันมาอย่างหนัก ทุ่มเททั้งเวลา จิตใจและแรงกาย เขาบอกว่า การแข่งขันมาก่อน ความพิการมาทีหลัง
ทีมรักบี้รถเข็นสหรัฐเคยอยู่อันดับหนึ่งของโลกตอนแข่งขัน World Wheelchair Rugby ครั้งที่แล้วเมื่อปี ค.ศ.2010 ในแวนคูเว่อร์ แคนาดาและพกเหรียญทองกลับบ้านมากกว่าทีมชาติอเมริกันทีมอื่นๆ
Aoki อายุ 21 ปี เขาเป็นนักรักบี้คนพิการที่อายุน้อยที่สุดในทีมและลงแข่งในพาราลิมปิกเป็นครั้งแรก
Aoki บอกว่า เขามีความพิการแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้เขาไม่มีความรู้สึกที่ข้อศอกและหัวเข่า เขาเริ่มเล่นรักบี้รถเข็นเมื่อห้าปีที่แล้วและได้รับคัดเลือกให้เป็นยอดนักกีฬาของสมาคมกีฬารักบี้อเมริกันแห่งปี ค.ศ. 2009และยังได้รับเหรียญทองในการแข่งขันสำคัญๆระดับชาติในอเมริกาหลายรายการ Aoki บอกว่าเขาเกลียดการพ่ายแพ้ ชัยชนะคือแรงบันดาลใจ เขาต้องการให้คนรอบข้างภาคภูมิใจ
ส่วนทางด้านเจสัน เรจเจอร์ เขาไม่ได้พิการแต่กำเนิดเหมือนกับ Aoki แต่เขาเริ่มเล่นกีฬารักบี้ในช่วงเข้ารับการฟื้นฟูร่างกายหลังอุบัติเหตุรถยนตร์
เรจเจอร์บอกว่าเขาได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเมื่อ 16 ปีที่แล้วและตอนที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูที่โรงพยาบาล เขาได้ชมการแข่งขันรักบี่รถเข็นทัวร์นาเม้นท์แล้วรู้สึกทึ่งมาก ตอนนั้นเขายังต้องใส่ที่รองรอบคอ หกเดือนหลังจากนั้นเขาได้ลองเล่นรักบี้รถเข็นดูแล้วรู้สึกว่าตนเองมีอิสรภาพมากขึ้น
เรจเจอร์เป็นนักรักบี้รถเข็นที่ได้รับรางวัลมาครองหลายรายการ เขาได้รับการเลือกให้เป็นยอดนักกีฬาของสมาคมกีฬารักบี้อเมริกันแห่งปี ค.ศ. 2008 เขายังชอบทำงานเพื่อสังคมด้วย เขาทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงแก่มูลนิธินักกีฬาคนพิการ Challenged Athletes Foundation เรจเจอร์กล่าวว่าการแข่งขันกีฬาคนพิการหรือพาราโอลิมปิกมีความสำคัญเท่าๆกับการแข่งขันกีฬาอื่นๆ
เขาบอกว่านักกีฬาที่มีอุปสรรคทางกายอย่างพวกเขาต้องการได้รับการปฏิบัติต่อเหมือนกับนักกีฬาทั่วไป เขาบอกว่านักกีฬาพิการพิสูจน์ให้คนเห็นว่าไม่ควรยอมแพ้ต่ออุปสรรคทางกายที่ตนมี คนพิการควรบอกตนเองเสมอว่าฉันทำได้
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อสื่อมวลชนว่าให้ความสำคัญแก่การทำข่าวเกี่ยวกับพาราลิมปิกน้อยมากกว่ากีฬาโอลิมปิก Aoki นักรักบี่รถเข็นอเมริกันบอกว่า การแข่งขันกีฬาคนพิการเอาจริงเอาจังเหมือนกับการแข่งขันทั่วไป ไม่ใช่รายการโชว์ ทุกคนฝึกซ้อมกันมาอย่างหนัก ทุ่มเททั้งเวลา จิตใจและแรงกาย เขาบอกว่า การแข่งขันมาก่อน ความพิการมาทีหลัง