ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทย์ฟันธง! เครียดมากทำให้ผมหงอกก่อนวัย


These file photos, Oct. 7, 2009, left, and Nov. 28, 2012, right, show President Barack Obama speaking in Washington. (AP Photo, File)
These file photos, Oct. 7, 2009, left, and Nov. 28, 2012, right, show President Barack Obama speaking in Washington. (AP Photo, File)
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:47 0:00

การศึกษาครั้งใหม่ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature​ แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ความเครียดสามารถทำให้เส้นผมของคนเราเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาวได้

นักวิจัยค้นพบกระบวนการทางเคมีที่สามารถเปลี่ยนแปลงสีผมในช่วงเวลาที่เกิดความเครียดได้ กระบวนการนี้เชื่อมโยงกับปฏิกิริยาที่เรียกว่า "จะสู้หรือจะหนีดี" (fight-or-flight) ของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย

Ya-Chieh Hsu ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาฟื้นฟูสภาวะเสื่อมและสเต็มเซลล์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า การศึกษาครั้งใหม่นี้เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่แสดงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความเครียดและผมหงอก

นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูเพื่อดูว่าความเครียดมีผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดในรูขุมขนได้อย่างไร?

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ปกติคนส่วนใหญ่มีรูขุมขนบนหนังศีรษะประมาณ 100,000 รูขุมขน ซึ่งมีหน้าที่สร้างเมลาโนไซต์ (melanocyte ) หรือเซลล์สร้างสีผม เมื่อคนเราอายุมากขึ้น การผลิตเมลาโนไซต์ก็จะลดลง จึงทำให้ผมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือหงอกตามธรรมชาติ โดยนักวิจัยคาดเดาว่าความเครียดอาจส่งผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดเมลาโนไซต์ดังกล่าวได้

อีกสมมติฐานหนึ่งชี้ว่า อาจจะเป็นฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเพิ่มขึ้นในร่างกายตลอดเวลาในขณะที่เกิดความเครียดก็อาจเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองล่าสุดระบุว่าสมมติฐานทั้งสองอย่างอาจจะผิด เพราะหนูที่ขาดเซลล์เมลาโนไซต์ หรือถูกตัดต่อมผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลทิ้งไป ก็ยังคงมีขนสีขาวและสีเทาแซมขึ้นมาอยู่ดี

นักวิจัยชุดนี้จึงใช้วิธีใหม่ด้วยการทดสอบระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) ของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยา “fight-or-flight” ในสภาวะคับขัน

ระบบประสาทซิมพาเทติกนี้ประกอบด้วยชุดของเส้นประสาทที่แผ่ขยายไปทั่วร่างกายรวมถึงผิวหนัง เมื่อหนูถูกทำให้ได้รับความเจ็บปวดในระยะสั้น หรืออยู่ในห้องทดลองที่มีสภาพตึงเครียด เส้นประสาทเหล่านี้จะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา เรียกว่า norepinephrine ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ให้ผลิตเม็ดสีออกมามากขึ้น กระบวนการผลิตที่มากเกินไปนี้ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเซลล์สร้างสีก่อนเวลาอันควร

ศาสตราจารย์ Ya-Chieh Hsu กล่าวว่าการทดลองนี้ยืนยันความเชื่อของนักวิจัยที่ว่าความเครียดเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย และการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าผลกระทบนี้ยังส่งผลในระยะยาว เพราะเมื่อเซลล์ต้นกำเนิดที่สร้างเม็ดสีทั้งหมดหายไป ก็จะไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้อีกเป็นการถาวร

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การวิจัยนี้อาจนำไปสู่การบำบัดรักษาแบบใหม่ในอนาคต รวมไปถึงการขยายผลของการศึกษาวิจัยเพื่อดูว่า ความเครียดส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกายซึ่งนำไปสู่กระบวนการชราภาพได้หรือไม่

XS
SM
MD
LG