โรคเวสท์ไนท์ไวรัสถือเป็นโรคระบาดในสหรัฐอเมริกา โรคนี้ระบาดในช่วงฤดูร้อนในสหรัฐตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม มียุงรำคาญเป็นพาหะสำคัญที่ไปดูดเลือดจากนกที่มีเชื้อไวรัสนี้
ด็อกเตอร์ไลล์ ปีเตอร์สัน แห่งสำนักงาน CDC แห่งสหรัฐ กล่าวว่า ปีนี้มีผู้ติดเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัสมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึง โดยมากกว่า 2,500 ราย ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยเวสท์ไนล์ไวรัสยังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยและคาดว่ายังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปจนถึงเดือนตุลาคม
หน่วยงานสาธารณสุขสหรัฐพบการระบาดของโรคเวสท์ไนล์ไวรัสเกือบในทุกรัฐทั่วประเทศ ยกเว้นรัฐอลาสก้ากับรัฐฮาวาย แต่ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันชี้ว่าผู้ป่วยส่วนมากพบในไม่กี่รัฐเท่านั้น
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ป่วยมากกว่าสองพันห้าร้อยรายพบในหกรัฐ คือ เท็กซัส หลุยส์เซียน่า เซ้าท์ดาโกต้า มิสซิสซิปปี้ มิชิแกนและโอกลาโฮม่า โดยประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยอยู่ในรัฐเท็กซัส
รายงานของสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐหรือ CDC ชี้ว่าปกติ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้และมีผื่นร่วมด้วย แต่ผู้ติดเชื้อส่วนมากมักไม่เเสดงอาการข้างต้น แต่จะเกิดอาการสมองอักเสบในเวลาต่อมา ผู้ป่วยบางรายเกิดลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วย กล้ามเนื้อไม่มีแรงและเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างไม่ได้ โรคเวสท์ไนล์ไวรัสทำให้เสียชีวิตได้
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าปีนี้พบจำนวนผู้ป่วยอาการสมองอักเสบจากเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัสในสหรัฐมากที่สุดเท่าที่เคยพบมาตั้งแต่พบการระบาดของโรคนี้เป็นครั้งแรกในประเทศเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าจากจำนวนผู้ป่วย 2,636 ราย 1,405 คนหรือ 53 เปอร์เซ็นต์ ถูกจัดว่ามีอาการสมองอักเสบคล้ายกับอาการสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกับเชื้อเอ็นเซฟฟาไลทิส (encephalitis)
แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะสูงขึ้นถึง 35 เปอร์เซ็นต์จากช่วงต้นเดือนกันยายน ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าช่วงการระบาดที่เลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว และการระบาดของเวสท์ไนล์ไวรัสในสหรัฐมักจะถึงจุดสูงสุดในราวปลายเดือนสิงหาคมเพราะหลังจากนั้นช่วงกลางวันจะเริ่มสั้นลงและยุงที่เป็นพาหะของโรคมีเวลาออกหากินสั้นลง
ในขณะที่การระบาดของโรคนี้จะเข้าสู่ช่วงพัก ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐจะเริ่มต้นวิเคราะห์ตัวเลขและข้อมูลเกี่ยวกับการะบาดของโรคในปีนี้เพื่อหาคำตอบว่าทำไมจึงเกิดการระบาดรุนแรงในรัฐเท็กซัส นักวิทยาศาสตร์จะศึกษาปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งจำนวนประชากรยุงในพื้นที่ ระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อโรคในตัวยุงและยังจะดูปัจจัยด้านสภาวะอากาศประกอบด้วย
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าภาวะอากาศที่ร้อนกับปริมาณน้ำฝนมีความเกี่ยวเนื่องกันซับซ้อน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการระบาดของเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัส
มาถึงขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสภาวะอากาศมีผลต่อการแพรร่ระบาดของโรคนี้อย่างไร แต่ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบนี้
ด็อกเตอร์ไลล์ ปีเตอร์สัน แห่งสำนักงาน CDC แห่งสหรัฐ กล่าวว่า ปีนี้มีผู้ติดเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัสมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึง โดยมากกว่า 2,500 ราย ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยเวสท์ไนล์ไวรัสยังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยและคาดว่ายังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปจนถึงเดือนตุลาคม
หน่วยงานสาธารณสุขสหรัฐพบการระบาดของโรคเวสท์ไนล์ไวรัสเกือบในทุกรัฐทั่วประเทศ ยกเว้นรัฐอลาสก้ากับรัฐฮาวาย แต่ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันชี้ว่าผู้ป่วยส่วนมากพบในไม่กี่รัฐเท่านั้น
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ป่วยมากกว่าสองพันห้าร้อยรายพบในหกรัฐ คือ เท็กซัส หลุยส์เซียน่า เซ้าท์ดาโกต้า มิสซิสซิปปี้ มิชิแกนและโอกลาโฮม่า โดยประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยอยู่ในรัฐเท็กซัส
รายงานของสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐหรือ CDC ชี้ว่าปกติ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้และมีผื่นร่วมด้วย แต่ผู้ติดเชื้อส่วนมากมักไม่เเสดงอาการข้างต้น แต่จะเกิดอาการสมองอักเสบในเวลาต่อมา ผู้ป่วยบางรายเกิดลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วย กล้ามเนื้อไม่มีแรงและเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างไม่ได้ โรคเวสท์ไนล์ไวรัสทำให้เสียชีวิตได้
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าปีนี้พบจำนวนผู้ป่วยอาการสมองอักเสบจากเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัสในสหรัฐมากที่สุดเท่าที่เคยพบมาตั้งแต่พบการระบาดของโรคนี้เป็นครั้งแรกในประเทศเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าจากจำนวนผู้ป่วย 2,636 ราย 1,405 คนหรือ 53 เปอร์เซ็นต์ ถูกจัดว่ามีอาการสมองอักเสบคล้ายกับอาการสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกกับเชื้อเอ็นเซฟฟาไลทิส (encephalitis)
แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะสูงขึ้นถึง 35 เปอร์เซ็นต์จากช่วงต้นเดือนกันยายน ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าช่วงการระบาดที่เลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว และการระบาดของเวสท์ไนล์ไวรัสในสหรัฐมักจะถึงจุดสูงสุดในราวปลายเดือนสิงหาคมเพราะหลังจากนั้นช่วงกลางวันจะเริ่มสั้นลงและยุงที่เป็นพาหะของโรคมีเวลาออกหากินสั้นลง
ในขณะที่การระบาดของโรคนี้จะเข้าสู่ช่วงพัก ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐจะเริ่มต้นวิเคราะห์ตัวเลขและข้อมูลเกี่ยวกับการะบาดของโรคในปีนี้เพื่อหาคำตอบว่าทำไมจึงเกิดการระบาดรุนแรงในรัฐเท็กซัส นักวิทยาศาสตร์จะศึกษาปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งจำนวนประชากรยุงในพื้นที่ ระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อโรคในตัวยุงและยังจะดูปัจจัยด้านสภาวะอากาศประกอบด้วย
ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวว่าภาวะอากาศที่ร้อนกับปริมาณน้ำฝนมีความเกี่ยวเนื่องกันซับซ้อน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการระบาดของเชื้อเวสท์ไนล์ไวรัส
มาถึงขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสภาวะอากาศมีผลต่อการแพรร่ระบาดของโรคนี้อย่างไร แต่ด็อกเตอร์ปีเตอร์สันกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบนี้