ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์ : รอยร้าวการประชุม 'G7' เสถียรภาพที่ไร้ทิศทางของโลกตะวันตก


G7
G7

นักวิเคราะห์หลายคนแสดงความกังวลว่าการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ (G7)ที่ฝรั่่งเศสกลายเป็นเวทีที่สะท้อนความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มชาติตะวันตกมากขึ้นและกลายเป็นคำถามถึงแนวทางการรวมตัวกับกลุ่มประเทศแบบพหุภาคีว่าจะยังเป็นทางออกในการแก้วิกฤตการณ์โลกในปัจจุบันหรือไม่

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:13 0:00

นายราฟาเอลโล พันทุชชี่ (Rafaello Pantucci) ผู้อำนวยการด้านการศึกษาความมั่นคงระหว่างประเทศ จากสถาบัน รอยัล ยูไนเต็ด เซอร์วิส (Royal United Services Institute-RUSI) องค์กรวิชาการด้านนโยบายความมั่นคงและการทหาร ของสหราชอาณาจักร สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ หรือกลุ่ม G7 ที่จัดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ ที่เมืองบิอาร์ริซส์ ของฝรั่งเศส ว่าความไม่เป็นเอกภาพและไม่ลงรอยกันของกลุ่มประเทศสมาชิก 7 ประเทศคือ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา ทำให้ศักยภาพและความเชื่อมั่นในบทบาทการเป็นผู้นำโลก ของสมาชิกถดถอยลงไป

G7 ไร้เอกภาพ เท่ากับ ไร้ประสิทธิภาพ

นักวิชาการด้านความมั่นคงจากสถาน Royal United Services เขียนบทความตีพิมพ์ใน ‘เดอะไทมส์’ หนังสือพิมพ์รายวันฉบับเก่าแก่ของอังกฤษ แสดงความกังวลว่า กลุ่มประเทศตะวันตกกำลังกลายเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์สำคัญหลายๆด้านที่เกิดขึ้นทั่วโลกมากขึ้นไปในทุกขณะ โดยไม่มีความสามารถหรือแนวทางชัดเจนที่จะตอบสนองหรือจัดการสร้างความเปลี่ยนใดๆได้ เหมือนที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์จาก RUSI บอกว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ การตอบสนองของกลุ่มประเทศตะวันตก ที่มีต่อเหตุการณ์การประท้วงใหญ่ที่เกิดขึ้นบนเกาะฮ่องกง และ การประท้วงที่กรุงมอสโก ว่า ซึ่งทั้งจีน และรัสเซีย สามารถวางบทบาทของตัวเองได้ตามที่ต้องการได้อย่างเต็มที่

Hong Kong
Hong Kong

นักวิเคราะห์จากสถาบันด้านนโยบายความมั่นคงแห่งเกาะอังกฤษ ระบุด้วยว่า การประชุมสุดยอดกลุ่มผู้นำ G7 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สะท้อนการขาดความเป็นเอกภาพของกลุ่มประเทศสมาชิกได้ชัดเจนในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก หรือ Climate Change จุดยืนความสัมพันธ์กับรัสเซีย การเพิ่มขึ้นของกลุ่มแนวคิดชาตินิยม รวมไปถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับ จีน ที่กลับส่งผลร้ายต่อยุโรปมากกว่าอเมริกา

France G7 Summit Trump
France G7 Summit Trump

การประชุม G7 ครั้งนี้ นายแอมานุแอล มาคร็อง ของฝรั่งเศส ในฐานะเจ้าภาพการจัดการประชุมพยายามลดภาพลักษณ์ในความไร้เอกภาพของกลุ่มสมาชิกทั้ง 7 ประเทศ ด้วยการงด การออกแถลงการณ์สรุปร่วมกันของประเทศสมาชิกหลังการประชุมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มจัดการประชุมมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2518 เพื่อหลักหลีกเลี่ยงเหตุความวุ่นวายเหมือนปีที่ผ่านมาที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกจากที่ประชุมไปก่อนและไม่ยอมรับแถลงการณ์สุดท้าย

ถึงทางตัน-จนปัญญา หาเอกภาพ

นายวิลเลี่ยม เฮก (William Hague) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ แสดงความกังวลว่า มีโอกาสที่ความแตกแยกของบรรดากลุ่มประเทศสมาชิก G7 อาจจะเพิ่มมากขึ้นไปอีกหลังการประชุมเสร็จสิ้นลง โดยย้ำว่า บรรดาผู้นำทั้งหลายของกลุ่ม G7 กำลัง 'หมดปัญญา' ที่แสวงหาจุดเชื่อมโยงที่จะสร้างความร่วมมือผนึกกำลังแสดงจุดยืนในเพื่อแก้ปัญหาใด ๆ ได้ในขณะนี้

US President Donald Trump (L) sits to lunch with French President Emmanuel Macron at the Hotel du Palais in Biarritz, south-west France on August 24, 2019, on the first day of the annual G7 Summit attended by the leaders of the world's seven richest democ
US President Donald Trump (L) sits to lunch with French President Emmanuel Macron at the Hotel du Palais in Biarritz, south-west France on August 24, 2019, on the first day of the annual G7 Summit attended by the leaders of the world's seven richest democ

แม้ก่อนหน้าการประชุม ผู้นำฝรั่งเศส จะพยายามจัดทำแผนกระตุ้นความท้าทายให้ผู้นำประเทศสมาชิก 7 ประเทศ ได้ให้หันมาทบทวนการวางบทบาทในฐานะกลุ่มผู้นำโลก ด้วยการเน้นย้ำ กอบกู้แนวคิดประชาธิปไตยจากแนวคิดชาตินิยม ลดการผลักดันแนวคิดแบบทุนนิยม และมุ่งสร้างความเท่าเทียมและสร้างความหลากหลายทางเชื้อชาติ หรือแม้กระทั่งการชูประเด็นเพื่อหาทางออกร่วมกันแบบ พหุภาคี

แต่ทั้งหมดกลับถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดีจากประธานาธิบดี ทรัมป์ ที่ไม่เชื่อในแนวทางการมีส่วนร่วมที่หลากหลายแบบพหุภาคี และ มีข้อกังขาต่อกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีต่อมาตรกรการกดดันของสหรัฐฯ ที่มีต่ออิหร่าน

G7 Summit3
G7 Summit3

นอกจากนี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ยังกดดันยุโรปให้สนับสนุนการเผชิญหน้าทางการค้ากับจีนของสหรัฐฯ โดยชูแนวทางว่าแม้จะเจ็บปวดในระยะสั้นแต่ในระยะยาวจีนจะเป็นผู้เสียเปรียบในที่สุด

รัสเซีย หยัน G7 ไร้ตัวตน

ขณะที่รัสเซียแม้จะถูกให้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศชั้นนำ G8 จากประเด็นปัญหาการรุกรานยูเครน ในปี ค.ศ.2014 แต่ก็หันไปเพิ่มความร่วมมือกับจีน ที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจและใช้แนวทางการค้านำการทูตไปทั่วโลกอย่างได้ผล

นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวปฏิเสธที่จะกลับไปเข้าเป็นสมาชิก G8 โดยระบุว่ากลุ่มประเทศความร่วมมือดังกล่าวนั้นเป็นองค์กรที่ 'ไม่มีตัวตน' อีกต่อไป โดยผู้นำรัสเซียย้ำว่าจะหันไปพุ่งเป้าในเวทีนานาชาติที่ใหญ่กว่าคือกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ หรือกลุ่ม G20 แทน

โจทย์ใหม่ของ 'ผู้เสียเปรียบ' แห่งโลกตะวันตก

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ ย้ำว่า กลุ่มประเทศ G7 ควรหันกลับมามองเรื่องเสรีภาพกันใหม่ เพราะการสิ้นสุดของสงครามเย็นนั้นได้ทำให้กลุ่มประเทศประชาธิปไตยขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมานานแล้ว ขณะที่วิกฤติการเงินโลกก็ยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของแต่ละประเทศ

นอกจากนี้วิกฤตการณ์ทางการเงินที่ยาวนาน และการย้ายฐานการผลิตในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกไปยังตะวันออกมากขึ้น ได้ส่งผลโดยตรงต่อที่ชนชั้นแรงงานในตะวันตก ที่ต้องถูกผลักให้กลายเป็นผู้เสียเปรียบในโลกแห่งโลกาภิวัตน์ จนหลายคนต้องกลับมาตั้งคำถามว่า แนวทางแบบพหุภาคี ที่หลากประเทศตะวันตกยึดมั่นร่วมกันจะยังเป็นคำตอบในความสัมพันธ์ของโลกในปัจจุบันหรือไม่

XS
SM
MD
LG