โดยทั่วไปแล้ว มารดาที่อ้วนมักจะมีลูกอ้วน แต่งานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่ออกมา ชี้แนะว่า การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก อาจช่วยให้ลูกที่เกิดหลังจากนั้นไม่อ้วนเหมือนพี่ๆที่เกิดก่อนหน้านั้นได้
นักวิจัยในแคนาดาศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เกิดจากมารดาที่อ้วน กับเด็กที่เกิดหลังจากมารดารับการผ่าตัดลดน้ำหนัก และพบว่า เด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดและมารดามีน้ำหนักตัวน้อยลง เป็นเด็กที่ไม่อ้วนเหมือนพี่ๆที่เกิดก่อน และแถมยังมีปัจจัยความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเมื่อมีอายุสูงขึ้น น้อยลงด้วย
รายงานผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เชื้อพันธุ์หรือ gene ที่เกี่ยวโยงกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่สืบเนื่องกับความอ้วนของเด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดของมารดา ทำงานแตกต่างไปจาก gene ในเด็กที่เกิดก่อนการผ่าตัด ซึ่งนักวิจัยตีความว่า เด็กที่เกิดทีหลังอาจได้เปรียบทางด้านสุขภาพมากกว่าพี่ๆที่เกิดก่อน
ขณะเดียวกัน นักวิจัยย้ำว่า โภชนาการและการออกกำลังกาย จะยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเด็กที่เกิดทีหลังอยู่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยครั้งนี้ ชี้แนวทางการวิเคราะห์ไว้ว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มารดาถ่ายทอดเชื้อพันธุ์ หรือ gene ที่แตกต่างให้กับลูกที่เกิดทีหลัง หากแต่เป็นการบ่งชี้ว่า การทำงานของเชื้อพันธุ์ในตัวเด็กเปลี่ยนไป และแสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมและโภชนาการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลกระทบระบบการเผาผลาญของร่างกายที่กำลังพัฒนาในตัวทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาได้
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับล่าสุด
นักวิจัยในแคนาดาศึกษาเปรียบเทียบเด็กที่เกิดจากมารดาที่อ้วน กับเด็กที่เกิดหลังจากมารดารับการผ่าตัดลดน้ำหนัก และพบว่า เด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดและมารดามีน้ำหนักตัวน้อยลง เป็นเด็กที่ไม่อ้วนเหมือนพี่ๆที่เกิดก่อน และแถมยังมีปัจจัยความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเมื่อมีอายุสูงขึ้น น้อยลงด้วย
รายงานผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เชื้อพันธุ์หรือ gene ที่เกี่ยวโยงกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่สืบเนื่องกับความอ้วนของเด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดของมารดา ทำงานแตกต่างไปจาก gene ในเด็กที่เกิดก่อนการผ่าตัด ซึ่งนักวิจัยตีความว่า เด็กที่เกิดทีหลังอาจได้เปรียบทางด้านสุขภาพมากกว่าพี่ๆที่เกิดก่อน
ขณะเดียวกัน นักวิจัยย้ำว่า โภชนาการและการออกกำลังกาย จะยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเด็กที่เกิดทีหลังอยู่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยครั้งนี้ ชี้แนวทางการวิเคราะห์ไว้ว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มารดาถ่ายทอดเชื้อพันธุ์ หรือ gene ที่แตกต่างให้กับลูกที่เกิดทีหลัง หากแต่เป็นการบ่งชี้ว่า การทำงานของเชื้อพันธุ์ในตัวเด็กเปลี่ยนไป และแสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมและโภชนาการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลกระทบระบบการเผาผลาญของร่างกายที่กำลังพัฒนาในตัวทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาได้
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับล่าสุด