ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'สูบบุหรี่ไฟฟ้า' อาจเพิ่มความเสี่ยงติดโควิด-19


A healthcare worker sits on the curb as he uses a vaping device while taking a break outside.
A healthcare worker sits on the curb as he uses a vaping device while taking a break outside.

การศึกษาชิ้นใหม่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและโควิด-19 โดยระบุว่า วัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่สูดดมไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าอาจเสี่ยงต่อการติดโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสเพิ่มขึ้น 5-7 เท่า

Shivani Mathur Gaiha หัวหน้าการศึกษานี้ กล่าวว่า คนหนุ่มสาวอาจมีความเชื่อว่าการที่อายุยังน้อยนั้นจะช่วยปกป้องพวกเขาการติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรืออาจติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการของโควิด-19 แต่ข้อมูลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริงในหมู่ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า

ทั้งนี้ นักวิจัยได้สอบถามผู้เข้าร่วมการศึกษาว่าเคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อนหรือไม่? สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือสูบบุหรี่ธรรมดาในช่วง 30 วันที่ผ่านมาหรือไม่? มีอาการของโควิด-19หรือไม่? และ เคยได้รับการตรวจหรือเคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนหรือไม่?

ผลการวิจัยพบว่า ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าในช่วง 30 วันที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะมีอาการของโควิด-19 มากกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ทั้งสองแบบเลยเกือบ 5 เท่า

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่ได้พิสูจน์ว่าการสูบไอระเหยเป็นสาเหตุของโควิด-19 แต่คำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของนักวิจัยคือ การสูบไอระเหยนั้นต้องมีการสัมผัสปากและใบหน้าซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งอาจเป็นการแพร่กระจายเชื้อได้

นอกจากนี้นักวิจัยกล่าวว่า นิโคตินทั้งในบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่ที่ต้องจุดไฟอาจทำให้ปอดถูกทำลายซึ่งทำให้การติดเชื้อโควิด -19 นั้นเป็นอันตรายยิ่งขึ้นไปอีก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ตั้งความหวังว่า การค้นพบนี้จะช่วยกระตุ้นให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) มีความเข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมวิธีการขายผลิตภัณฑ์ไอระเหย หรือบุหรี่ไฟฟ้า ให้แก่คนหนุ่มสาว

ผลการศึกษาวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในสารสาร Journal of Adolescent Health โดยใช้ข้อมูลการสำรวจที่รวบรวมไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม และการวิเคราะห์โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford University School of Medicine

XS
SM
MD
LG