ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยเตือนว่าคนที่ได้รับรังสี Ultraviolet ในแสงแดดมากเกินไปอาจเกิดอาการ “เสพติดรังสี UV” ได้


sunlight
sunlight
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:44 0:00
Direct link

นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัย Cutaneous Biology ของ ร.พ Massachusetts General Hospital พยายามศึกษาว่า ทำไมคนบางคนจึงชอบอาบแดดเสียเหลือเกิน? และสงสัยว่าอาจมีสารอะไรในแดดที่ส่งผลกระทบต่อร่ายการหรือไม่?

ในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cell นักวิจัยทดสอบด้วยการนำหนูทดลองที่โกนขนจนเกลี้ยงไปอาบรังสี UV เป็นประจำในปริมาณเท่ากับที่มนุษย์ได้รับจากการอาบแดดประมาณ 20-30 นาที และพบว่าเลือดของหนูทดลองมีระดับสาร Beta-Endorphin เพิ่มขึ้นชัดเจน

สาร Beta-Endorphin เป็นสารกระตุ้นที่ร่างกายผลิตออกมาตามธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการเสพติด เช่นเดียวกับการใช้ยาเสพติดจำพวกโคเคนหรือเฮโรอีนที่กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารนี้ออกมา และเมื่อนักวิจัยหยุดการอาบ UV ให้หนูทดลอง หลังจากให้มาอย่างต่อเนื่องระยะหนึ่ง พบว่าหนูทดลองมีอาการตัวสั่นและฟันกระทบกันเหมือนอาการของคนอยากยาเสพติด

ดร. David Fisher ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังที่ศูนย์วิจัย Cutaneous Biology ชี้ว่าผลการทดลองที่พบแสดงให้เห็นว่า รังสี UV ทำให้เกิดอาการเสพติดได้ และเชื่อว่าอาจมีผลต่อสัตว์สายพันธุ์อื่นๆนอกจากหนูทดลองด้วย

ดร. Fisher สันนิษฐานว่าเรื่องนี้อาจเป็นผลจากวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์จำเป็นต้องได้รับแสงแดดเพื่อให้ร่างกายผลิตวิตามินดี เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นช่วงเวลาที่กลางวันมีระยะสั้นกว่ากลางคืน แสงแดดจึงถือเป็นสิ่งล้ำค่าต่อมนุษย์โบราณ

อย่างไรก็ตาม การได้รับแสงแดดมากเกินไปก็อาจเป็นโทษได้ เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังรวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการ “เสพติดรังสี UV” ในแสงแดดได้อีกด้วย

รายงานจากห้องข่าว VOA / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล
XS
SM
MD
LG