รัฐบาลภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี Barack Obama กำลังพยายามผลักดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐลงนามในสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการทั่วโลก แต่หลังจากพยายามมานานร่วมสองปีแล้ว รัฐบาลสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้
นาย George Akhmetli เคยชินกับการไปไหนมาไหนด้วยการนั่งรถเข็นในมหานครนิวยอร์ค แม้ว่าจะไม่ง่ายนัก
George Akhmetli เป็นนักรณรงค์ด้านสิทธิ์ของผู้พิการวัย 32 ปี เขากล่าวว่าหากเทียบกับบ้านเกิดของเขาในเมือง Tblisi ใน Georgia มหานครนิวยอร์คมีสิ่งอำนวยความสะดวกเเก่ผู้พิการมากกว่า
เขากล่าวว่าที่ประเทศบ้านเกิดของเขา หากคุณเดินตามท้องถนนเป็นเดือนๆ หรือปี คุณจะไม่มีทางได้เห็นคนพิการออกไปไหนมาไหนข้างนอกด้วยการใช้รถเข็นเลยเพราะไม่มีบริการขนส่งสาธารณะ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเเก่ผู้พิการตามท้องถนนและผู้คนทั่วไปก็ยังมีทัศนคติแคบๆ ต่อเรื่องนี้
นั่นเป็นเหตุผลให้เขากลายเป็นหนึ่งในนักรณรงค์จำนวนมากที่ร่วมมือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ นายจอห์น แครี่ ในการเรียกร้องให้วุฒิสภาสหรัฐรับรองสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการ ที่มีเป้าหมายในการพิทักษิ์สิทธิ์ของผู้พิการให้ได้รับการศึกษา การบริการทางสุขภาพและการว่าจ้างงานอย่างเท่าเทียม
นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าการรับรองสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการจะช่วยส่งเสริมคุณค่าทางสังคมของชาวอเมริกัน จะช่วยขยายโอกาสแก่ประชาชนอเมริกันและธุรกิจต่างๆ และจะเสริมสร้างความเป็นผู้นำแห่งอเมริกัน
แต่สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาตินี้กลับเจอกับการคัดค้านจากฝ่ายนิติบัญญัติในสหรัฐ นาย Bob Corker วุฒิสมาชิกจากพรรครีพลับบลีกันเเย้งว่าสนธิสัญญานี้อาจจะบั่นทอนกฏหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐเพราะให้อำนาจให้เจ้าหน้าที่แห่งสหประชาชาติให้สามารถบังคับสหรัฐให้เเก้ไขกฏหมายตนเอง
มาถึงตอนนี้ นานาชาติมากกว่า 150 ประเทศได้ลงนามรับรองสนธิสัญญานี้แล้ว แต่ในประเทศเหล่านี้ก็ยังปัญหาเกี่ยวกับสิทธิ์ผู้พิการอยู่
เมื่อเร็วๆ นี้หน่วยงาน Human Rights Watch ออกรายงานเกี่ยวกับปัญหาของผู้พิการในรัสเซีย โดยชี้ว่ามีผู้พิการหลายล้านคนในรัสเซียยังไม่มีรถเข็นใช้และถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ
ด้านนาง Judith Heumann ที่ปรึกษาพิเศษแห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไปหากสหรัฐร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้
ที่ปรึกษาพิเศษแห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าสหรัฐต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ความล้มเหลวของสหรัฐในการรับรองสนธิสัญญาฉบับนี้จะทำให้ประเทศอื่นๆ และบรรดากลุ่มประชาสังคมคลางแคลงใจในความจริงใจของสหรัฐต่อปัญหานี้
บรรดาผู้สนับสนุนเรื่องนี้ต่างชี้ว่าสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการมีพื้นฐานเดียวกับร่างกฏหมายสิทธิ์คนพิการอเมริกัน (American with Disabilities Act) ที่อนุมัติออกมาบังคับเป็นกฏหมายเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
เมื่อราวสองปีก่อน สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาติได้รับคะเเนนเสียงไม่เพียงพอในนำออกมาบังคับใช้ โดยน้อยไปห้าเสียง และมาจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวี่เเววว่าฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐจะออกเสียงสนับสนุนสนธิสัญญานี้หรือไม่และเมื่อไหร่
แม้กระนั้นก็ตาม นาย George Akhmetli เป็นนักรณรงค์ด้านสิทธิ์ของผู้พิการเชื้อสายจอร์เจีย ยังไม่ยอมย่อท้อ เขากล่าวว่าจะยังเดินหน้ารณรงค์ต่อไปเพื่อให้วุฒิสภาสหรัฐหันมารับรองสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาติฉบับนี้
นาย George Akhmetli เคยชินกับการไปไหนมาไหนด้วยการนั่งรถเข็นในมหานครนิวยอร์ค แม้ว่าจะไม่ง่ายนัก
George Akhmetli เป็นนักรณรงค์ด้านสิทธิ์ของผู้พิการวัย 32 ปี เขากล่าวว่าหากเทียบกับบ้านเกิดของเขาในเมือง Tblisi ใน Georgia มหานครนิวยอร์คมีสิ่งอำนวยความสะดวกเเก่ผู้พิการมากกว่า
เขากล่าวว่าที่ประเทศบ้านเกิดของเขา หากคุณเดินตามท้องถนนเป็นเดือนๆ หรือปี คุณจะไม่มีทางได้เห็นคนพิการออกไปไหนมาไหนข้างนอกด้วยการใช้รถเข็นเลยเพราะไม่มีบริการขนส่งสาธารณะ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเเก่ผู้พิการตามท้องถนนและผู้คนทั่วไปก็ยังมีทัศนคติแคบๆ ต่อเรื่องนี้
นั่นเป็นเหตุผลให้เขากลายเป็นหนึ่งในนักรณรงค์จำนวนมากที่ร่วมมือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ นายจอห์น แครี่ ในการเรียกร้องให้วุฒิสภาสหรัฐรับรองสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการ ที่มีเป้าหมายในการพิทักษิ์สิทธิ์ของผู้พิการให้ได้รับการศึกษา การบริการทางสุขภาพและการว่าจ้างงานอย่างเท่าเทียม
นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าการรับรองสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการจะช่วยส่งเสริมคุณค่าทางสังคมของชาวอเมริกัน จะช่วยขยายโอกาสแก่ประชาชนอเมริกันและธุรกิจต่างๆ และจะเสริมสร้างความเป็นผู้นำแห่งอเมริกัน
แต่สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาตินี้กลับเจอกับการคัดค้านจากฝ่ายนิติบัญญัติในสหรัฐ นาย Bob Corker วุฒิสมาชิกจากพรรครีพลับบลีกันเเย้งว่าสนธิสัญญานี้อาจจะบั่นทอนกฏหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐเพราะให้อำนาจให้เจ้าหน้าที่แห่งสหประชาชาติให้สามารถบังคับสหรัฐให้เเก้ไขกฏหมายตนเอง
มาถึงตอนนี้ นานาชาติมากกว่า 150 ประเทศได้ลงนามรับรองสนธิสัญญานี้แล้ว แต่ในประเทศเหล่านี้ก็ยังปัญหาเกี่ยวกับสิทธิ์ผู้พิการอยู่
เมื่อเร็วๆ นี้หน่วยงาน Human Rights Watch ออกรายงานเกี่ยวกับปัญหาของผู้พิการในรัสเซีย โดยชี้ว่ามีผู้พิการหลายล้านคนในรัสเซียยังไม่มีรถเข็นใช้และถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ
ด้านนาง Judith Heumann ที่ปรึกษาพิเศษแห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไปหากสหรัฐร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้
ที่ปรึกษาพิเศษแห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่าสหรัฐต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ความล้มเหลวของสหรัฐในการรับรองสนธิสัญญาฉบับนี้จะทำให้ประเทศอื่นๆ และบรรดากลุ่มประชาสังคมคลางแคลงใจในความจริงใจของสหรัฐต่อปัญหานี้
บรรดาผู้สนับสนุนเรื่องนี้ต่างชี้ว่าสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิ์ของผู้พิการมีพื้นฐานเดียวกับร่างกฏหมายสิทธิ์คนพิการอเมริกัน (American with Disabilities Act) ที่อนุมัติออกมาบังคับเป็นกฏหมายเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
เมื่อราวสองปีก่อน สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาติได้รับคะเเนนเสียงไม่เพียงพอในนำออกมาบังคับใช้ โดยน้อยไปห้าเสียง และมาจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวี่เเววว่าฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐจะออกเสียงสนับสนุนสนธิสัญญานี้หรือไม่และเมื่อไหร่
แม้กระนั้นก็ตาม นาย George Akhmetli เป็นนักรณรงค์ด้านสิทธิ์ของผู้พิการเชื้อสายจอร์เจีย ยังไม่ยอมย่อท้อ เขากล่าวว่าจะยังเดินหน้ารณรงค์ต่อไปเพื่อให้วุฒิสภาสหรัฐหันมารับรองสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิ์ผู้พิการแห่งสหประชาชาติฉบับนี้