ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทย์ฯสหรัฐฯ หาทางสกัด “พิษงู” ช่วยรักษามะเร็ง


FILE - A researcher demonstrates how to extract venom from a snake to vacationing school children during a presentation at the Butantan Institute in Sao Paulo, Brazil, Jan. 23, 2015.
FILE - A researcher demonstrates how to extract venom from a snake to vacationing school children during a presentation at the Butantan Institute in Sao Paulo, Brazil, Jan. 23, 2015.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:30 0:00

ทีมวิจัยนำโดยนายสตีเฟน แมคเคสซี อาจารย์คณะชีววิทยาจาก University of Northern Colorado เผยผลการศึกษาเกี่ยวกับพิษงูหลากหลายชนิด ที่สามารถจู่โจมเข้าทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์ได้แบบเฉพาะตัว

ในการศึกษานี้ นักศึกษาของนายแมคเคสซี จะนำพิษงูจากทั่วทุกมุมโลก เช่นงูหางกระดิ่ง งูแมวเซา และนำพิษงูต่างๆ มาศึกษาลงลึกถึงสารประกอบและโปรตีนภายในพิษงูเหล่านี้ และพบว่า ในพิษงูมีสารประกอบที่มีวิวัฒนาการในตัวเองเพื่อปลิดชีพสัตว์อื่นๆ ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวทำลายสิ่งมีชีวิตทุกอย่างได้ แต่ปรากฏว่า สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดอย่างพิษงูนี้ กลับกลายเป็นหนทางที่เหมาะสมในการรักษาโรคได้ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าทีมวิจัยจาก UNC บอกว่า เมื่อไรก็ตามที่เขาเสนอแนวทางการรักษาด้วยพิษงูต่อสาธารณชน ผู้คนจะนึกถึงอันตรายของพิษงูขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก แต่กลับไม่ได้คำนึงถึงคุณประโยชน์ของสัตว์เลื้อยคลานมีพิษต่อมนุษย์ เหมือนกับเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่จะหวาดกลัวสัตว์มีพิษไว้ก่อน

การศึกษาคุณประโยชน์ของพิษงู เริ่มต้นมายาวนานตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ที่มีการนำพิษงูมารักษาโรคความดันโลหิตสูงกับผู้คนหลายล้านชีวิตทั่วโลก แต่นายแมคเคสซี บอกว่า ทีมวิจัยของเขาน่าจะเป็นที่แรกๆ ที่ศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการใช้สารประกอบในพิษงูเพื่อรักษาโรคมะเร็งอย่างจริงจัง

ด้านนายแทนเนอร์ ฮาร์วีย์ หนึ่งในผู้ศึกษาเรื่องพิษงูแมวเซาโดยเฉพาะ บอกว่า พิษงูแต่ละชนิด สามารถรักษาโรคมะเร็งที่แตกต่างกันออกไป และขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ในการรักษาด้วย ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้พิษงูแมวเซารักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากใช้ในปริมาณน้อยๆ แต่พิษงูแมวเซานี้ไม่สามารถใช้ในการรักษามะเร็งผิวหนังได้ในขณะที่พิษงูชนิดอื่นๆสามารถรักษาได้

ทั้งนี้ การใช้พิษงูบำบัดรักษาโรคมะเร็งไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งยากกว่านั้นคือการใช้พิษงูรักษาคนไข้อย่างปลอดภัยต่างหาก ซึ่งทีมวิจัยของ UNC ตั้งเป้าในการจัดสรรสัดส่วนของพิษงูเพื่อให้สามารถจัดการกับโรคมะเร็งในแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด โดยที่ไม่เข้าไปทำลายเซลล์ปกติของคนไข้

สำหรับการศึกษาวิจัยการบำบัดมะเร็งด้วยพิษงูยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น และทีมวิจัยตั้งเป้าที่จะพัฒนาไปถึงการทดสอบกับผู้ป่วยมะเร็งในอนาคต แต่ในระหว่างนี้ สิ่งที่ทีมวิจัยอยากจะผลักดันมากที่สุด คือ การเรียกร้องให้ผู้คนยุติการฆ่างูที่มีพิษเพียงเพราะความหวาดกลัว เพราะไม่รู้ว่าวันหนึ่งสิ่งที่ดูมีพิษร้ายกับเรา อาจกลายเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาชีวิตของเราก็เป็นได้

XS
SM
MD
LG