ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลสำรวจชี้คนอเมริกันส่วนใหญ่ต่อต้านการประกาศภาวะฉุกเฉินของ 'ทรัมป์'


Carolyn Hursh, right, and Joey Daniel, carry a sign during a protest with others in downtown Fort Worth, Texas, Feb. 18, 2019. People gathered on the Presidents Day holiday to protest President Donald Trump's recent national emergency declaration.
Carolyn Hursh, right, and Joey Daniel, carry a sign during a protest with others in downtown Fort Worth, Texas, Feb. 18, 2019. People gathered on the Presidents Day holiday to protest President Donald Trump's recent national emergency declaration.

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนอเมริกันครั้งล่าสุด ชี้ให้เห็นว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่ต่อต้านการประกาศภาวะฉุกเฉินของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อหาเงินไปสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐฯ - เม็กซิโก โดยไม่ต้องผ่านการรับรองของรัฐสภาสหรัฐฯ

ผลการสำรวจของ Politico/Morning Consult ระบุว่า ชาวอเมริกัน 51% ต่อต้านการประกาศภาวะฉุกเฉินของประธานาธิบดีทรัมป์ ขณะที่มีผู้สนับสนุนเพียง 39%

ส่วนผลสำรวจของ HuffPost/YouGov ระบุว่า 55% ต่อต้านการประกาศภาวะฉุกเฉินของประธานาธิบดีทรัมป์ ขณะที่มีผู้สนับสนุนเพียง 37%

เช่นเดียวกับผลสำรวจของ National Public Radio/PBS NewsHour/Marist 61% ต่อต้านการประกาศภาวะฉุกเฉินของประธานาธิบดีทรัมป์ ขณะที่มีผู้สนับสนุนเพียง 36%

Two sets of challenges in the motion against Trump's National Emergency
Two sets of challenges in the motion against Trump's National Emergency

เมื่อวานนี้ 16 รัฐในสหรัฐฯ ยื่นฟ้องรัฐบาลประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากกรณีการประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อดึงงบประมาณด้านการทหารไปใช้สร้างกำแพง

คณะอัยการของรัฐ นำโดยรัฐแคลิฟอร์เนีย ยื่นฟ้องต่อศาลในเขตแคลิฟอร์เนียเหนือในช่วงดึกคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยกล่าวหาว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินของ ปธน.ทรัมป์ ครั้งนี้ ผิดกฎหมายและไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจนำไปสู่การดึงงบประมาณที่จำเป็นสำหรับโครงการด้านสาธารณสุข หรือโครงการด้านการทหารและการรักษาความปลอดภัยของประชาชนในรัฐต่างๆ ก่ออันตรายต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐเหล่านั้นได้

การฟ้องร้องครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ศาลมีคำสั่งห้ามรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ดึงเงินงบประมาณจากด้านอื่นเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐฯ - เม็กซิโก โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯ

XS
SM
MD
LG