ในช่วงหลายเดือนมานี้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐว่า ระมัดระวังจนเกินไป ทำให้ประเทศที่เป็นศัตรูหรือคู่แข่ง อย่างเช่น ซีเรีย จีน และรัสเซียย่ามใจ แต่ทำเนียบ White House ตอบโต้ว่า การฉายภาพอำนาจทำได้หลายวิธี นอกไปจากการแสดงกำลังทหาร
ในเดือนสิงหาคมศกก่อน รัฐบาลซีเรียใช้อาวุธสารเคมีโจมตีประชาชนของตนเองที่ชานกรุง Damascus ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
การกระทำเช่นนั้นของประธานาธิบดี Bashar al Assad ของซีเรีย ถือว่าเป็นการข้ามเส้นแดงที่ประธานาธิบดี Barack Obama ของสหรัฐขีดไว้ แต่ไม่ปรากฎว่าประธานาธิบดีของซีเรียต้องเผชิญกับผลกระทบเชิงลบแต่อย่างใดจากสหรัฐ และนักวิเคราะห์ Xenia Dormandy ของสถาบัน Chatham House ซึ่งเป็น Think Tank แห่งหนึ่งในลอนดอน บอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจุดหักเหสำคัญเพราะตั้งแต่นั้นมา ไม่มีใครให้ความเชื่อถือเส้นแดงของสหรัฐอย่างที่เคยเป็นมา
นักวิเคราะห์ผู้นี้ กล่าวต่อไปว่า แม้สหรัฐยังคงเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลทางการทหารและเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก แต่ภาพที่มองเห็นกันว่าสหรัฐไม่เต็มใจที่จะใช้กำลังนั้น เป็นอันตราย สมมุติว่าประเทศจีนอยากจะทำตามอย่างรัสเซียที่ผนวก Crimea เข้าไปเป็นของตนบ้าง ก็อาจทำได้โดยไม่ต้องหวั่นวิตก
การกระทำดังกล่าวของรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคม ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐว่า ระมัดระวังมากเกินไป ทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆย่ามใจ แต่ศาสตราจารย์ Arne Westad ของ London School of Economics บอกว่า ชาติตะวันตกมีทางเลือกน้อยมาก และเตือนว่า อย่าลืมว่ารัสเซียก็มีอาวุธนิวเคลียร์ด้วย
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าแนวคิดเดียวกันนี้ ใช้กับปัญหาใน Ukraine ได้ด้วย
แต่ในคำปราศัยที่โรงเรียนนายร้อยสหรัฐที่ West Point เมื่อเร็วๆนี้ ประธานาธิบดี Obama ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังเพราะต้องการหลีกเลี่ยงภาพลักษณ์ว่าอเมริกาอ่อนแอ
ประธานาธิบดี Obama กล่าวว่า จะไม่เป็นการทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ถ้าจะส่งกำลังทหารไปปฏิบัติการ เมื่อนึกอยากจะแก้ปัญหาในที่ใดสักแห่งหนึ่งในโลก
นักวิเคราะห์ Xenia Dormandy ของสถาบัน Chatham House ให้ความเห็นว่า ในขณะที่พันธมิตรหลายประเทศของสหรัฐในเอเชีย อาศัยข้อตกลงการรักษาความมั่นคงกับสหรัฐเป็นแรงถ่วงดุลอิทธิพลของจีนที่กำลังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆในภูมิภาค แต่สหรัฐ โดยเฉพาะประชาชน เหนื่อยหน่ายกับสงคราม และอยากจะเห็นประเทศพันธมิตรเพิ่มความรับผิดชอบตนเองมากขึ้น
นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่า การจะทำเช่นนั้นได้ หมายความว่าจะต้องสร้างแนวร่วม เพราะฉะนั้นความคิดดั้งเดิมที่ว่าถ้ามีเรื่อง อเมริกาจะออกหน้า พร้อมทั้งกำลังและทรัพยากร โดยที่บรรดาพันธมิตรเหล่านั้นให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บอกว่า ผู้วางนโยบายในวอชิงตันพอใจกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยสหรัฐยังจะนำหน้าอยู่ต่อไป แต่อยากได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น
ในเดือนสิงหาคมศกก่อน รัฐบาลซีเรียใช้อาวุธสารเคมีโจมตีประชาชนของตนเองที่ชานกรุง Damascus ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
การกระทำเช่นนั้นของประธานาธิบดี Bashar al Assad ของซีเรีย ถือว่าเป็นการข้ามเส้นแดงที่ประธานาธิบดี Barack Obama ของสหรัฐขีดไว้ แต่ไม่ปรากฎว่าประธานาธิบดีของซีเรียต้องเผชิญกับผลกระทบเชิงลบแต่อย่างใดจากสหรัฐ และนักวิเคราะห์ Xenia Dormandy ของสถาบัน Chatham House ซึ่งเป็น Think Tank แห่งหนึ่งในลอนดอน บอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจุดหักเหสำคัญเพราะตั้งแต่นั้นมา ไม่มีใครให้ความเชื่อถือเส้นแดงของสหรัฐอย่างที่เคยเป็นมา
นักวิเคราะห์ผู้นี้ กล่าวต่อไปว่า แม้สหรัฐยังคงเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลทางการทหารและเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก แต่ภาพที่มองเห็นกันว่าสหรัฐไม่เต็มใจที่จะใช้กำลังนั้น เป็นอันตราย สมมุติว่าประเทศจีนอยากจะทำตามอย่างรัสเซียที่ผนวก Crimea เข้าไปเป็นของตนบ้าง ก็อาจทำได้โดยไม่ต้องหวั่นวิตก
การกระทำดังกล่าวของรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคม ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐว่า ระมัดระวังมากเกินไป ทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆย่ามใจ แต่ศาสตราจารย์ Arne Westad ของ London School of Economics บอกว่า ชาติตะวันตกมีทางเลือกน้อยมาก และเตือนว่า อย่าลืมว่ารัสเซียก็มีอาวุธนิวเคลียร์ด้วย
นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าแนวคิดเดียวกันนี้ ใช้กับปัญหาใน Ukraine ได้ด้วย
แต่ในคำปราศัยที่โรงเรียนนายร้อยสหรัฐที่ West Point เมื่อเร็วๆนี้ ประธานาธิบดี Obama ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังเพราะต้องการหลีกเลี่ยงภาพลักษณ์ว่าอเมริกาอ่อนแอ
ประธานาธิบดี Obama กล่าวว่า จะไม่เป็นการทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ถ้าจะส่งกำลังทหารไปปฏิบัติการ เมื่อนึกอยากจะแก้ปัญหาในที่ใดสักแห่งหนึ่งในโลก
นักวิเคราะห์ Xenia Dormandy ของสถาบัน Chatham House ให้ความเห็นว่า ในขณะที่พันธมิตรหลายประเทศของสหรัฐในเอเชีย อาศัยข้อตกลงการรักษาความมั่นคงกับสหรัฐเป็นแรงถ่วงดุลอิทธิพลของจีนที่กำลังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆในภูมิภาค แต่สหรัฐ โดยเฉพาะประชาชน เหนื่อยหน่ายกับสงคราม และอยากจะเห็นประเทศพันธมิตรเพิ่มความรับผิดชอบตนเองมากขึ้น
นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวว่า การจะทำเช่นนั้นได้ หมายความว่าจะต้องสร้างแนวร่วม เพราะฉะนั้นความคิดดั้งเดิมที่ว่าถ้ามีเรื่อง อเมริกาจะออกหน้า พร้อมทั้งกำลังและทรัพยากร โดยที่บรรดาพันธมิตรเหล่านั้นให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บอกว่า ผู้วางนโยบายในวอชิงตันพอใจกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยสหรัฐยังจะนำหน้าอยู่ต่อไป แต่อยากได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น