ลิ้งค์เชื่อมต่อ

แปลกไหม? สหรัฐฯ ยังต้านโควิดไม่อยู่ ขณะที่ประเทศอื่นลดการระบาดหนักได้


People gather outside the Missouri Capitol to protest stay-at-home orders put into place due to the COVID-19 outbreak, April 21, 2020, in Jefferson City, Missouri.
People gather outside the Missouri Capitol to protest stay-at-home orders put into place due to the COVID-19 outbreak, April 21, 2020, in Jefferson City, Missouri.
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:49 0:00


เมื่อราวครึ่งปีก่อนหลายประเทศทั่วโลกต่างตั้งตัวไม่ติดกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และได้รับมือด้วยมาตรการต่างๆมากมาย ทั้งล็อคดาวน์บริเวณที่เสี่ยง รณรงค์เรื่องการรักษาระยะห่าง และใช้เทคโนโลยีระบุพิกัดผู้ติดเชื้อเพื่อแจ้งเตือนถึงการระบาด

หลายประเทศเดินทางผ่านวิกฤตครั้งใหญ่และสามารถลดจำนวนผู้ป่วยใหม่ลงได้อย่างเห็นผลชัดเจน ทั้งในเอเชียตะวันออก และในยุโรป

สำหรับเอเชีย สื่อสหรัฐฯเช่น Wall Street Journal และ ABC News ได้กล่าวถึงความสำเร็จของเกาหลีใต้ ที่มีระบบติดตามผู้แพร่โควิด-19 และมาตรการอื่นๆที่ลดการแพร่ของโรคได้ดี และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว New York Times ก็ได้กล่าวว่าปัจจัยต่างๆของไทยช่วยลดการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างได้ผล

A Thai classical dancer wearing face shield to help curb the spread of the coronavirus performs at the Erawan Shrine in Bangkok, Thailand.
A Thai classical dancer wearing face shield to help curb the spread of the coronavirus performs at the Erawan Shrine in Bangkok, Thailand.

สิ่งที่ทำให้คนจำนวนมากประหลาดใจ คือสหรัฐฯ ยังคงไม่สามารถลดการระบาดได้ ทั้งๆ ที่อเมริกาเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีการแพทย์ และองค์ความรู้ด้านโยบายระดับเเนวหน้าของโลก

นอกจากจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกแล้ว อเมริกายังมีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดติดอันดับหนึ่งของโลกด้วย ตามรายงาน Global Health Security Index เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว

Global Health Security Index 2019
Global Health Security Index 2019

หนังสือพิมพ์ Washington Post สัมภาษณ์บุคคลากรด้านสาธารณสุข และฝ่ายการเมืองในอเมริกา รวมทั้งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และสรุปว่าปัญหาที่สกัดกั้นมิให้อเมริกาประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย โครงสร้างการตัดสินในด้านนโยบายที่กระจายสู่ระดับมลรัฐ ความไม่ต่อเนื่องของแนวทางจากบุคคลระดับผู้นำสู่ระดับท้องถิ่น งบประมาณด้านสาธารณสุขที่ต่ำลง ช่องว่างทางเศรษฐกิจในสังคม และการแบ่งขั้วทางการเมืองที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตัวในการป้องกันการระบาด

หลังจากการระบาดขั้นวิกฤตที่นิวยอร์กเมื่อต้นปี ขณะนี้การเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อใหม่รัฐทางใต้ เช่น ฟลอริดาและ เท็กซัส สะท้อนถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงต่อเนื่อง

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเร่งเปิดภาคเศรษฐกิจและสังคม คือเป็นการประเมินสถานการณ์ที่ผิด

ในรายงานของ Washington Post ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกา National Institutes of Health หรือ NIH กล่าวว่าสหรัฐฯขาดการสานต่อความมุ่งมั่นที่เคยพยายามลดการแพร่ของโรคเมื่อต้นปี จนกระทั่งตอนนี้ ไวรัสโควิด-19 ฉวยโอกาสกลับมาเพิ่มการระบาดอีกครั้ง

People gather on the beach for the Memorial Day weekend in Port Aransas, Texas, May 23, 2020. Beachgoers are being urged to practice social distancing to guard against COVID-19.
People gather on the beach for the Memorial Day weekend in Port Aransas, Texas, May 23, 2020. Beachgoers are being urged to practice social distancing to guard against COVID-19.

เขากล่าวว่า หากว่าสหรัฐฯ มีแนวทางที่เเข็งขันอย่างแท้จริง จากผู้นำประเทศ ผู้นำระดับรัฐ และผู้นำระดับท้องถิ่น ประเทศอาจจะยังคงสามารถรักษาความุ่งมั่นที่เริ่มต้นไว้ ในการลดการระบาดให้เหลือศูนย์

ผู้อำนวยการสถาบัน NIH ยอมรับว่าการระบาดในสหรัฐฯ อยู่ในช่วงขาขึ้น และยังขึ้นได้ต่อไปจากนี้ด้วย

เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวรายหนึ่งบอกกับ Washington Post ว่า ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สนับสนุนการเปิดเศรษฐกิจ ขณะที่ยังมีการระบาดอยู่ ก็เพราะเขาเชื่อว่า ผลแห่งการไม่คลายล็อคดาวน์ สร้างปัญหาต่างๆ ที่มากกว่าเศรษฐกิจ เช่น การที่คนยังไม่สามารถไปหาหมอสำหรับโรคอื่นๆ ได้เหมือนปกติ ปัญหาการติดเหล้าและสารเสพติด รวมถึงภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงของการฆ่าตัวตาย

แม้ว่าคนอเมริกันจำนวนมากจะตื่นตัวกับวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ความกลัวดูเหมือนว่าจะลดลงในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน

และเมื่อมีการคลายมาตรการปิดเมืองซึ่งได้ผลดี ผู้คนอาจรู้สึกว่าพ้นวิกฤตไปแล้ว

ในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ผู้ว่าการรัฐโอไฮโอ ไมค์ เดอไวน์ สังกัดพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า เขายอมรับว่า คนอเมริกัน ‘การ์ดตก’ เพราะคิดว่าการคลายล็อคดาวน์และกลับมาเปิดภาคเศรษฐกิจและสังคม ถูกตีความว่า สถานการณ์ปลอดภัยแล้ว

President Donald Trump wears a mask as he walks down the hallway during his visit to Walter Reed National Military Medical Center in Bethesda, Md., Saturday, July 11, 2020. (AP Photo/Patrick Semansky)
President Donald Trump wears a mask as he walks down the hallway during his visit to Walter Reed National Military Medical Center in Bethesda, Md., Saturday, July 11, 2020. (AP Photo/Patrick Semansky)

เมื่อคนจำนวนมากขึ้นไม่เห็นความสำคัญของการสวมหน้ากาก งานหนักจึงอยู่ที่ฝ่ายที่ส่งสัญญาณด้านสาธารณสุขต่อประชาชน แต่สารที่สื่อไปถึงชาวอเมริกันกลับไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือแม้แต่ในบรรดานักวิทยาศาสตร์เองก็เคยมีความเห็นถึง ความสามารถควบคุมการระบาดด้วยการสวมหน้ากาก ที่เเตกต่างกัน

ผลการสำรวจชิ้นหนึ่งแสดงว่า สมาชิกพรรคเดโมแครตและชนกลุ่มน้อยมีแนวโน้มจะใช้หน้ากากเมื่อออกจากบ้านมากกว่าสมาชิกของพรรครีพับลิกันและกลุ่มคนผิวขาว ในอัตราถึงเกือบเท่าตัว

หลายคนอาจคิดว่าสหรัฐฯ เพิ่มการเฝ้าระวังโรคระบาดด้วยการสนับสนุนด้านเงินทุนต่อโครงการสาธารณสุขอย่างต้องเนื่อง

แต่ในความเป็นจริง หน่วยงานสาธารณสุขระดับท้องถิ่นถูกลดงบประมาณมาเป็นเวลาหลายปี

Washington Post รายงานว่า องค์กรสาธารณสุขระดับท้องถิ่น จ้างคนน้อยลงหนึ่งในสี่หากเทียบกับเมื่อ 12 ปีก่อน นั่นหมายถึงการตัดตำแหน่งงานเกือบ 60,000 อัตรา และแหล่งเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง ผ่านงบประมาณเตรียมการฉุกเฉินของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคหรือ Centers for Disease Control and Prevention ก็ถูกลดทอนลงร้อยละ 30 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 หรือ 17 ปีก่อน

ในวันอาทิตย์ สหรัฐฯ รายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 67,574 คน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3.8 ล้านคน เสียชีวิตแล้วประมาณ 140,000 คนท่ามกลางเสียงวิจารณ์รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์เรื่องการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 โฆษกทำเนียบขาวบอกกับ Washington Post ว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ แสดงบทบาทผู้นำครั้งประวัติศาสตร์ในการรับมือกับโคโรนาไวรัส ซึ่งนำไปสู่การซื้อเครื่องช่วยหายใจ 100,000 เครื่อง จัดหาอุปกรณ์ PPE เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่การแพทย์ และเร่งมาตรการตรวจผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วและมากกว่าประเทศใดในโลก

In this April 6, 2020 photo, a sign at The Anthem music venue reads "We'll Get Thru This" at the wharf which is almost completely empty because of the coronavirus outbreak in Washington.
In this April 6, 2020 photo, a sign at The Anthem music venue reads "We'll Get Thru This" at the wharf which is almost completely empty because of the coronavirus outbreak in Washington.

สื่อฉบับนี้ยังได้พูดคุยกับ ไมเคิล ออสเตอร์โฮล์ม ผู้อำนวยการ Center for Infectious Disease Research and Policy แห่งมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า ที่กังวลถึงความรู้สึกท้อถอยและหมดหวัง เขากล่าวว่า “หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นในสังคม คนจะสูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บนพื้นฐานของเหตุผล ขาดความมุ่งมั่นที่จะสู้ต่อ และนั่นหมายถึงการสูญเสียโอกาสที่จะเอาชนะไวรัสได้ในที่สุด”

XS
SM
MD
LG