ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ธุรกิจอเมริกันแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการเลือกปฏิบัติต่อคนต่างเชื้อชาติ


People clean up outside a local business in the area in the aftermath of a protest after a white police officer was caught on a bystander's video pressing his knee into the neck of African-American man George Floyd, who later died at a hospital, in Minnea
People clean up outside a local business in the area in the aftermath of a protest after a white police officer was caught on a bystander's video pressing his knee into the neck of African-American man George Floyd, who later died at a hospital, in Minnea
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:44 0:00

มีธุรกิจอเมริกันจำนวนไม่น้อย นับตั้งแต่บริษัทด้านเทคโนโลยี ธนาคาร ธุรกิจบันเทิง และธุรกิจขายปลีกที่แสดงความสนับสนุนต่อผู้ประท้วงเรื่องการใช้กำลังรุนแรงของตำรวจผิวขาวกับจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำจนเสียชีวิต โดยบริษัทเหล่านี้มีตั้งแต่ Google, Microsoft, Facebook, Snapchat, Intel, IBM และธนาคาร Citibank เป็นต้น

อย่างเช่น Netflix ทวีตว่าการนิ่งเงียบก็เหมือนกับการรู้เห็นเป็นใจ และว่าเรามีหน้าที่ต่อสมาชิกที่เป็นคนผิวดำ ต่อพนักงาน ต่อผู้สร้างสรรค์เนื้อหา และต่อนักแสดงที่ต้องแสดงออกซึ่งจุดยืนของเราในเรื่องนี้ และ Google ก็เพิ่มข้อความบนหน้าค้นหาว่าเราร่วมยืนหยัดเพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมด้านเชื้อชาติและต่อทุกคนที่แสวงหาเรื่องนี้ด้วย

ส่วน Target ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในอเมริกาซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครมินนีแอโปลิสและร้านค้าของ Target ทั่วประเทศตกเป็นเป้าการถูกทำลายทรัพย์สินและลักขโมยข้าวของนั้นก็มีคำแถลงจากซีอีโอว่าการเสียชีวิตของชายผิวดำโดยน้ำมือของตำรวจผิวขาวนั้นทำให้ความเจ็บปวดที่ถูกสะสมมานานหลายปีแล้วถูกปลดปล่อยออกมา ทางด้านมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Facebook ก็กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่าเรายืนหยัดอยู่กับชุมชนคนผิวดำรวมทั้งกับคนอื่นๆ ที่พยายามแสวงหาความยุติธรรมเพื่อเป็นเกียรติและให้คุณค่าต่อจอร์จ ฟลอยด์รวมทั้งคนผิวสีอื่นๆ ที่ต้องเสียชีวิตลงแต่ชื่อของคนเหล่านี้จะไม่ถูกลืม Facebook ยังประกาศว่าจะสนับสนุนเงิน 10 ล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ทำงานเพื่อให้เกิดความยุติธรรมด้านเชื้อชาติด้วย

อาจารย์เคลลี แมคเอลฮานี ผู้สอนที่คณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กลีย์กล่าวว่าเธอรู้สึกตกใจที่เห็นธุรกิจอเมริกันและผู้บริหารระดับสูงต่างๆออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ และว่าเหตุผลสำคัญที่ผลักดันท่าทีของฝ่ายธุรกิจดังกล่าวคือความโหดร้ายทารุณซึ่งเห็นได้จากภาพวิดีโอ และตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้จะมีความเสี่ยงเรื่องการแสดงจุดยืนจนอาจทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจ แต่ก็เห็นได้ว่าประโยชน์จากเรื่องนี้มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงที่มีอยู่ เพราะถึงแม้บริษัทต่างๆ อาจจะถูกกล่าวหาว่าใช้โอกาสนี้เพื่อส่งเสริมแบรนด์ของตนก็ตาม แต่ความเสี่ยงที่สำคัญกว่าก็คือพนักงานซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวโดยเฉพาะที่เป็นคนผิวสีของธุรกิจเหล่านี้ล้วนแต่มีความคาดหวังว่าผู้บริหารของตนจะแสดงท่าทีอย่างไร

และเมื่อวันศุกร์ บริษัท Nike ได้อาศัยสโลแกนที่คุ้นหูของตนว่า “Just Do It” มาช่วยสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการแบ่งแยกปฏิบัติด้านเชื้อชาติ โดย Nike เผยแพร่วิดีโอที่มีข้อความว่า “Don’t Do It” หรือจงอย่าทำ คืออย่าแสร้งทำว่าไม่มีปัญหาเรื่องนี้และอย่าหันหลังให้กับปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งแยกปฏิบัติต่อคนต่างผิว วิดีโอของ Nike ดังกล่าวนี้มีผู้ชมทางทวิตเตอร์กว่า 6 ล้านคนและ Adidas ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งของ Nike ก็ได้ช่วยแชร์วิดีโอดังกล่าวเช่นกัน

XS
SM
MD
LG