ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นิวยอร์กเกอร์เปลี่ยนพื้นที่เมืองเป็นแปลงผัก แบ่งปันผลผลิต-สร้างความแข็งแกร่งให้ชุมชนในยุคโควิด


Rivers Run Community Garden
Rivers Run Community Garden

ผู้คนในเขตบร็องซ์ของนครนิวยอร์กหันมาให้ความสนใจในกับการปลูกพืชผักสวนครัวกลางเมืองมากขึ้น และผลิตผลที่ได้จากแปลงผักเล็กๆ หลายแห่งยังเปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนได้ทานอาหารที่มีประโยชน์และสร้างรายได้จากการแปรรูปอีกด้วย

NYC Garden Resilience
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:40 0:00

พื้นที่โล่งๆ ในเขตบร็องซ์ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะแมนฮัตตันได้ถูกแปลงโฉมให้เป็นแปลงผักเล็กๆ หลายแปลงที่แลดูคล้ายกับฟาร์มหย่อมเล็กหย่อมน้อยกลางนครนิวยอร์ก และผู้คนในย่านดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรที่มีรายได้ต่ำยังใช้โอกาสนี้เพื่อเข้าถึงวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพื่อเสริมภูมิต้านทานในยุคที่การระบาดของโควิดยังดำเนินต่อไป

Rivers Run Community Garden
Rivers Run Community Garden

เรย์มอนด์ ฟิเกอโรอา-เรเยส ประธานกลุ่มสวนผักชุมชนแห่งนิวยอร์ก อธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เมื่อเกิดการระบาดของโควิด การปลูกพืชผักในเมืองก็ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากผู้คนที่ไปขอรับอาหารบริจาคเห็นว่าอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นของที่ไม่มีคุณภาพทางโภชนาการ นอกจากนี้ การไปยืนต่อแถวรอเพื่อขออาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็เป็นอะไรที่ไม่สมศักดิ์ศรีของมนุษย์อีกด้วย

ดังนั้น สวนผักชุมชนในเขตบร็องซ์จึงกลายเป็นแหล่งผลิตพืชผักสวนครัวที่มีแร่ธาตุอาหารสูง เช่น เคล กระเทียม และ ผักคะน้าฝรั่ง (collard greens) ให้แก่ชุมชน

This photo provided by Stephen Zeigler shows Ron Finley in a garden in Los Angeles. Interest in gardening has grown around the country. And urban gardeners say it's particularly important for the health and resiliency of city neighborhoods. (Stephen Ziegler via AP)
This photo provided by Stephen Zeigler shows Ron Finley in a garden in Los Angeles. Interest in gardening has grown around the country. And urban gardeners say it's particularly important for the health and resiliency of city neighborhoods. (Stephen Ziegler via AP)

ขณะนี้ คนอเมริกันหลายล้านคน ไม่ว่าจะเป็นในเมืองใหญ่ๆ และในชนบท อาศัยอยู่ในชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้ สภาพแวดล้อมที่มีแต่ร้านอาหารขยะให้เห็นเต็มไปหมด และของสดใหม่ที่พวกเขาได้กินกันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่คล้ายของหวาน ซึ่งต่างก็ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือ โรคความดันโลหิต ผู้นำชุมชนบางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ความอยุติธรรมทางอาหาร”

ส่วนคุณรอน ฟินลีย์ นักปลูกผักกลางเมืองอีกคนหนึ่งก็มีแนวคิดเช่นกันว่าการปฏิวัติที่ให้อิสรภาพแก่ผู้คนในชุมชนที่มีรายได้น้อยสามารถเกิดขึ้นได้จากการปลูกพืชอาหารเอง เพราะว่าการทำสวนกลางเมืองเปิดโอกาสในการสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจและเสริมสร้างร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ให้กับคนในชุมชน

นักกิจกรรมทำสวนกลางเมืองผู้นี้บอกว่า เขาอยากให้ผู้คนกลับมาหาธรรมชาติ กลับมาสัมผัสดิน และเอาพื้นที่สีเขียวที่เคยมีคืนมา เพราะเขาเชื่อว่า เมื่อเราปลูกฝังเมล็ดพันธุ์ของพืชผักและเมล็ดพันธุ์ของความคิด เรื่องดังกล่าวก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังเป็นอะไรที่มีค่าและมีพลัง และมีความหมายมากกว่าแค่เป็นอาหารเท่านั้น

This photo provided by Raymond Figueroa, Jr. shows members of the community-based Alternatives-to-Incarceration (ATI) initiative at the Brook Park Youth Farm who are involved in growing food as well as the peppers for "The Bronx Hot Sauce." Interest in gardening has grown around the country. And urban gardeners say it's particularly important for the health and resiliency of city neighborhoods. (Raymond Figueroa, Jr. via AP)
This photo provided by Raymond Figueroa, Jr. shows members of the community-based Alternatives-to-Incarceration (ATI) initiative at the Brook Park Youth Farm who are involved in growing food as well as the peppers for "The Bronx Hot Sauce." Interest in gardening has grown around the country. And urban gardeners say it's particularly important for the health and resiliency of city neighborhoods. (Raymond Figueroa, Jr. via AP)


จุดประสงค์ของคุณรอน ฟินลีย์ นั้นได้รับจากจุดประกายมาตั้งแต่สมัยเขายังเด็กๆ เนื่องจากเขาโตที่เขตทางใต้ของเมืองลอสแองเจอลิสในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นชุมชนที่มีรายได้ต่ำและมีอาชญากรรมสูง เรยมอนด์เล่าให้ฟังว่าเขาต้องขับรถเกือบชั่วโมงกว่าจะไปซื้อมะเขือสดๆ สักลูกได้ เขาจึงมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนโดยการทำสวนปลูกผัก ซึ่งสิ่งที่เขาได้ทำนั้น ได้แก่ การทำแปลงผักในบริเวณริมถนนหรือลานเปล่าๆ ที่ไม่มีคนให้ความสนใจ และการเปิดชั้นเรียนออนไลน์เรื่องความสำคัญในการปลูกอาหารทานเอง

ทางด้าน แคเรน วอชิงตัน สมาชิกของคณะกรรมการสวนพฤกษศาสตร์แห่งนครนิวยอร์ก ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ปลูกสวนผักชุมชนมาหลายสิบปีเช่นกัน โดยเฉพาะการปลูกพริกที่ประสบความสำเร็จมาก ถึงขั้นที่คนในชุมชนนำไปแปรรูปและขายเป็นผลิตภัณฑ์ซอสพริกที่ชื่อว่า บร็องซ์ ฮอต ซอส (Bronx Hot Sauce) และกำไรของการขายซอสยี่ห้อนี้ยังกลับไปสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้เธอยังก่อตั้งโครงการ City Farms Market ที่นำผลิตผลจากแปลงผักในย่านบร็องซ์และในบริเวณตอนบนของรัฐนิวยอร์กมาขายในราคาที่ผู้คนในพื้นที่สามารถมีกำลังซื้อได้ด้วย โดยแคเรน ย้ำว่า การเข้าถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์นั้นเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง เหมือนกับการเข้าถึงน้ำสะอาดนั่นเอง

(ที่มา: สำนักข่าวเอพี)

XS
SM
MD
LG