ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหประชาชาติเตือนวิกฤตสภาพอากาศโลกเข้าระดับ ‘สีแดง’ แล้ว


A firefighter uses a drip torch to ignite vegetation while trying to stop the Dixie Fire from spreading in Lassen National Forest, Calif., on Monday, July 26, 2021. (AP Photo/Noah Berger)
A firefighter uses a drip torch to ignite vegetation while trying to stop the Dixie Fire from spreading in Lassen National Forest, Calif., on Monday, July 26, 2021. (AP Photo/Noah Berger)
Code Red UN Climate
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:55 0:00
Direct link


รายงานล่าสุดของคณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) เตือนว่า วิกฤตสภาพอากาศโลกได้เข้าสู่ระดับ ‘สีแดง’ แล้ว ซึ่งภายในปี 2030 อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยจะสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งยอดอุณหภูมินี้นั้นเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญเคยคาดการณ์ไว้ถึง 10 ปีเลยทีเดียว

การศึกษาของ IPCC ระบุด้วยว่า ผลกระทบที่คาดว่าจะตามมาในไม่ช้านี้ ได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเลวร้ายขึ้นอย่างมาก

ข้อมูลข้างต้นเป็นผลจากการวิจัยกว่า 14,000 ฉบับที่ได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์ร่วม 200 คนทั่วโลก ซึ่งผู้นำจากนานาประเทศจะใช้รายงานชิ้นล่าสุดนี้เป็นรากฐานในการออกมาตรการแก้ไขและรับมือปัญหาด้านนี้อย่างเร่งด่วน ณ การประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ ที่เมืองกลาสโกว ในสหราชอาณาจักร

รายงานจากสหประชาชาติหรือ UN ชิ้นนี้ได้ถูกตีพิมพ์เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ ซึ่งตรงกับช่วงที่เกิดภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในประเทศต่างๆในซีกโลกเหนือ เช่น ไฟป่า Dixie Fire ที่ขึ้นแท่นเป็นไฟป่าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือ คลื่นความร้อนในประเทศกรีซที่ส่งผลให้เกิดไฟป่า ทำให้ท้องฟ้าทั่วเกาะอีเวียที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศกลายเป็นสีแดงฉาน

ทั้งนี้ ตรุกีและอิตาลีก็เผชิญกับมหัตภัยไฟป่าเช่นกัน และ อุณหภูมิในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้พุ่งสูงขึ้นถึง 45 องศาในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย บูอาซิจิ ในเมืองอิสตันบูของตุรกี ได้เตือนว่าภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนจะเกิดไฟป่าขึ้นตลอดเวลาในอนาคต สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น สถานการณ์ข้างหน้าจะเลวร้ายกว่านี้มาก

นอกจากนี้ รายงานจาก UN ยังได้ระบุว่า โลกมีโอกาสที่จะมีระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่า 2 เมตรภายในปลายศตวรรษที่ 21 และอาจจะส่งผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคนที่อาศัตามชายฝั่งทะเลในประเทศต่างๆ ส่วนพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนืออาจจะเผชิญกับฤดูร้อนที่ไม่มีน้ำแข็งเลยอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในเวลา 29 ปีข้างหน้านี้

FILE - Melt water lakes are seen on the edge of an ice cap in Nunatarssuk, Greenland, in this aerial view taken on June 22, 2019.
FILE - Melt water lakes are seen on the edge of an ice cap in Nunatarssuk, Greenland, in this aerial view taken on June 22, 2019.

การเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์

รองผู้อำนวยการองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ นาย โค แบรเรต์ บอกกับสำนักข่าว AP ว่า มนุษยชาติรู้มาหลายสิบปีแล้วว่าโลกของเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่รายงานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นเร็วมาก ยกตัวอย่าง เช่น ช่วง 40 ปีที่ผ่านมาถือเป็นช่วงที่โลกร้อนมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ก่อนยุคอุตสาหกรรม

เขากล่าวต่อว่า เหตุผลที่เกิดสถาการณ์ที่เลวร้าย ไม่ว่าสภาพอากาศรุนเเรงสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อนจัด ปัญหาภัยแล้ง และฝนที่ตกหนักมากผิดปกติ ล้วนเป็นผลมาจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ทั้งสิ้น

ทางออกในภาวะฉุกเฉินของสภาพอากาศโลก

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ย้ำว่า ประชาชาติยังสามารถหาทางออกจากวิกฤตภูมิอากาศโลกได้ หากเริ่มจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างกว้างขวางทั่วโลก

ผู้ร่วมเขียนรายงาน IPCC และ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของมหาวิทยาลิยรีดดิ่งที่สหราชอาณาจักร นาย บิล คอลลินส์ บอกกับ วีโอเอว่า ประชากรโลกจะต้องเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานอย่างมากเพื่อที่จะหยุดวิกฤตนี้ได้สำเร็จ เราจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในกลางศตวรรษนี้ นอกจากนี้ เราจะต้องช่วยกันลดก๊าซมีเธนซึ่งมีส่วนสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิโลกกว่าครึ่งองศาด้วย

ท้ายสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์หวังว่า การที่สหรัฐฯกลับมาเข้าร่วมเป็นประเทศในกรอบข้อตกลงปารีสว่าด้วยการแก้ปัญหาภาวะอากาศเปลี่ยนเเปลงผิดธรรมชาตินั้น จะส่งแรงผลักดันให้ผู้นำจากนานาประเทศที่จะมาประชุมกันที่ COP26 ที่สหอาณาจักรหันมาร่วมกันแก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศโลกได้เร็วยิ่งขึ้น

(ที่มา: วีโอเอ และ สำนักข่าว AP)

XS
SM
MD
LG