ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ก.คลังสหรัฐฯ วิพากษ์วิธีบริหารหนี้ ‘แบบแหกคอก’ ของจีน


FILE - Chinese 100 yuan banknotes are seen in a counting machine while a clerk counts them at a branch of a commercial bank in Beijing, China, March 30, 2016.
FILE - Chinese 100 yuan banknotes are seen in a counting machine while a clerk counts them at a branch of a commercial bank in Beijing, China, March 30, 2016.

ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เจเน็ต เยลเลน ออกมาเตือนในวันอังคารว่า การที่จีนถ่วงเวลาการดำเนินแผนผ่อนปรนหนี้ของตนอาจกลายมาเป็นการสร้างภาระให้กับประเทศรายได้ต่ำและปานกลางหลายสิบประเทศในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย พร้อมเผชิญภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับต่ำและมีการลงทุนต่ำกว่าที่ควรไปอีกหลายปี ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์

เบรนท์ นีแมน ที่ปรึกษาของรมต.เยลเลน คือผู้ที่ออกมาวิจารณ์การดำเนินการบริหารหนี้ “แบบนอกคอก” ของจีน และความล้มเหลวของกรุงปักกิ่งที่ไม่สามารถเดินหน้าแผนผ่อนปรนหนี้ ระหว่างเข้าร่วมงานที่จัดขึ้นด้วยสถาบัน Peterson Institute for International Economics

การวิพากษ์วิจารณ์จีนของ นีแมน มีออกมา หลังรอยเตอร์รายงานว่า มูลค่าหนี้ที่จีนปล่อยกู้ออกไปนั้นอยู่ราว 500,000 ล้านดอลลาร์ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

นีแมน กล่าวว่า หลายประเทศในกลุ่มนี้กำลังประสบปัญหาหนี้ท่วมหัว หลังต้องกู้ยืมอย่างหนักมาช่วยรับมือกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งหลาย

นอกจากนี้ สงครามในยูเครนจากการรุกรานของรัสเซียยังทำให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูง ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากตลาดเกิดใหม่นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกมา

นีแมน กล่าวด้วยว่า จีนนั้นมีความรับผิดชอบอันเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของหนี้เงินกู้ เนื่องจากว่าเป็นเจ้าหนี้ในระดับทวิภาคีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีมูลค่าหนี้ที่ปล่อยออกไปสูงกว่าธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น

นอกจากนั้น เขายังกล่าวว่า ราว 44 ประเทศที่เป็นลูกหนี้จีนนั้น มีระดับหนี้สูงถึงกว่า 10% ของจีดีพี แต่กรุงปักกิ่งไม่เคยลดหนี้ให้กับประเทศใดที่ร้องขอความช่วยเหลือมาเลย แต่กลับใช้วิธียืดวันครบกำหนดชำระออกไป ซึ่งทำให้ยอดหนี้ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ยิ่งไปกว่านั้น การที่จีนไม่มีความโปร่งใสและมักบังคับให้ผู้กู้ลงนามในข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล ทำให้ความพยายามปรับโครงสร้างหนี้นั้นยุ่งยากขึ้น ขณะที่ การจับตาดูสถานการณ์ภาระหนี้สินของจีนในระดับพหุภาคีนั้นมักถูก “แยกออกไปอย่างเป็นระบบ” โดยปริยาย

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG