เป็นเวลานานเกินสิบปี กว่าบริษัทยาสูบรายใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ จะยอมตกลงในที่สุดที่จะใช้คำพูดที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่โ ดยเป็นคำพุดที่ระบุให้ใช้ในคำสั่งของศาลเพื่อใช้เผยเเพร่ในช่วงเวลาที่มีคนชมรายการโทรทัศน์มากที่สุดในสหรัฐฯ เเละที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ
คำพูดในโฆษณาทางทีวีดังกล่าวบอกว่า “บริษัทบุหรี่ยี่ห้อต่างๆ ตั้งใจที่จะผลิตบุหรี่ให้มีสารนิโคติน ในปริมาณมากพอที่จะทำให้คนสูบติดเเละเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้”
Robin Koval ประธานของ Truth Initiative วิจารณ์โฆษณาดังกล่าวว่า บริษัทบุหรี่จงใจผลิตโฆษณาทางทีวีนี้ ให้ไม่น่าสนใจต่อผู้ชม ด้วยการพิมพ์เป็นตัวหนังสือสีดำบนจอสีขาวเ เละมีเสียงคนอ่านที่ใช้น้ำเสียงให้น่าเบื่อที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
มีคนในสหรัฐฯ เกือบครึ่งล้านคนเสียชีวิตทุกปีจากโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ รวมทั้งคนที่ไม่สูบบุหรี่เเต่ได้รับควันบุหรี่จากคนอื่นที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ทางสำนักงานควบคุมเเละป้องกันโรคเเห่งสหรัฐฯ ยังคำนวณค่าใช้จ่ายทางการรักษาพยาบาลเเละมูลค่าความสูญเสียด้านการทำงานสูงถึง 300,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี
เพื่อให้ได้เงินค่าเสียหายส่วนหนึ่งคืน ในปี ค.ศ.1990 รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ได้ฟ้องร้องต่อศาลกล่าวหาว่า บริษัทบุหรี่ต่างๆ ในสหรัฐฯ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่
คำฟ้องร้องต่อศาลยุติลงในปี ค.ศ. 2006 โดยศาลสั่งให้บริษัทบุหรี่ต่างๆ ต้องตีพิมพ์เเละเผยเเพร่ข้อมูลเเก้ไขที่เป็นจริงเกี่ยวกับบุหรี่ทางหนังสือพิมพ์เเละทางโทรทัศน์
บรรดาผู้รณรงค์ต่อต้านบุหรี่กล่าวว่า การเผยเเพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ทางหนังสือพิมพ์และทีวีนี้จะได้ผลน้อย เพราะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของอุตสาหกรรมบุหรี่เป็นกลุ่มวัยรุ่นเเละคนหนุ่มสาว ที่ปัจจุบันดูรายการโฆษณาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ที่อายุมากกว่ามีเหตุผลอื่นๆ ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป
Seok Hyon Gwon เเห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน กล่าวว่า ผู้สูบบุหรี่ยังสูบบุหรี่ต่อไป ไม่ใช่เพราะว่าไม่รู้ว่าบุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพ เเต่เป็นเพราะว่ามีเหตุผลหลายอย่าง อาทิ เพื่อลดความเครียดหรืออาจติดสารนิโคตินจนเลิกไม่ได้
แม้การใช้ยาสูบในสหรัฐฯ ได้ลดลง เเต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ว่านั่นเป็นเพราะว่ามีคนหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น ซึ่งพวกเขาชี้ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่าๆ กับบุหรี่ทั่วไป
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)