ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มาเลเซียสั่งฟ้องผู้ต้องหาชาวไทยคดีลักลอบพาคนเข้าเมือง-หลุมฝังศพหมู่


Malaysian officials provide Muslim burial to 21 human trafficking victims, believed to be Rohingya Muslim refugees, found in shallow graves in jungles bordering Thailand, in Kedah, Malaysia, June 22, 2015.
Malaysian officials provide Muslim burial to 21 human trafficking victims, believed to be Rohingya Muslim refugees, found in shallow graves in jungles bordering Thailand, in Kedah, Malaysia, June 22, 2015.

ทางการมาเลเซียยื่นฟ้องผู้ต้องหาชาวไทย 4 คนในวันศุกร์ ภายใต้อำนาจกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ จากกรณีเกี่ยวกับการค้นพบหลุมศพหมู่จำนวนมากเมื่อปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเชื่อว่า เป็นที่ฝังร่างของผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮีนจาและชาวบังคลาเทศที่มาหลบซ่อนอยู่ในค่ายหลายแห่งในพื้นที่ป่าเขาแถบชายแดนมาเลเซีย-ไทย

ไซฟุดดิน นาซูติยน อิสมาอิล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้ต้องหาทั้ง 4 คนนั้นอยู่ในกลุ่มชาวไทย 10 คนที่รัฐบาลมาเลเซียต้องการให้ฝ่ายไทยส่งตัวมาให้ดำเนินคดีตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2017 ในคดีเกี่ยวกับการค้นพบหลุมศพหมู่ในพื้นที่หมู่บ้านวังเกลียน (Wang Kelian) รัฐเปอร์ลิซ (Perlis) ทางเหนือของมาเลเซีย ซึ่งกลายมาเป็นเรื่องเขย่าขวัญคนทั้งประเทศ

Combination picture shows clothes photographed near abandoned human trafficking camp in the jungle close the Thailand border at Bukit Wang Burma in northern Malaysia, May 26, 2015.
Combination picture shows clothes photographed near abandoned human trafficking camp in the jungle close the Thailand border at Bukit Wang Burma in northern Malaysia, May 26, 2015.

รมต.ไซฟุดดิน กล่าวด้วยว่า ด้วยความร่วมมือกับทางการไทย เจ้าหน้าที่สามารถจำกุมชาย 4 คนนี้ได้และส่งตัวมายังมาเลเซียในวันพฤหัสบดีเพื่อรับฟังข้อหา

เมื่อปี ค.ศ. 2015 ตำรวจมาเลเซียประกาศการค้นพบค่ายหลายแห่งที่ถูกทิ้งร้างโดยขบวนการค้ามนุษย์ในเขตหมู่บ้านวังเกลียน ก่อนจะขุดพบเจอศพคนจำนวน 139 คนในหลุมฝังศพหมู่ในบริเวณเดียวกัน โดยก่อนหน้านั้น ตำรวจไทยก็เพิ่งขุดพบเจอศพ 36 ศพในพื้นที่ชายแดนไทย

การค้นพบดังกล่าวเป็นจุดกำหนดของการเปิดโปงเครือข่ายปฏิบัติการของกลุ่มลักลอบขนคนที่จับตัวผู้อพยพมากักขังเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่จากครอบครัวของคนเหล่านั้นที่ดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยพวกที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์นี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮีนจาที่หลบหนีเงื้อมมือของทางการเมียนมา หรือไม่ก็ผู้อพยพชาวบังคลาเทศแสนยากจนที่ต้องการหลบหนีออกจากบ้านเกิดไปหาชีวิตที่ดีกว่า

รายงานข่าวระบุว่า ชายผู้ต้องหาทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธนำตัวไปยังศาลในรัฐเปอร์ลิซ เพื่อรับฟังข้อหาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี หากถูกตัดสินว่ามีความผิด ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น

หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ New Straits Times และ The Star รายงานว่า ทั้ง 4 คนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ถึง 58 ปี ถูกตั้งข้อหาว่าทำการลักลอบค้าชาวเมียนมา 2 คนในพื้นที่วังเกลียน ขณะที่ ไม่มีรายงานการบันทึกว่า ผู้ต้องหายอมรับหรือปฏิเสธที่จะยอมรับผิดหรือไม่ แต่ทั้งหมดไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และคดีนี้จะถูกส่งต่อไปยังศาลสูงเพื่อไต่สวนต่อไป

Policemen monitor as forensic experts dig out human remains near the abandoned human trafficking camp in the jungle close the Thailand border at Bukit Wang Burma in northern Malaysia May 26, 2015. Malaysian police forensic teams, digging with hoes and sho
Policemen monitor as forensic experts dig out human remains near the abandoned human trafficking camp in the jungle close the Thailand border at Bukit Wang Burma in northern Malaysia May 26, 2015. Malaysian police forensic teams, digging with hoes and sho

ที่ผ่านมา มาเลเซียสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่างชาติจำนวน 5 คนในข้อหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ที่วังเกลียนไปแล้ว ขณะที่ ฝ่ายไทยก็ได้ตัดสินลงโทษจำคุกผู้ต้องหา 62 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ 9 คน จากความผิดในคดีอาชญากรรมค้ามนุษย์เช่นกัน

รายงานร่วมโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมาเลเซียและกลุ่ม Fortify Rights ที่ออกมาเมื่อปี ค.ศ. 2019 ชี้ว่า มีช่องว่างในการสืบสวนคดีดังกล่าวและน่าจะมีความพยายามขัดขวางกระบวนการยุติธรรมด้วย พร้อมระบุว่า ทางการมาเลเซียรับรู้เกี่ยวกับค่ายค้ามนุษย์ที่ว่า และทำการบุกค้นมาแล้ว ทั้งยังพบเหยื่อค้ามนุษย์ถูกกักขังอยู่เป็นเวลาหลายเดือนด้วย แต่การขุดหาศพนั้นเพิ่งเกิดขึ้นหลังจากนั้นนานพอควร โดยไม่มีคำอธิบายว่า ทำไมขั้นตอนดังกล่าวถึงล่าช้าแม้จะมีการบุกค้นไปสักพักแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้กระบวนการนิติวิทยาศาสตร์เพื่อสรุปสาเหตุของการเสียชีวิตทำได้ไม่สมบูรณ์

คณะกรรมการสืบสวนของมาเลเซียที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในเวลาต่อมารายงานว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย ข้าราชการ หรือชาวบ้านของมาเลเซียเกี่ยวข้องกับกระบวนการลักลอบค้ามนุษย์หรือองค์การลักลอบขนผู้อพยพใด ๆ แต่ตรวจพบความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานของหน่วยลาดตระเวณชายแดน ทั้งยังระบุด้วยว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของมาเลเซียล้มเหลวในการทำตามขั้นตอนปฏิบัติการมาตรฐานซึ่งส่งผลกระทบต่อการสืบสวนอย่างมาก

  • ที่มา: เอพี
XS
SM
MD
LG