นักเศรษฐศาสตร์บอกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศไทยขึ้นอยู่กับการปฏิรูปทางการเมืองและสถาบัน แต่ไม่คิดว่าจะมีฝ่ายใดนำมาบังคับใช้ ความคิดเห็นนี้สืบเนื่องกับการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้
ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับล่าสุดของมูลนิธิ Asia (Asia Foundation) เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ ของประเทศ การเลือกตั้งทั่วไปและกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยนำรายได้จากการเก็บภาษีอากรให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นพวกเขาก็ต้องการให้ใช้ระบบหนึ่งคน-หนึ่งเสียงต่อไป ในขณะที่คนเหล่านี้ (หมายถึงคนในกรุงเทพฯ) กำลังพูดว่า ‘เราไม่ต้องการรัฐบาลที่มาจากระบบหนึ่งคน-หนึ่งเสียง เราต้องการทางเลือกซึ่งจะเปิดโอกาสให้เรามีผู้แทนได้มากขึ้น’ – นั่นคือส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่
การแบ่งแยกระหว่างนาครกับชนบท มักจะเป็นคำอธิบายที่ใช้กับการแบ่งแยกทางการเมืองในประเทศไทย แต่นักเศรษฐศาสตร์บอกว่า ยังมีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้อยู่ต่อไปด้วย แม้ประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาแล้วอย่างมาก ซึ่งศจ. ผาสุก พงษ์ไพจิตรบอกว่าเป็นปัญหาสำหรับอนาคตของประเทศ
นักเศรษฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้นี้กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่พื้นฐานก็คือสังคมไทยมีความไม่เท่าเทียมกันเป็นอย่างมาก และคนที่อยู่ในระดับบนเคยชินกับการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทุกอย่างจากการใช้จ่ายและนโยบายของรัฐบาล จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อประชาธิปไตยเริ่มทำงาน รายงานฉบับนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะอธิบายว่า ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันทางด้านอื่นๆได้อย่างไร ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคุณภาพของการศึกษาและประเด็นเรื่องค่าจ้างแรงงาน
ธนาคารโลกประมาณว่า ในปี ค.ศ. 2012 กรุงเทพมหานครมีส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเท่ากับ 26% แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลให้กับกรุงเทพฯสูงถึง 70%
Veronique Salze-Lozac’h นักเศรษฐศาสตร์ของมูลนิธิ Asia ให้ความเห็นว่า การกระจายอำนาจจากส่วนกลางและการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดต่อความต้องการที่สำคัญ เช่น การศึกษา จะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง
นักเศรษฐศาสตร์ของ Asia Foundation ผู้นี้กล่าวว่า การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องทำนั้น เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เกิดขึ้นเพราะมีการขวางกั้นบางอย่างทางการเมือง และว่า จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางรวมผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจต่างๆกันให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจด้วย
นับตั้งแต่มีการประท้วงครั้งล่าสุดนี้ ได้มีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปจากกลุ่มต่างๆ รวมทั้งจากนายกรัฐมนตรีเอง ข้อเสนอบางอย่าง เช่น ให้รัฐบาลมีความโปร่งใสมากขึ้นและปราบปรามการซื้อคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ดูจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง
แต่นักเศรษฐศาสตร์ Adam Burke บอกว่า การปรับโครงสร้างที่ลึกซึ้ง เช่นการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง และให้รัฐบาลท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น ถูกต้านทานทั้งจากพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งถูกควบคุมโดยกลุ่มคนที่ร่ำรวยกลุ่มเล็กๆ และว่าอิทธิพลของคนเหล่านี้ รู้สึกได้ในการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ในกรุงเทพฯ
นักเศรษฐศาสตร์ Adam Burke บอกว่า สองกลุ่มผู้อุปถัมภ์นี้ แบ่งแยกกันเป็นสองขั้ว โดยมีคนชั้นนำของสังคมจำนวนน้อยเป็นผู้นำให้กับแต่ละฝ่าย และในขณะนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดต้องการ หรือมีความโน้มเอียงที่จะใช้ความรุนแรง แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นความน่าเกลียดชังได้อย่างรวดเร็ว
นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นส่งท้ายว่า ไม่ว่าจะแก้ไขความชะงักงันทางการเมืองครั้งล่าสุดนี้ได้อย่างไร การปฏิรูปโครงสร้างทางอำนาจของพรรคการเมืองในประเทศไทย เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสังคมที่ร่ำรวยมากขึ้นและรวบรวมผู้คนให้เข้าร่วมในสังคมเดียวกันได้มากขึ้นด้วย
ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ร่วมเขียนรายงานฉบับล่าสุดของมูลนิธิ Asia (Asia Foundation) เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนอื่นๆ ของประเทศ การเลือกตั้งทั่วไปและกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยนำรายได้จากการเก็บภาษีอากรให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นพวกเขาก็ต้องการให้ใช้ระบบหนึ่งคน-หนึ่งเสียงต่อไป ในขณะที่คนเหล่านี้ (หมายถึงคนในกรุงเทพฯ) กำลังพูดว่า ‘เราไม่ต้องการรัฐบาลที่มาจากระบบหนึ่งคน-หนึ่งเสียง เราต้องการทางเลือกซึ่งจะเปิดโอกาสให้เรามีผู้แทนได้มากขึ้น’ – นั่นคือส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่
การแบ่งแยกระหว่างนาครกับชนบท มักจะเป็นคำอธิบายที่ใช้กับการแบ่งแยกทางการเมืองในประเทศไทย แต่นักเศรษฐศาสตร์บอกว่า ยังมีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้อยู่ต่อไปด้วย แม้ประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาแล้วอย่างมาก ซึ่งศจ. ผาสุก พงษ์ไพจิตรบอกว่าเป็นปัญหาสำหรับอนาคตของประเทศ
นักเศรษฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้นี้กล่าวต่อไปว่า ปัญหาที่พื้นฐานก็คือสังคมไทยมีความไม่เท่าเทียมกันเป็นอย่างมาก และคนที่อยู่ในระดับบนเคยชินกับการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทุกอย่างจากการใช้จ่ายและนโยบายของรัฐบาล จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อประชาธิปไตยเริ่มทำงาน รายงานฉบับนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะอธิบายว่า ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันทางด้านอื่นๆได้อย่างไร ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคุณภาพของการศึกษาและประเด็นเรื่องค่าจ้างแรงงาน
ธนาคารโลกประมาณว่า ในปี ค.ศ. 2012 กรุงเทพมหานครมีส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเท่ากับ 26% แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลให้กับกรุงเทพฯสูงถึง 70%
Veronique Salze-Lozac’h นักเศรษฐศาสตร์ของมูลนิธิ Asia ให้ความเห็นว่า การกระจายอำนาจจากส่วนกลางและการใช้จ่ายเงินอย่างฉลาดต่อความต้องการที่สำคัญ เช่น การศึกษา จะต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง
นักเศรษฐศาสตร์ของ Asia Foundation ผู้นี้กล่าวว่า การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องทำนั้น เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เกิดขึ้นเพราะมีการขวางกั้นบางอย่างทางการเมือง และว่า จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางรวมผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจต่างๆกันให้เข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจด้วย
นับตั้งแต่มีการประท้วงครั้งล่าสุดนี้ ได้มีข้อเสนอให้มีการปฏิรูปจากกลุ่มต่างๆ รวมทั้งจากนายกรัฐมนตรีเอง ข้อเสนอบางอย่าง เช่น ให้รัฐบาลมีความโปร่งใสมากขึ้นและปราบปรามการซื้อคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ดูจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง
แต่นักเศรษฐศาสตร์ Adam Burke บอกว่า การปรับโครงสร้างที่ลึกซึ้ง เช่นการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง และให้รัฐบาลท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น ถูกต้านทานทั้งจากพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งถูกควบคุมโดยกลุ่มคนที่ร่ำรวยกลุ่มเล็กๆ และว่าอิทธิพลของคนเหล่านี้ รู้สึกได้ในการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ในกรุงเทพฯ
นักเศรษฐศาสตร์ Adam Burke บอกว่า สองกลุ่มผู้อุปถัมภ์นี้ แบ่งแยกกันเป็นสองขั้ว โดยมีคนชั้นนำของสังคมจำนวนน้อยเป็นผู้นำให้กับแต่ละฝ่าย และในขณะนี้ ยังไม่มีฝ่ายใดต้องการ หรือมีความโน้มเอียงที่จะใช้ความรุนแรง แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นความน่าเกลียดชังได้อย่างรวดเร็ว
นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นส่งท้ายว่า ไม่ว่าจะแก้ไขความชะงักงันทางการเมืองครั้งล่าสุดนี้ได้อย่างไร การปฏิรูปโครงสร้างทางอำนาจของพรรคการเมืองในประเทศไทย เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสังคมที่ร่ำรวยมากขึ้นและรวบรวมผู้คนให้เข้าร่วมในสังคมเดียวกันได้มากขึ้นด้วย