สืบเนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จนนำไปสู่การประท้วงในหลายจุดทั่วกรุงเทพฯและต่างจังหวัด วันนี้สื่อต่างชาติชั้นนำหลายสำนัก ได้แก่ WSJ, Forbes และ CNN ได้ตีพิมพ์ความเห็นของคอลัมนิสต์และนักวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองไทยในขณะนี้
คุณ Simon Montlake คอลัมนิสต์ของนิตยสาร Forbes ได้เปรียบเทียบลักษณะการเมืองระบอบประชาธิปไตยของไทยกับสหรัฐ โดยบอกว่าสหรัฐนั้นมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจหรือ Checks and Balances ที่ค่อนข้างหยุมหยิมละเอียดละออ ทำให้เกิดการจำกัดอำนาจของประธานาธิบดี นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองหลายอย่าง ทั้งการปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ หรือความขัดแย้งเรื่องโครงการประกันสุขภาพ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากความแตกแยกของพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคคือเดโมแครตและรีพับลิกัน
คอลัมนิสต์ของ Forbes ชี้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองสหรัฐนั้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงทางการเมืองในระบบรัฐสภาที่ ส.ส ต่างมาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในประเทศที่สถาบันทางประชาธิปไตยอ่อนแอ เช่นในประเทศไทย คุณ Simon Montlake ให้ความเห็นว่าการที่ ส.ส ของไทยผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ชำระล้างความผิดของผู้ต้องโทษหลากหลายคดีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค พ.ศ 2547 จนทำให้ผู้ต่อต้านร่าง ก.ม ฉบับนี้หลายหมื่นคนออกมาประท้วงในกรุงเทพฯนั้น แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของการเมืองไทย และยังชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางในระบบรัฐสภาไทย
คอลัมนิสต์ของ Forbes ยังบอกด้วยว่าหากพรรคเพื่อไทยตัดสินใจยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในต้นปีหน้าดังที่สื่อมวลชนในประเทศไทยรายงาน แล้วพรรคเพื่อไทยได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็อาจจะเกิดภาวะชะงักงันทางการเมืองไทยจนทหารต้องเข้ามาแทรกแซงเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2549 ซึ่งจะถือเป็นระบบการถ่วงดุลอำนาจที่ใช้ไม่ได้ คุณ Simon Montlake สรุปว่าในที่สุดแล้วการมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจมากเกินไปเหมือนที่การเมืองอเมริกันมีนั้น ก็ยังดีกว่าการที่ไม่มีระบบตรวจสอบอะไรเลย
และในวันนี้เช่นกัน สำนักข่าว CNN ได้ตีพิมพ์รายงานสัมภาษณ์นายก รมต.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยตั้งคำถามไว้ว่านายกฯหญิงคนแรกของไทยจะสามารถจัดการกับความแตกแยกทางการเมืองในขณะนี้ได้หรือไม่ และว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานายกฯยิ่งลักษณ์เผชิญกับปัญหามากมาย ไล่ตั้งแต่ปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ 2554 มาจนถึงปัญหาการเมืองล่าสุดสืบเนื่องจากร่างก.ม นิรโทษกรรม CNN สรุปว่าที่ผ่านมาแม้นายกฯยิ่งลักษณ์ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างความปรองดองภายในประเทศ แต่การที่นายกฯยิ่งลักษณ์ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของพี่ชายคือ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถลดช่องว่างหรือขจัดความแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกในประเทศไทยได้
ขณะเดียวกัน นสพ.Wall Street Journal ก็ได้ตีพิมพ์ความเห็นของนาย James Hookway ต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในเวลานี้ว่า ร่างก.ม นิรโทษกรรมนั้นอาจถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของพรรคเพื่อไทยและนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการประท้วงโดยกลุ่มคนที่ต่อต้าน พ.ต.ท ทักษิณ เป็นทุนเดิม ยังมีกลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยสนับสนุน พ.ต.ท ทักษิณออกมาร่วมประท้วงด้วย เพราะไม่ต้องการให้อภัยโทษแก่ผู้นำรัฐบาลชุดก่อนที่ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อปี พ.ศ 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน
WSJ ยังได้ตีพิมพ์รายงานของบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงและความมั่นคง PSA Asia ที่ว่า หากร่าง ก.ม นิรโทษกรรมไม่ผ่านการรับรองของวุฒิสภาในสัปดาห์หน้า อาจจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคของ พ.ต.ท ทักษิณที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมานานกว่าสิบปี แต่ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายในระบอบการเมืองไทยมากยิ่งขึ้นไปอีกหลายปี เนื่องจากพรรคเล็กพรรคน้อยไม่สามารถทางทางเจรจาตกลงกันได้ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม
ทางด้านอาจารย์ปวิน ชัชวาลพงศัพันธุ์ แห่งศูนย์ศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น กล่าวกับ WSJ ว่าครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนมีโอกาสตีตัวออกห่างจาก พ.ต.ท ทักษิณ และแสดงตัวว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
WSJ สรุปว่าในที่สุดแล้วหากร่าง ก.ม นิรโทษกรรมไม่ผ่านการรับรอง ประกอบกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกตัวออกมานั้นสามารถจัดตั้งองค์กรที่แข็งแกร่งได้ในระยะยาว ก็มีแนวโน้มที่ประชาธิปไตยของไทยจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้
รายงานจาก WSJ, Forbes และ CNN / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล
คุณ Simon Montlake คอลัมนิสต์ของนิตยสาร Forbes ได้เปรียบเทียบลักษณะการเมืองระบอบประชาธิปไตยของไทยกับสหรัฐ โดยบอกว่าสหรัฐนั้นมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจหรือ Checks and Balances ที่ค่อนข้างหยุมหยิมละเอียดละออ ทำให้เกิดการจำกัดอำนาจของประธานาธิบดี นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองหลายอย่าง ทั้งการปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ หรือความขัดแย้งเรื่องโครงการประกันสุขภาพ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากความแตกแยกของพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคคือเดโมแครตและรีพับลิกัน
คอลัมนิสต์ของ Forbes ชี้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองสหรัฐนั้นไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงทางการเมืองในระบบรัฐสภาที่ ส.ส ต่างมาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในประเทศที่สถาบันทางประชาธิปไตยอ่อนแอ เช่นในประเทศไทย คุณ Simon Montlake ให้ความเห็นว่าการที่ ส.ส ของไทยผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ชำระล้างความผิดของผู้ต้องโทษหลากหลายคดีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค พ.ศ 2547 จนทำให้ผู้ต่อต้านร่าง ก.ม ฉบับนี้หลายหมื่นคนออกมาประท้วงในกรุงเทพฯนั้น แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของการเมืองไทย และยังชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางในระบบรัฐสภาไทย
คอลัมนิสต์ของ Forbes ยังบอกด้วยว่าหากพรรคเพื่อไทยตัดสินใจยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ในต้นปีหน้าดังที่สื่อมวลชนในประเทศไทยรายงาน แล้วพรรคเพื่อไทยได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็อาจจะเกิดภาวะชะงักงันทางการเมืองไทยจนทหารต้องเข้ามาแทรกแซงเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2549 ซึ่งจะถือเป็นระบบการถ่วงดุลอำนาจที่ใช้ไม่ได้ คุณ Simon Montlake สรุปว่าในที่สุดแล้วการมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจมากเกินไปเหมือนที่การเมืองอเมริกันมีนั้น ก็ยังดีกว่าการที่ไม่มีระบบตรวจสอบอะไรเลย
และในวันนี้เช่นกัน สำนักข่าว CNN ได้ตีพิมพ์รายงานสัมภาษณ์นายก รมต.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยตั้งคำถามไว้ว่านายกฯหญิงคนแรกของไทยจะสามารถจัดการกับความแตกแยกทางการเมืองในขณะนี้ได้หรือไม่ และว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานายกฯยิ่งลักษณ์เผชิญกับปัญหามากมาย ไล่ตั้งแต่ปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ 2554 มาจนถึงปัญหาการเมืองล่าสุดสืบเนื่องจากร่างก.ม นิรโทษกรรม CNN สรุปว่าที่ผ่านมาแม้นายกฯยิ่งลักษณ์ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างความปรองดองภายในประเทศ แต่การที่นายกฯยิ่งลักษณ์ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของพี่ชายคือ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถลดช่องว่างหรือขจัดความแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกในประเทศไทยได้
ขณะเดียวกัน นสพ.Wall Street Journal ก็ได้ตีพิมพ์ความเห็นของนาย James Hookway ต่อประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองของไทยในเวลานี้ว่า ร่างก.ม นิรโทษกรรมนั้นอาจถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของพรรคเพื่อไทยและนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการประท้วงโดยกลุ่มคนที่ต่อต้าน พ.ต.ท ทักษิณ เป็นทุนเดิม ยังมีกลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยสนับสนุน พ.ต.ท ทักษิณออกมาร่วมประท้วงด้วย เพราะไม่ต้องการให้อภัยโทษแก่ผู้นำรัฐบาลชุดก่อนที่ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อปี พ.ศ 2553 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน
WSJ ยังได้ตีพิมพ์รายงานของบริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงและความมั่นคง PSA Asia ที่ว่า หากร่าง ก.ม นิรโทษกรรมไม่ผ่านการรับรองของวุฒิสภาในสัปดาห์หน้า อาจจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคของ พ.ต.ท ทักษิณที่มีอิทธิพลต่อการเมืองไทยมานานกว่าสิบปี แต่ก็อาจทำให้เกิดความวุ่นวายในระบอบการเมืองไทยมากยิ่งขึ้นไปอีกหลายปี เนื่องจากพรรคเล็กพรรคน้อยไม่สามารถทางทางเจรจาตกลงกันได้ในการจัดตั้งรัฐบาลผสม
ทางด้านอาจารย์ปวิน ชัชวาลพงศัพันธุ์ แห่งศูนย์ศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น กล่าวกับ WSJ ว่าครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนมีโอกาสตีตัวออกห่างจาก พ.ต.ท ทักษิณ และแสดงตัวว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
WSJ สรุปว่าในที่สุดแล้วหากร่าง ก.ม นิรโทษกรรมไม่ผ่านการรับรอง ประกอบกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกตัวออกมานั้นสามารถจัดตั้งองค์กรที่แข็งแกร่งได้ในระยะยาว ก็มีแนวโน้มที่ประชาธิปไตยของไทยจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้
รายงานจาก WSJ, Forbes และ CNN / เรียบเรียงโดย ทรงพจน์ สุภาผล