ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นายกฯ พบชุมชนไทยระหว่างประชุมเอเปค ย้ำภารกิจสร้างความเชื่อมั่น- ดึงนักลงทุน


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก

นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสหลังเสร็จสิ้นภารกิจการร่วมประชุมกลุ่มประเทศเอเปค ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทย พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวชุมชนไทยในสหรัฐฯ ที่นครซานฟรานซิสโก โดยย้ำถึงแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยประกาศความพร้อมของไทยในการต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลก

นายกรัฐมนตรีใช้โอกาสหลังเสร็จสิ้นภารกิจการร่วมประชุมกลุ่มประเทศเอเปค ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทย พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวชุมชนไทยในสหรัฐฯ ที่นครซานฟรานซิสโก โดยย้ำถึงแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยประกาศความพร้อมของไทยในการต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลก

“ ตอนนี้ ภารกิจของรัฐบาลนี้ คือเดินทางมาต่างประเทศ ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยเปิดแล้ว ประเทศไทยพร้อมแล้ว ไม่มีเวลาไหนที่ดีกว่าเวลานี้ที่จะลงทุนในประเทศไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก


ผมเดินทางมาในต่างประเทศ หลายๆประเทศ ได้พบกับบริษัทใหญ่ๆ ทั้งนั้น หน้าที่ผมคือเชื้อเชิญให้พวกเค้าไปลงทุนในประเทศไทย"


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ใช้โอกาสในระหว่างการพบปะชาวชุมชนไทยในสหรัฐฯ กล่าวย้ำถีงภารกิจสำคัญในช่วงการเดินทางเยือนนครซานฟรานซิสโก เพื่อร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC และการประชุมหารือคู่ขนานเวทีต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ

“ บริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Amazon ไม่ว่าจะเป็น Google ไม่ว่าจะเป็น Facebook และอีกหลายๆ บริษัท บริษัทในประเทศจีน หลายๆ บริษัทก็จะไปสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ประเทศไทย เทสล่าเองก็มีความสนใจ และเค้าเองเค้าก็พูดชัดเจน.. เขาคุยกับเราคนเดียว มีความมั่นใจว่าภายในเวลา 3-6 เดือนนี้คงมีการตัดสินใจอย่างแน่นอน ..อีกตัวอย่างที่น่าชื่นชมคือ อยู่ดีๆ ทิม คุก ซีอีโอ แชร์แมน ของ Apple ก็ติดต่อมาว่าอยากคุยด้วย “ นายเศรษฐา กล่าว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก

ชาวไทยในต่างแดนจำนวนมาก จากหลากหลายสาขาอาชีพรวมตัวลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อโอกาสร่วมกิจกรรมเข้าพบนายกรัฐมนตรี รวมทั้งใช้โอกาสนี้ตั้งข้อซักถามพูดคุยกับผู้นำของไทยอย่างใกล้ชิด รวมถึงกลุ่มนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขต เบิร์กลีย์ หลายคนที่รู้สึกตื่นเต้น ที่ได้ร่วมรับฟังและพบปะนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิด


“เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีค่ะ ตอนที่หนูอยู่ไทยก็ยังเคยไม่มีโอกาสได้พบนายกตัวเป็นๆ เหมือนกัน เหมือนเป็น setting ที่ค่อนข้างเล็ก คนไม่ได้เยอะขนาดนั้น จะได้เจอกันอย่างใกล้ชิดด้วยค่ะ แล้วหนูเป็นคนที่ตามการเมืองมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา..” ณพิมพ์ กุลฤชากร ,นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และ Data Sceince , มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ กล่าวกับ วีโอเอ ไทย

ด้าน ณุทยา เจียมธรรมจินดา , มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ บอกกับ วีโอเอ ไทย ว่า เธอมีเชิ้อสายไทยและอเมริกัน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเธอมีประสบการณ์ และโอกาสเข้าไปทำงานที่ศาลสูงนครซานฟรานซิสโก และได้สัมผัสกับการทำงานในภาครัฐของอเมริกัน กฎหมายอเมริกัน รวมทั้งคดีความเกี่ยวกับกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว และอีกหลายอย่าง ดังนั้นเธอจึงอยากมาเป็นตัวแทนในอีกด้านหนึ่งของวัฒนธรรมไทยในฐานะลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ซึ่งถือเป็นประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับเธอ

ด้าน จิรภัทร ลิ้มแก้วประเสริฐ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีความคาดหวังทางด้านนโยบายต่อรัฐบาล ในด้านที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาในด้านการศึกษา

“ผมเห็นว่าโอกาสของเด็กไทยที่ได้ไปเรียนเมืองนอก ได้รับ quality education มันมีเพิ่มขึ้นอย่างเยอะๆ มาก แต่ที่เราไม่เห็น ณ ปัจจุบันนี้ก็คือ เด็กส่วนใหญ่ที่ออกไปเรียนนต่างประเทศ เลือกที่จะไม่กลับประเทศไทย ไปทำงานที่ประเทศไทย ซึ่งผมว่ามันเป็นการที่ทำให้ทรัพยากรคน ประเทศของเราหรือว่าคุณพ่อคุณแม่ของเราได้ลงทุนมา มัน drain หายไปจากประเทศไทย “ จิรภัทร นศ. คณะเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ กล่าว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก


ด้าน ภัทรภณ วงศ์แจ่มเจริญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์อุตสาหการบอกว่า กลุ่มนักศึกษาไทยในอเมริกา พร้อมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และยกระดับการศึกษาไทย

“ เราจะสามารถเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยพัฒนาเรื่องการศึกษาของประเทศไทยได้อย่างไร ด้วยการที่ผมเรียนอยู่วิศวะที่เบิร์กลีย์ เค้าก็จะมีการใช้เทคโนโลยีเยอะแยะมากมาย อยู่ตรง Bay Area ซานฟรานซิสโก ก็จะมีเรื่องของ Silicon Valley มีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เป็นนวัตกรรมในการศึกษามากขึ้น อยากที่จะเห็นรัฐบาลเอาเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาใช้ปรับปรุงระบบการศึกษาไทยให้มันดีมากขึ้น....” ภัทรภณ บอกกับ วีโอเอ


ในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชาวไทยในสหรัฐฯ ได้ยกประเด็น ปัญหาขาดแคลนแรงงานไทยในต่างแดน โดยเฉพาะปัญหาของผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในสหรัฐ ซึ่งภายหลังที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อดัน "ครัวไทยสู่ครัวโลก" ปั้นเชฟอาหารไทยจำนวน 1 แสนคนภายในระยะ 2 ปี ทำให้อุตสาหกรรมร้านอาหารไทยมีความหวัง


“ตอนนี้วิกฤตที่ร้านอาหารไทยประสบก็คือ พ่อครัว อย่างผมทำธุรกิจร้านอาหารมา 30 ปี มีร้านถึง 3 ร้าน แต่ทุกวันนี้ผมต้องขายหมด ทั้งที่ยังทำเงิน ขาดแรงงานครับ เราก็ไม่อยากจ้างแรงงานที่ผิดกฎหมาย มันเป็นอะไรที่เสี่ยงอยากการตรวจสอบ เสี่ยงจากการโดนฟ้อง “ วัลลภ คชินทร กล่าว

นายสุนัย จุลพงศธร , อดีตสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เดินทางมาลี้ภัยการเมืองในสหรัฐฯนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี ปี พ.ศ. 2557 ใช้โอกาสการเข้าพบนายกรัฐมนตรี นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยคาดหวังว่าปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมืองที่สั่งสมมายาวนานจะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พบชุมชนไทยในสหรัฐฯที่ซานฟรานซิสโก

“ เท่าที่ห็นท่านนายกมีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา ก็เพียงมีแต่ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับผมคือปัญหาผู้ลี้ภัยและการปรองดอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่รู้ว่าไม่ง่ายครับ แต่ว่าเท่าที่ดูท่าน ท่านมีกำลังใจในการทำงาน ..ผมว่าวันนี้เรากำลังปรับขบวนเข้าสู่ประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนที่สุดครับ การโจมตีกัน จากอดีตว่าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ย้ายข้าง โครงสร้างของการเมือง มันบีบบังคับให้เป็นอื่นไม่ได้..” สุนัย จุลพงศธร อดีต ส.ส. และผู้ลี้ภัยการเมืองในสหรัฐฯ มายาวนาน กล่าวกับวีโอเอ

ใยระหว่างการเดินทางประชุม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APECของผู้นำรัฐบาลไทลในช่วงที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน ได้หาโอกาสในการพบปะและเจรจากับภาคเอกชนในสหรัฐฯหลายราย รวมถึงเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ยังได้ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีที่ประชุม APEC CEO Summit และยืนยันความสำเร็จในด้านการจัดการกับปัญหาภาวะโลกร้อนและนำเสนอแผนงานการเดินหน้าโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของไทย รวมทั้งการมีส่วนร่วมบนเวทียืนยันความก้าวหน้าของการเจรจาผลักดันกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ IPEF ที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม

กระดานความเห็น

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG