ลิ้งค์เชื่อมต่อ

 
อย.สหรัฐฯ ปฏิเสธข่าว ‘การขึ้นบัญชีห้ามนำเข้า’ น้ำปลาจากบริษัทไทย

อย.สหรัฐฯ ปฏิเสธข่าว ‘การขึ้นบัญชีห้ามนำเข้า’ น้ำปลาจากบริษัทไทย


The Food and Drug Administration campus in Silver Spring, Maryland.
The Food and Drug Administration campus in Silver Spring, Maryland.

องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ หรือ FDA ปฏิเสธข่าวการขึ้นบัญชีห้ามนำเข้าน้ำปลาจากผู้ผลิตไทยบางรายตามที่สื่อไทยรายงานในสัปดาห์นี้

ปีเตอร์ แคสเซลล์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารมวลชนขององค์การอาหารและยาอเมริกัน บอกว่าวีโอเอภาคภาษาไทยว่า หลังจากที่ได้ตรวจสอบระบบข้อมูลของหน่วยงาน ไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนเรื่องการนำเข้า หรือ ‘Import Alert’ น้ำปลาจากประเทศไทยในขณะนี้

เขากล่าวว่า บางครั้งการขอข้อมูลเพิ่มอาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการนำเข้าสินค้าเข้ามายังสหรัฐฯ ซึ่งเรื่องนี้เป็นงานที่ฝ่ายศุลกากรสหรัฐฯและ FDA มีอำนาจร่วมกัน

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ สื่อไทยรายงานโดยอ้างข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย ที่นครนิวยอร์ก ซึ่งระบุว่า FDA สหรัฐฯ ห้ามนำเข้าน้ำปลาจากผู้ผลิตบางรายของไทย เนื่องจากอาจไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค

Masan's product Nam Ngu fish sauce are displayed for sale at a market in Hanoi April 13, 2011. RTR2L63F
Masan's product Nam Ngu fish sauce are displayed for sale at a market in Hanoi April 13, 2011. RTR2L63F

เอกสารของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่นิวยอร์ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ระบุว่า มีบริษัทในไทย 4 แห่งที่อยู่ในสถานะ ‘Import Alert’ เรื่องการนำเข้าน้ำปลามาสหรัฐฯ ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2561

ขณะเดียวกัน วีโอเอไทยตรวจสอบเอกสารบนเว็บไซต์ของ FDA และพบว่าเมื่อ 4 ปีก่อน องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ส่งหนังสือเตือนไปยังบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัด

จดหมายฉบับดังกล่าวของ FDA กล่าวว่าพบความผิดปกติของการผลิตน้ำปลา ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของเกณฑ์ที่ FDA ใช้อ้างอิงสำหรับมาตรฐานสินค้าอาหารทะเลภายใต้ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) ซึ่งเป็นแนวทางวิเคราะห์ความปลอดภัยของอาหาร

FDA ระบุว่าในจดหมายว่าบริษัทต้องแจ้งกลับมาภายใน 15 วัน โดยบอกแนวทางดำเนินการเพื่อปรับปรุงมาตรฐาน และหากไม่ทำตาม อาจถูกสั่งกักสินค้าที่นำมาขายในสหรัฐฯ

ตามเอกสารของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่นิวยอร์ก ผู้บริหารของบริษัทไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัด กล่าวกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยว่า ได้ปรับปรุงมาตรฐานการควบคุมอันตราย รวมทั้งจัดส่งแผนด้านความปลอดภัยของอาหารตามแนวทาง HACCP แล้ว แต่สินค้าของบริษัทยังอยู่ในบัญชีที่ถูกกักกัน

วีโอเอสัมภาษณ์ปีเตอร์ แคสเซลล์ ของ FDA เพื่อขอความกระจ่างว่าเหตุใด ระบบข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ จึงไม่แสดงผลว่ามีบริษัทน้ำปลาของไทยอยู่ในบัญชี ‘Import Alert’ แต่ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุชื่อบริษัทไทย 4 รายว่าถูกห้ามนำเข้านำปลามาสหรัฐฯ

ปีเตอร์ แคสเซลล์ กล่าวว่า ความเป็นไปได้หนึ่งคืออาจมีการเข้าใจที่แตกต่างในคำว่า ‘Import Alert’ อย่างไรก็ตามเขาจะตรวจสอบกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อไป

XS
SM
MD
LG