ทีมนักวิทยาศาสตร์ในรัฐแคลิฟอร์เนียพัฒนาวิธีผลิตกระแสไฟฟ้าจากคลื่นทะเลโดยอุปกรณ์นี้สามารถปรับไปใช้ในการผลิตน้ำจืดได้ด้วย ทีมนักวิจัยชี้ว่าคลื่นทะเลมีศักยภาพมหาศาลในการผลิตพลังงานในราคาถูกแต่มักถูกมองข้าม
คลื่นทะเลที่ถาโถมเข้าซัดแนวฝั่งอย่างไม่มีวันหยุดหย่อนแสดงให้เห็นศักยภาพของแหล่งพลังงานที่มหาศาลแต่การเคลื่อนตัวของน้ำทะเลที่เกิดจากคลื่นเป็นการเคลื่อนตัวขึ้นและลง ทำให้ยากในการแปลงแรงคลื่นน้ำทะเลให้เป็นพลังงาน ต่างจากการผลิตพลังงานจากแรงน้ำในแม่น้ำที่ไหลไปทางเดียวหรือจากกระแสลมที่พัดไปทางเดียว
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of California Berkley ได้ออกแบบอุปกรณ์ใต้น้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สองอย่าง
Marcus Lehman หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่าอุปกรณ์ใต้น้ำที่คิดค้นขึ้นนี้ สามารถแปลงพลังงานจากแรงน้ำในคลื่นทะเลให้เป็นไฟฟ้าได้และยังสามารถปรับการทำงานของอุปกรณ์ให้ทำการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้ด้วย
อุปกรณ์นี้ลักษณะเหมือนพรมปูพื้นสามารถเคลื่อนตัวขึ้นและลงตามแรงคลื่นทะเลสร้างแรงกดดันในน้ำที่จะช่วยหนุนให้น้ำทะเลเข้ากระทบฝั่งและแรงของน้ำที่เข้ากระทบฝั่งนี้จะถูกนำไปใช้ในการหมุนใบพัดเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหรืออาจจะนำไปใช้ในการดันน้ำทะเลผ่านแผ่นกรองที่สกัดเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อผลิตเป็นน้ำจืด
คุณ Lehman กล่าวว่าอุปกรณ์นี้ หากพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะสามารถช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอแก่ความต้องการด้านพลังงานของชุมชนเล็กตามแนวชาวฝั่งได้
Lehman นักวิจัยกล่าวว่าแหล่งพลังงานจากคลื่นทะเลจะสามารถรองรับความต้องการพลังงานทั่วโลกได้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากทีเดียว
ทางด้าน คุณ Reza Alam ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineer) กล่าวว่าเพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นนี้สามารถนำไปติดตั้งในจุดที่มีระดับอ็อกซิเจนในน้ำต่ำจนไม่มีพืชและสัตว์ทะเลอาศัยอยู่
คุณ Reza Alam กล่าวว่าเขามั่นใจมากว่าการติดตั้งอุปกรณ์แปลงพลังงานในจุดที่ไม่มีทั้งพืชและสัตว์ทะเลอาศัยอยู่จะมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่าแผ่นพรมคลื่นทะเลขนาดหนึ่งตารางเมตรจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอแก่การใช้งานในบ้านเรือนคนอเมริกันทั่วไปได้ถึงสองหลังและหากเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ขึ้นไปอีกก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น จนเพียงพอแก่ความต้องการใช้พลังงานในเมืองชายทะเลได้หลายเมืองทีเดียว
คลื่นทะเลที่ถาโถมเข้าซัดแนวฝั่งอย่างไม่มีวันหยุดหย่อนแสดงให้เห็นศักยภาพของแหล่งพลังงานที่มหาศาลแต่การเคลื่อนตัวของน้ำทะเลที่เกิดจากคลื่นเป็นการเคลื่อนตัวขึ้นและลง ทำให้ยากในการแปลงแรงคลื่นน้ำทะเลให้เป็นพลังงาน ต่างจากการผลิตพลังงานจากแรงน้ำในแม่น้ำที่ไหลไปทางเดียวหรือจากกระแสลมที่พัดไปทางเดียว
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of California Berkley ได้ออกแบบอุปกรณ์ใต้น้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สองอย่าง
Marcus Lehman หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่าอุปกรณ์ใต้น้ำที่คิดค้นขึ้นนี้ สามารถแปลงพลังงานจากแรงน้ำในคลื่นทะเลให้เป็นไฟฟ้าได้และยังสามารถปรับการทำงานของอุปกรณ์ให้ทำการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้ด้วย
อุปกรณ์นี้ลักษณะเหมือนพรมปูพื้นสามารถเคลื่อนตัวขึ้นและลงตามแรงคลื่นทะเลสร้างแรงกดดันในน้ำที่จะช่วยหนุนให้น้ำทะเลเข้ากระทบฝั่งและแรงของน้ำที่เข้ากระทบฝั่งนี้จะถูกนำไปใช้ในการหมุนใบพัดเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหรืออาจจะนำไปใช้ในการดันน้ำทะเลผ่านแผ่นกรองที่สกัดเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อผลิตเป็นน้ำจืด
คุณ Lehman กล่าวว่าอุปกรณ์นี้ หากพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะสามารถช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอแก่ความต้องการด้านพลังงานของชุมชนเล็กตามแนวชาวฝั่งได้
Lehman นักวิจัยกล่าวว่าแหล่งพลังงานจากคลื่นทะเลจะสามารถรองรับความต้องการพลังงานทั่วโลกได้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากทีเดียว
ทางด้าน คุณ Reza Alam ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineer) กล่าวว่าเพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นนี้สามารถนำไปติดตั้งในจุดที่มีระดับอ็อกซิเจนในน้ำต่ำจนไม่มีพืชและสัตว์ทะเลอาศัยอยู่
คุณ Reza Alam กล่าวว่าเขามั่นใจมากว่าการติดตั้งอุปกรณ์แปลงพลังงานในจุดที่ไม่มีทั้งพืชและสัตว์ทะเลอาศัยอยู่จะมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่าแผ่นพรมคลื่นทะเลขนาดหนึ่งตารางเมตรจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงพอแก่การใช้งานในบ้านเรือนคนอเมริกันทั่วไปได้ถึงสองหลังและหากเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ขึ้นไปอีกก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น จนเพียงพอแก่ความต้องการใช้พลังงานในเมืองชายทะเลได้หลายเมืองทีเดียว