ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ย้อนดูแวดวงเทคโนโลยีปี 2021 ตั้งแต่ Facebook Papers ถึงนวัตกรรมหุ่นสมองกลใหม่ๆ


In this handout photo provided by UK Parliament, Facebook whistleblower Frances Haugen, right, gives evidence to the joint committee for the Draft Online Safety Bill, as part of government plans for social media regulation, in London, Oct. 25, 2021.
In this handout photo provided by UK Parliament, Facebook whistleblower Frances Haugen, right, gives evidence to the joint committee for the Draft Online Safety Bill, as part of government plans for social media regulation, in London, Oct. 25, 2021.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:34 0:00


แวดวงเทคโนโลยีในปี 2021 นั้น นำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากมาย ตั้งแต่กรณีการเปิดเผยเอกสารข้อมูลลับ Facebook Papers ไปจนถึงการเปิดตัวนวัตกรรมหุ่นสมองกลใหม่ๆ รวมทั้ง non-fungible tokens (NFTs) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่แต่ละหน่วยมีความแตกต่างเฉพาะตัว

Facebook Papers

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อดีตพนักงานรายหนึ่งของบริษัท เฟสบุ๊ค (Facebook) ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น เมตา (Meta) แล้ว ออกมากล่าวหาบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำแห่งนี้ว่า ทำการเพิกเฉยต่อผลงานวิจัยของตนเองที่ชี้ว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และนโยบายของบริษัทนั้นอาจส่งผลร้ายต่อผู้ใช้งานได้

ฟรานซิส เฮาเกน อดีตนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลของบริษัท คือ ผู้ที่ออกมาเปิดเผยประเด็นดังกล่าวพร้อมเอกสารต่างๆ ที่นำเสนอต่อสภาคองเกรส ซึ่งกลายมาเป็นที่รู้จักกันในนาม Facebook Papers

เฮาเกน กล่าวว่า เอกสารทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า แพลตฟอร์มเฟสบุ๊คสามารถขยายความรู้สึกเกลียดชังและการแพร่กระจายข้อมูลผิดๆ ไปสู่ผู้ใช้งาน ทั้งยังสามารถทำให้ความแตกแยกทางการเมืองรุนแรงขึ้นได้ พร้อมชี้ว่า เฟสบุ๊ค ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาธารณะ ในขณะที่ประกาศว่า ตนพยายามที่จะต่อสู้กับการเผยแพร่ hate speech หรือ วาจาที่ทำให้เกิดความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ ขณะที่ทางบริษัทดำเนินธุรกิจเพียงเพื่อหวังผลกำไรเท่านั้น โดยทางเฟสบุ๊ค ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด

Boston Dynamics
Boston Dynamics

นวัตกรรมหุ่นสมองกล

ภาพคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นหุ่นยนต์เต้นรำที่กลายเป็นกระแสนิยมทางอินเตอร์เน็ตเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่สูงขึ้นของเครื่องจักรกลในการทำกิจกรรมเลียนแบบมนุษย์ โดยหุ่นยนต์ที่ว่านั้นได้รับการพัฒนาและประดิษฐ์ขึ้นโดย บริษัท Boston Dynamics ของสหรัฐฯ

มาร์ค ไรเบอร์ ประธานบริษัทแห่งนี้ ยอมรับว่า ขณะที่ภาพที่ทุกคนได้รับชมนั้นดูสนุกและน่าชม สิ่งที่ตนรู้สึกว่า เป็นความสำเร็จที่แท้จริงก็คือ บทเรียนล้ำค่าต่างๆ ที่ทีมงานได้เรียนรู้จากการทดลองครั้งนี้

ทั้งนี้ Boston Dynamics ยังได้เปิดตัวหุ่นยนต์ใหม่ๆ ตามออกมาอีกหลายรุ่น เช่น รุ่นที่พัฒนาออกมาเพื่อช่วยงานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบอุณหภูมิของร่างกายของคนจรจัดในเมืองฮอนโนลูลู รัฐฮาวาย เพื่อค้นหาผู้ที่อาจติดเชื้อโคโรนาไวรัส รวมทั้งหุ่นยนต์ที่ชื่อ Stretch ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ขนย้ายลังบรรจุของในพื้นที่จัดเก็บที่มีขนาดกว้างใหญ่ โดยหุ่นดังกล่าวสามารถเคลื่อนย้ายลังที่มีน้ำหนักสูงสุด 23 กิโลกรัมได้ถึง 800 ลังภายในเวลา 1 ชั่วโมง

นอกจากบริษัทในสหรัฐฯแล้ว นักวิจัยในอิตาลีและฮ่องกงก็ประสบความสำเร็จกับการทดลองพัฒนาหุ่นสมองกลต่างๆ ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งทำงานช่วยเหลือผู้คนในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 เป็นต้น

Beeple
Beeple

กำเนิดใหม่ของ NFTs

หุ่นสมองกลที่ได้รับการออกแบบโดยบริษัท Hanson Robotics ที่ชื่อ โซเฟีย (Sophia) ช่วยสร้างงานศิลป์ชิ้นใหม่ออกมาที่เรียกกันว่าเป็น non-fungible tokens (NFTs) ซึ่งกลายมาเป็นงานศิลป์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ NFT ถูกจัดทำในรูปแบบของบล็อกเชนที่ใช้ในการรักษาความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้น ๆ เช่น งานศิลปะดิจิทัล หรือของสะสมต่าง ๆ โดยการมีเอกลักษณ์เฉพาะตนของสินทรัพย์ประเภทนี้ทำให้ช่วยพิสูจน์ได้ว่า งานศิลป์นั้นๆ เป็นของจริงแท้หรือไม่ได้ด้วย

และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บีเปิล (Beeple) ศิลปินชาวอเมริกันทำสถิติขายผลงาน NFT ของตนได้เป็นเงินถึงเกือบ 70 ล้านดอลลาร์ ผ่านการประมูลโดยสำนักประมูลคริสตี้ส์ (Christie’s) ซึ่งกลายมาเป็นการประมูลครั้งแรกของงานศิลป์ที่ไม่มีรูปแบบทางกายภาพให้จับต้องได้โดยบริษัทประมูลชั้นนำด้วย

XS
SM
MD
LG