ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“Notebook Boy” เด็กหนุ่มไต้หวันผู้เก็บความทรงจำไว้ในสมุดบันทึก


Chen Hong-zhi, 26, who suffers from short-term memory loss, tries to recall what he did last week at his home, in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.
Chen Hong-zhi, 26, who suffers from short-term memory loss, tries to recall what he did last week at his home, in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:19 0:00

สำหรับเฉิน หง จือ (Chen Hong-zhi) สมุดบันทึกคือชีวิตของเขา...

เมื่อ 9 ปีก่อนเฉิน หง จือ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบความทรงจำของเขา หรือที่เรียกว่า Hippocampus ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

เฉิน หนุ่มวัย 26 ปีผู้นี้สูญเสียความสามารถในการเก็บความทรงจำระยะสั้น แต่เขาพยายามจดสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไว้ในสมุดบันทึกด้วยปากกาหมึกสีน้ำเงิน

เฉินเล่าว่า เขาใช้สมุดบันทึกในการช่วยจดจำสิ่งต่างๆ เช่นในวันนี้เขาได้ช่วยเหลือใครบ้าง? ทำงานในไร่นามากน้อยแค่ไหน? วันนี้ฝนตกหรือไม่? รวมทั้งจดกิจวัตรที่เข้าทำในแต่ละวัน

และสมุดเล่มนี้ คือ สมองอีกส่วนหนึ่งของเขา อย่างกรณีเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม เฉินบันทึกไว้ว่าเขาตามหาโทรศัพท์มือถือที่หายไป และสิบวันต่อมาเมื่อเจอโทรศัพท์ เขาก็ไม่ลืมที่จะบันทึกไว้ว่าได้โทรศัพท์คืนมาแล้ว เพื่อช่วยเตือนความจำ

พูดง่ายๆ ก็คือสมุดบันทึก คือ ความทรงจำทั้งหมดที่เขามีอยู่นั่นเอง

FILE - A notebook of 26-year-old Chen Hong-zhi, who suffers from short-term memory loss, shows his daily notes at his home in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.
FILE - A notebook of 26-year-old Chen Hong-zhi, who suffers from short-term memory loss, shows his daily notes at his home in Hsinchu, Taiwan, July 31, 2018.

เฉินอาศัยอยู่กับนาง หวัง เมียว คยอง แม่เลี้ยงวัย 65 ปี ที่หมู่บ้านในเมืองซินจู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวัน

ตั้งแต่พ่อของเขาเสียชีวิตลงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เฉินและแม่เลี้ยงของเขาก็ดำรงชีวิตด้วยเงินช่วยเหลือคนพิการจากรัฐบาลไต้หวัน และรายได้เล็กๆ น้อยๆ จากการทำสวนผักและผลไม้ ซึ่งนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน บางคนถึงกับตั้งฉายาให้เฉินว่า “Notebook Boy”

Dr. Lin Ming-teng, head of the psychiatry department at Taipei Veterans General Hospital, shows X-ray images explaining the difference between a normal brain (L) and Chen Hong-zhi's brain during an appointment at the hospital, in Hsinchu, Taiwan, July 31,
Dr. Lin Ming-teng, head of the psychiatry department at Taipei Veterans General Hospital, shows X-ray images explaining the difference between a normal brain (L) and Chen Hong-zhi's brain during an appointment at the hospital, in Hsinchu, Taiwan, July 31,

คุณหมอ หลิน หมิง เต็ง หัวหน้าแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลทหารผ่านศึกไทเป กล่าวว่า แม้ว่าสมองของเฉินจะได้รับความเสียหายอย่างมาก แต่อาการของเขากลับดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

จากภาพถ่าย X-ray สมองของเขา ปรากฏพื้นที่ส่วนใหญ่ในสมองเป็นสีดำ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ได้รับการผ่าตัดหลังจากที่ประสบอุบัติเหตุ ทำให้เฉินสามารถจดจำเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงห้าถึงสิบนาทีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ความเสียหายดังกล่าวนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ และยังมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเขากับแม่ด้วย เพราะในบางครั้งแม่ของเขามักจะลืมไปว่าเฉินไม่สามารถจำอะไรได้เลย

นางหวัง แม่เลี้ยงของเฉินต้องการจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดในอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะห่วงว่าใครจะดูแลเฉินเมื่อเธอจากไป

สำหรับในตอนนี้ มีเพียงสมุดบันทึกเท่านั้นที่ช่วยให้เฉินสามารถเก็บรักษาลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเขาไว้ จะได้ไม่ทำความทรงจำตกหล่น หรือเลือนหายไปกับกาลเวลา

XS
SM
MD
LG