รัฐบาลไต้หวันได้ผ่อนปรนกฏหมายเเรงงานต่างด้าวเมื่อปีที่แล้วเพื่อนำเข้าเเรงงานต่างด้าวเข้าประเทศมากขึ้นเพราะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต การปรับกฏหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามดึงนักลงทุนไต้หวันให้ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากจีนกลับมาบ้านเกิด
ไต้หวันเคยเป็นหนึ่งในสี่ชาติที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียในอดีต แต่เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมพากันย้ายฐานการผลิตออกไปจากไต้หวันหลังจากจีนกลายเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ทำให้ไต้หวันต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวจากประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ในการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้กลับไปดีดังเดิม
เศรษฐกิจของไต้หวันมีอัตราเติบโตต่ำกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่งผลให้อันดับของไต้หวันอยู่ในอันดับท้ายๆเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆในภูมิภาค เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ไต้หวันเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ผลผลิตมวลรวมในประเทศหรือจีดีพีของไต้หวันพุ่งไปอยู่ที่ 465 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
แต่หลังจากจีนกลายเป็นผู้นำด้านฐานการผลิตราคาถูกในภูมิภาค นักลงทุนต่างพากันย้ายฐานการผลิตออกจากไต้หวันไปตั้งในจีนแทน นอกจากนี้ อัตราการเกิดในไต้หวันได้ลดลงมาอยู่ที่เด็กหนึ่งคนต่อหนึ่งมารดาหนึ่งราย กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลกและเรื่องนี้คุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ดี การเพิ่มจำนวนขึ้นของเเรงงานต่างด้าวในไต้หวันกำลังเป็นตัวผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นั่น
คุณปีเตอร์ โอเนล บาทหลวงในโบสถ์คาธอลิกที่ให้คำปรึกษาแก่แรงงานต่างด้าวกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเเรงงานต่างด้าวจากชาติเอเชียตะวันออเฉียงใต้กลายเป็นเเรงงานสำคัญที่ทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงต่อวันและได้รับค่าเเรงต่ำกว่าคนใต้หวัน
บาทหลวงโอเนลกล่าวว่าแรงงานต่างด้าวจะทำงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่ออันตรายสูง สภาพในที่ทำงานร้อนจัดและไม่สบายตัว ไปทดแทนเเรงงานใต้หวันเองไม่นิยมการทำงานในสายการผลิตอีกต่อไป
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนสี่เเสนห้าหมื่นคนทำงานในไต้หวันเพิ่มขึ้นจากสิบห้าปีที่เเล้วราวกึ่งหนึ่ง มากกว่าครึ่งหนึ่งของเเรงงานต่างด้าวเหล่านี้มาจากอินโดนีเซีย ที่เหลือมาจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจ้างระยะสั้นและได้รับเงินตอบแทนตามอัตราค่าจ้างเเรงงานขั้นต่ำของไต้หวัน
รัฐบาลไต้หวันได้ผ่อนปรนกฏหมายเเรงงานต่างด้าวเมื่อปีที่แล้วเพื่อนำเข้าเเรงงานต่างด้าวเข้าประเทศมากขึ้น การปรับกฏหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามดึงนักลงทุนไต้หวันให้ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากจีนกลับมาบ้านเกิด
แม้จะไม่มีการประเมินตัวเลขอย่างเป็นทางการว่าเเรงงานต่างด้าวส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไต้
หวันมากน้อยแค่ไหน คุณ Liu Shao-yin เจ้าหน้าที่แห่ง Catholic Migrant Center หน่วยงานพัฒนาเอกชนที่ดูแลแรงงานต่างด้าวกล่าวว่าเเรงงานจากต่างประเทศช่วยให้นักลงทุนไต้หวันสามารถเปิดโรงงานในไต้หวันต่อไปได้
ไต้หวันเคยเป็นหนึ่งในสี่ชาติที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียในอดีต แต่เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมพากันย้ายฐานการผลิตออกไปจากไต้หวันหลังจากจีนกลายเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ทำให้ไต้หวันต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวจากประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ในการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้กลับไปดีดังเดิม
เศรษฐกิจของไต้หวันมีอัตราเติบโตต่ำกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ส่งผลให้อันดับของไต้หวันอยู่ในอันดับท้ายๆเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆในภูมิภาค เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ไต้หวันเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ผลผลิตมวลรวมในประเทศหรือจีดีพีของไต้หวันพุ่งไปอยู่ที่ 465 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
แต่หลังจากจีนกลายเป็นผู้นำด้านฐานการผลิตราคาถูกในภูมิภาค นักลงทุนต่างพากันย้ายฐานการผลิตออกจากไต้หวันไปตั้งในจีนแทน นอกจากนี้ อัตราการเกิดในไต้หวันได้ลดลงมาอยู่ที่เด็กหนึ่งคนต่อหนึ่งมารดาหนึ่งราย กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลกและเรื่องนี้คุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ดี การเพิ่มจำนวนขึ้นของเเรงงานต่างด้าวในไต้หวันกำลังเป็นตัวผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นั่น
คุณปีเตอร์ โอเนล บาทหลวงในโบสถ์คาธอลิกที่ให้คำปรึกษาแก่แรงงานต่างด้าวกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเเรงงานต่างด้าวจากชาติเอเชียตะวันออเฉียงใต้กลายเป็นเเรงงานสำคัญที่ทำงานหนักถึง 18 ชั่วโมงต่อวันและได้รับค่าเเรงต่ำกว่าคนใต้หวัน
บาทหลวงโอเนลกล่าวว่าแรงงานต่างด้าวจะทำงานในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่ออันตรายสูง สภาพในที่ทำงานร้อนจัดและไม่สบายตัว ไปทดแทนเเรงงานใต้หวันเองไม่นิยมการทำงานในสายการผลิตอีกต่อไป
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนสี่เเสนห้าหมื่นคนทำงานในไต้หวันเพิ่มขึ้นจากสิบห้าปีที่เเล้วราวกึ่งหนึ่ง มากกว่าครึ่งหนึ่งของเเรงงานต่างด้าวเหล่านี้มาจากอินโดนีเซีย ที่เหลือมาจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจ้างระยะสั้นและได้รับเงินตอบแทนตามอัตราค่าจ้างเเรงงานขั้นต่ำของไต้หวัน
รัฐบาลไต้หวันได้ผ่อนปรนกฏหมายเเรงงานต่างด้าวเมื่อปีที่แล้วเพื่อนำเข้าเเรงงานต่างด้าวเข้าประเทศมากขึ้น การปรับกฏหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามดึงนักลงทุนไต้หวันให้ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากจีนกลับมาบ้านเกิด
แม้จะไม่มีการประเมินตัวเลขอย่างเป็นทางการว่าเเรงงานต่างด้าวส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไต้
หวันมากน้อยแค่ไหน คุณ Liu Shao-yin เจ้าหน้าที่แห่ง Catholic Migrant Center หน่วยงานพัฒนาเอกชนที่ดูแลแรงงานต่างด้าวกล่าวว่าเเรงงานจากต่างประเทศช่วยให้นักลงทุนไต้หวันสามารถเปิดโรงงานในไต้หวันต่อไปได้