ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผลการศึกษาความคาดหมายการคงชีพ หรือ Life expectancy ระบุว่าคนอเมริกันมีช่วงอายุของชีวิตสั้นกว่าประชาชนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ


ผลการศึกษาความคาดหมายการคงชีพ หรือ Life expectancy ระบุว่าคนอเมริกันมีช่วงอายุของชีวิตสั้นกว่าประชาชนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ
ผลการศึกษาความคาดหมายการคงชีพ หรือ Life expectancy ระบุว่าคนอเมริกันมีช่วงอายุของชีวิตสั้นกว่าประชาชนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ

ผลการศึกษา Life Expectancy ทั่วโลกและในสหรัฐ พบว่า ช่วงอายุของชีวิตคนอเมริกันทั้งชายและหญิง สั้นกว่าของผู้คนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ แม้ในสหรัฐเองก็ยังมีความแตกต่างกันอย่างมาก นักวิชาการอธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะอเมริกาไม่สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้ช่วงอายุของชีวิตสั้นลงได้ เช่น ความอ้วนเกินขนาด และความดันโลหิตสูง และว่าการสาธารณสุขในชุมชน ซึ่งช่วยให้มีการออกกำลังกายและการปรับปรุงโภชนาการ เป็นการลงทุนระยะยาว แต่จะช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงได้

ผลการศึกษา Life Expectancy ทั่วโลกและในสหรัฐ พบว่า ช่วงอายุของชีวิตคนอเมริกันสั้นกว่าของผู้คนในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ แม้ในสหรัฐเองก็ยังมีความแตกต่างกันอย่างมากด้วย

ช่วงอายุชีวิตสำหรับผู้ชายอเมริกันในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีรายงานในเรื่องนี้ อยู่ราวๆ 75 ปีครึ่ง นับเป็นอันดับที่ 37 ตามหลังประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แคนาดา และหลายประเทศในยุโรป

ช่วงอายุชีวิตของผู้หญิงอเมริกันยาวนานกว่า เกือบ 81 ปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลกแล้ว ติดอยู่ที่อันดับ 37 เหมือนกัน

ศาสตราจารย์ Ali Mokdad แห่ง Institute for Health Metrics and Evaluation ของมหาวิทยาลัย Washington ในรัฐวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องนี้ ให้ความเห็นว่า การเพิ่มช่วงอายุของชีวิตของอเมริกา ล้าหลังประเทศอื่นๆ

นักวิชาการผู้นี้บอกว่า ส่วนอื่นๆเกือบจะทุกแห่งในโลกดีขึ้น และในประเทศพัฒนาแล้ว อัตราการเพิ่มยิ่งเร็วมากกว่าที่เห็นในสหรัฐ

อาจารย์ Mokdad อธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะอเมริกาไม่สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้ช่วงอายุของชีวิตสั้นลงได้ เช่น ความอ้วนเกินขนาด และความดันโลหิตสูง

รายงานฉบับนี้กล่าวว่า แม้ในสหรัฐเองก็มีความแตกต่างกันอย่างมากด้วย ถ้าดูแผนที่ประกอบรายงาน จะเห็นว่าในจำนวนเขตปกครองในสหรัฐ ซึ่งมีมากกว่า 3,000 เขตนั้น เขตที่ประชากรมักจะมีช่วงอายุของชีวิตสั้นกว่าเขตอื่นๆ อยู่ในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นเขตที่ประชาชนด้อยกว่าทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยความเสี่ยงทางสุขภาพสูง และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์มีอยู่อย่างจำกัด

อาจารย์ Mokdad บอกว่า ผู้คนในเขตเหล่านั้น มีการศึกษาน้อยกว่า รายได้น้อยกว่าในเขตที่เป็นชนบทบางแห่ง มีความเป็นไปได้มากว่ามีการสูบบุหรี่ และเป็นโรคอ้วน ผู้คนในเขตเหล่านี้มักจะไม่มีการประกันสุขภาพหรือเข้าไม่ถึงการบริการสุขภาพที่เพียงพอ และคุณภาพของการรักษาพยาบาลก็ไม่ดีพอ

ในสหรัฐ การบริการทางสาธารณสุขเป็นความรับผิดชอบของการปกครองท้องถิ่น แต่ละเขตปกครองบริหารงานทางด้านนี้แตกต่างกันไป บางเขตห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงาน บางเขตทำทางสำหรับจักรยาน และบางเขตจัดให้มีตลาดนัดสำหรับชาวไร่ชาวนานำผลิตผลไปขาย

อาจารย์ Ali Mokdad บอกว่า โครงการเหล่านั้นได้ผลในระยะยาว และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นการลงทุนระยะยาว เหมือนกับสร้างโรงเรียน ซึ่งต้องรอถึง 20 ปีกว่าจะเห็นผล เช่นเดียวกับการสาธารณสุขในชุมชน ที่ช่วยให้มีการออกกำลังกายและปรับปรุงโภชนาการ

รายงานการศึกษาฉบับนี้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Population Health Metrics

XS
SM
MD
LG