ลิ้งค์เชื่อมต่อ

งานวิจัยชี้ วัคซีนอาจช่วยลดความเสี่ยง ‘อาการโควิดระยะยาว’ 


FILE - Pharmacist Sima Manifar prepares a children's dose of the Pfizer COVID-19 vaccine during a vaccination clinic at City of Lawrence's "The Center," which serves seniors, families and the community, Wednesday, Dec. 29, 2021, in Lawrence, Massachusetts.
FILE - Pharmacist Sima Manifar prepares a children's dose of the Pfizer COVID-19 vaccine during a vaccination clinic at City of Lawrence's "The Center," which serves seniors, families and the community, Wednesday, Dec. 29, 2021, in Lawrence, Massachusetts.

ผลการวิจัยในอังกฤษและอิสราเอลชี้ว่า วัคซีนโควิด-19 สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการโควิดในระยะยาว หรือ Long COVID ได้

ผลการศึกษาเบื้องต้นในอิสราเอลซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจสอบของนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดสองโดสจากบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และมีผลตรวจเชื้อโคโรนาไวรัสเป็นบวก มีโอกาสเกิดอาการโควิดระยะยาวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

ขณะเดียวกัน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษซึ่งใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่ 6,000 คน พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดสองโดสมีโอกาสเกิดอาการของโควิดระยะยาว คือสามเดือนหลังจากติดเชื้อ ลดลง 41%

รายงานชิ้นนี้ชี้ว่า มีเพียง 9.5% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วที่มีอาการโควิดระยะยาว เทียบกับตัวเลขเกือบ 15% ของผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยอีกสองชิ้นในสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยถึงปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสบางคนมีแนวโน้มเกิดอาการของ “โควิดในระยะยาว” มากกว่าคนอื่น ๆ

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน และศูนย์การแพทย์สวีเดนในนครซีแอตเติล ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างมากกว่า 200 คนซึ่งติดเชื้อโคโรนาไวรัสระหว่างปี ค.ศ. 2020 - 2021 และพบปัจจัย 4 อย่างที่อาจส่งผลต่อการเกิดอาการโควิดในระยะยาว ได้แก่ ปริมาณโคโรนาไวรัสในร่างกายของผู้ติดเชื้อ การมีอยู่ของสารภูมิต้านทานบางชนิด การกระตุ้นไวรัสบางอย่างในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการของโรคติดเชื้อ และการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริค ในสวิตเซอร์แลนด์ ค้นพบว่าผู้ที่มีอาการโควิดในระยะยาวมักมีสารภูมิต้านทานบางอย่างในระดับต่ำ

XS
SM
MD
LG