ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นกกระสายุโรปจำนวนมากขึ้นเลิกอพยพ ปักหลักหากินตามกองขยะแทน


A stork sits on a stop sign near Immerath, western Germany, on October 15, 2013.
A stork sits on a stop sign near Immerath, western Germany, on October 15, 2013.

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเจริญเติบโตของเขตนาคร กำลังส่งผลกระทบต่อนกกระสาทางภาคใต้ของยุโรป

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:46 0:00
Direct link

ตามแหล่งฝังกลบขยะขนาดใหญ่ในสเปนและโปรตุเกส มักจะเห็นนกกระสาได้ทั่วไป พวกมันมักมาเฝ้ารอเศษเนื้อเศษปลา หรืออาหารเหลือทิ้งประเภท Junk Food เช่น พิซซ่า และแฮมเบอเกอร์ ซึ่งติดมากับรถบรรทุกขยะเป็นประจำทุกวัน

กลิ่นเหม็นที่ตลบอบอวลไปทั่วบริเวณมิได้สร้างความรำคาญให้นกกระสาเหล่านี้ พวกมันพากันสร้างรังอยู่ไม่ไกลจากกองขยะ และเลี้ยงลูกนกด้วยเศษอาหารที่ได้มาจากกองขยะนั้น

ปกติแล้วนกกระสาจำพวกนี้หรือที่เรียกว่า Stork มักจะย้ายถิ่นฐานไปยังแอฟริกาในช่วงฤดูหนาว แต่หลังจากที่ปักหลักอยู่ตามกองขยะ พบว่านกกระสาจำนวนมากไม่บินตามพวกพ้องกลับไปแอฟริกาในฤดูหนาวอีกต่อไป

คุณ Aldina Franco นักอนุรักษ์ธรรมชาติแห่ง University of East Anglia ในอังกฤษ ผู้ติดตามพฤติกรรมการย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาลของนกกระสามาหลายสิบปี ชี้ว่ารูปแบบการอพยพย้ายถิ่นของนกกระสาเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว กล่าวคือนกบางตัวจะปักหลักอยู่ในยุโรปตลอดทั้งปี จากนั้นจำนวนนกที่ไม่บินกลับแอฟริกาก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันคาดว่า เฉพาะในโปรตุเกส มีนกกระสาที่ไม่บินไปแอฟริกาในช่วงฤดูหนาวมากกว่า 14,000 ตัว

แต่ไม่ใช่นกกระสาทุกตัวที่ทำรังอาศัยอยู่ตามกองขยะหรือหลุมฝังกลบขยะอย่างถาวร นกบางตัวที่ปักหลักอยู่ในยุโรปทั้งปีอาจอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ เนื่องเพราะสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทางใต้ของยุโรปมีความอบอุ่นมากขึ้น และนั่นหมายถึงสัตว์ที่เป็นอาหารของนกกระสาก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย Act 2

นักอนุรักษ์ Aldina Franco ระบุว่าเมื่ออากาศอบอุ่นขึ้น แมลงจำพวกตั๊กแตน สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก และปลาบางชนิดก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ปริมาณขยะอาหารที่ถูกทิ้งตามแหล่งกลบฝังต่างๆ ก็มีจำนวนมากขึ้น ถือเป็นแหล่งอาหารที่เกินพอสำหรับนกกระสาที่ไม่ต้องการย้ายถิ่นลงใต้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม เวลานี้รัฐบาลโปรตุเกสกำลังผุดโครงการสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยทับแหล่งกลบฝังต่างๆ ในอีกไม่กี่ปี ซึ่งคุณ Franco ต้องการศึกษาต่อไปว่าหลังจากนั้นนกกระสากินอาหารขยะเหล่านี้จะปรับตัวอย่างไร

รายงานชิ้นนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Movement Ecology ฉบับล่าสุด

(ผู้สื่อข่าว Rosanne Skirble รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)

XS
SM
MD
LG