ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ลุ้น! อากาศจ่อไม่เป็นใจ เสี่ยงเลื่อนปล่อยยานสเปซเอ็กซ์เสาร์นี้


Ominous weather is seen above launch pad 39A at Cape Canaveral as the countdown clock continues on launch day at the Kennedy Space Center in Florida on May 27, 2020. - SpaceX's historic first crewed launch was set to proceed as scheduled Wednesday, NASA
Ominous weather is seen above launch pad 39A at Cape Canaveral as the countdown clock continues on launch day at the Kennedy Space Center in Florida on May 27, 2020. - SpaceX's historic first crewed launch was set to proceed as scheduled Wednesday, NASA

ภารกิจส่ง 2 นักบินนาซาขึ้นสู่อวกาศในดินแดนสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ โดยยาน SpaceX Crew Dragon เสี่ยงเจอโรคเลื่อนอีกครั้ง เพราะอากาศไม่เป็นใจ หลังจากต้องเลื่อนกระทันหันเพราะสภาพอากาศเลวร้ายเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ตามรายงานของ USAToday

หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ถึง 50% ที่สภาพอากาศในวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคมนี้จะไม่เอื้อต่อการปล่อยยาน และอาจเป็นผลให้ภารกิจส่ง 2 นักบินจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา โดยยาน SpaceX Crew Dragon อาจต้องเลื่อนออกไปอีกได้

ภารกิจส่งนักบินสู่อวกาศบนดินแดนสหรัฐฯครั้งแรกในรอบ 9 ปีขององค์การนาซา มีกำหนดการในช่วงบ่ายวันพุธที่ผ่านมา แต่ต้องยกเลิกกะทันหันเพราะสภาพอากาศเลวร้าย และกำหนดวันปล่อยยานใหม่เป็นวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม เวลา 15.22 น. ตามเวลาสหรัฐฯ ซึ่งตรงกับช่วง 2.22 น. ของวันอาทิตย์ตามเวลาประเทศไทย และหากไม่สามารถปล่อยยานได้ในวันเสาร์ นาซาได้กำหนดให้เลื่อนออกไปอีกได้ในวันอาทิตย์ เวลา 15.00 น. ตามเวลาสหรัฐฯ และนาซายังมองหากรอบวันเวลาที่เป็นไปได้อีก ตั้งแต่ 2 หรือ 3 มิถุนายน หรือจะเป็น 7 หรือ 8 มิถุนายนเป็นทางเลือกไว้อีกด้วย

ปกติแล้ว ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมในรัฐฟลอริดา ที่ตั้งของศูนย์อวกาศ Kennedy Space Center จะมีอากาศร้อนชื้นและมีโอกาสเกิดฝนฟ้าคะนอง โดยสำนักอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า มีโอกาสถึง 80% ที่จะเกิดฝนฟ้าคะนองในช่วงบ่ายวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น

และในวันศุกร์ มีรายงานว่าการทดสอบยานต้นแบบ Starship ของ SpaceX เกิดความผิดพลาดและระเบิดกลางสถานที่ทดสอบในรัฐเท็กซัส แต่ยานชนิดนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับยาน Falcon 9 หรือ Crew Dragon ที่จะนำ 2 นักบินนาซาขึ้นสู่ห้วงอวกาศแต่อย่างใด

XS
SM
MD
LG