ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ประเทศเอเชียใต้หันพึ่งวัคซีนโควิด-19 จากจีน หลังอินเดียหยุดส่งออก


Nepal appeals for COVID-19 vaccines
Nepal appeals for COVID-19 vaccines
South Asia China Vaccines
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:03 0:00


กลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น บังกลาเทศ และศรีลังกา กำลังหันไปพึ่งวัคซีนต้านโควิด-19 จากประเทศจีน หลังจากที่ประเทศอินเดียที่กำลังขาดแคลนวัคซีนอย่างหนักได้ทำการยุติการส่งออกวัคซีน ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า การให้ความช่วยเหลือทางวัคซีนจากจีนจะช่วยให้รัฐบาลกรุงปักกิ่งเสริมสร้างอิทธิพลได้มากยิ่งขึ้นในพื้นที่ยุทธศาสตร์บนคาบสมุทรอินเดีย

ประเทศจีนได้จัดส่งวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทซิโนฟาร์มให้กับประเทศศรีลังกาแล้ว 1.1 ล้านโดส บริจาควัคซีนจำนวนครึ่งล้านให้บังคลาเทศเป็นล็อตแรกในเดือนนี้ และยังรับปากว่าจะจัดส่งวัคซีนอีกหนึ่งล้านโดสให้กับเนปาลอีกด้วย

วัคซีนจากจีนกำลังช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น บังกลาเทศ และศรีลังกา กลับมาฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้อีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดไปเพราะขาดแคลนวัคซีนที่เคยนำเข้ามาจากอินเดีย วัคซีนจากจีนมาถึงในช่วงเวลาสำคัญ เพราะประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญกับยอดผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าการระบาดระลอกที่สองที่อินเดียกำลังเผชิญอยู่นั้น กำลังจะลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ไมเคิล คูเกิลแมน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการเอเชียแห่ง Wilson Center กล่าวว่า การที่อินเดียยุติการส่งออกวัคซีนเป็นการเปิดโอกาสทางยุทธศาสตร์ให้กับรัฐบาลกรุงปักกิ่ง เพราะจีนมองว่า "การทูตผ่านวัคซีน" เป็นยุทธศาสตร์ที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจีน เพราะจีนกำลังถูกมองว่ามีนโยบายแผ่ขยายอำนาจ และยังเป็นช่วงเวลาที่ยังมีคำถามว่าโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ถือกำเนิดได้อย่างไรและมาจากที่ใด

A worker opens a package of coronavirus vaccine made by a Sinopharm subsidiary during a COVID-19 vaccination session for resident foreign journalists at a vaccination center in Beijing, Tuesday, March 23, 2021.
A worker opens a package of coronavirus vaccine made by a Sinopharm subsidiary during a COVID-19 vaccination session for resident foreign journalists at a vaccination center in Beijing, Tuesday, March 23, 2021.

ประชาชนในศรีลังกาและบังกลาเทศนั้นมีความไม่มั่นใจในวัคซีนที่พัฒนาในประเทศจีน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ที่ได้รับวัคซีนจากจีนเช่นกัน แต่การที่วัคซีนซิโนฟาร์มได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดการยอมรับวัคซีนของจีนมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ประเทศในเอเชียใต้พึ่งพาวัคซีนจากอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกวัคซีนแอสตราเซเนกาให้กับหลาย ๆ ประเทศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมทั้ง ศรีลังกา บังกลาเทศ และเนปาล ประเทศเหล่านี้ยังได้สั่งซื้อวัคซีนจากสถาบัน Serum Institute ของอินเดีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่สถาบันดังกล่าวกลับไม่สามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศผู้ซื้อได้ทัน เนื่องจากการระบาดโควิด-19 ที่เลวร้ายอินเดีย

นายหวัง ยี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้จัดประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับประเทศเอเชียใต้เมื่อเดือนที่ผ่านมา และเสนอให้จัดตั้งแหล่งวัคซีนสำรองสำหรับในกรณีฉุกเฉินให้กับภูมิภาคดังกล่าว

นักวิเคราะห์มองว่าการทูตผ่านวัคซีนของจีนที่เข้าไปเติมช่องว่างที่อินเดียทิ้งเอาไว้ อาจจะทำให้จีนมีอำนาจต่อรองมากขึ้นในคาบสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จีนได้ผลักดันโครงการ Belt and Road หรือเส้นทางสายไหม ที่เน้นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศ

ในศรีลังกา รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ก่อสร้าง ท่าเรือ ถนน และรางรถไฟ ไปบ้างแล้ว ในเวลานี้ จีนยังได้กำลังก่อสร้างเมืองท่าแห่งใหม่บนชายฝั่งกรุงโคลอมโบอีกด้วย

A health worker prepares to inoculate a man with a dose of the Sinopharm Covid-19 coronavirus at a vaccination centre in Karachi on May 26, 2021.
A health worker prepares to inoculate a man with a dose of the Sinopharm Covid-19 coronavirus at a vaccination centre in Karachi on May 26, 2021.

อซางกา อาเบยากูนนะเซเกรา นักวิเคราะห์การเมืองในกรุงโคลอมโบ มองว่าการรับวัคซีนจากจีนจะยิ่งทำให้บทบาทและอิทธิพลของจีน ซึ่งมีอยู่แล้วเพิ่มขึ้นมาอีกชั้นและอีกมิติหนึ่ง ​ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมจากจีนในช่วงวิกฤติโควิด-19 นั้นเป็นสิ่งที่หลายประเทศต้องการ แต่ยังต้องดูกันว่าความช่วยเหลือเหล่านั้น จะทำให้จีนรุกคืบเข้ามาในประเทศได้มากน้อยเพียงใด

นายฮาร์ช พันท์ ผู้อำนวยการวิจัยศึกษาแห่งมูลนิธิ Observer Research Foundation ในกรุงนิวเดลี กล่าวว่า ท่าทีของจีนทำให้เกิดความรู้สึกว่าจีนกำลังเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะหากอินเดียไม่สามารถกลับมาสวมบทบาทผู้ส่งออกวัคซีนให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เหมือนเดิมในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่า “การทูตผ่านวัคซีน” อาจจะไม่ได้เป็นเพียงการเสริมสร้างอิทธิพลของจีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทูตจีนประจำบังกลาเทศได้กล่าวในกรุงธากา ว่า การเข้าร่วมควอด (Quad) หรือกลุ่มจตุภาคีด้านความมั่นคง นั้น จะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ที่มีกับจีน “ควอด” เป็นกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรระหว่าง สหรัฐฯ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งรัฐบาลปักกิ่งมองว่าเป็นกลุ่มที่ตั้งมาเพื่อต่อต้านจีน

ด้านบังกลาเทศได้ออกมาเรียกร้องความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก หลังจากที่ไม่มีวัคซีนแอสตราเซเนกาเพียงพอที่จะฉีดให้ประชาชน ทำให้มีชาวบังกลาเทศมากกว่าหนึ่งล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโดสที่สอง

นาย เอ เค อับดุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบังกลาเทศ กล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าการขาดแคลนวัคซีนถือว่าเป็นวิกฤติหนึ่งของประเทศ และบังกลาเทศกำลังต้องการวัคซีนอย่างมากจากประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อังกฤษ และแคนาดา

A worker carries a package of Oxford-Astrazeneca COVID-19 vaccines that arrived from India as a gift to Bangladesh, in Dhaka, Bangladesh January 21, 2021.
A worker carries a package of Oxford-Astrazeneca COVID-19 vaccines that arrived from India as a gift to Bangladesh, in Dhaka, Bangladesh January 21, 2021.

นักวิเคราะห์มองว่า เป็นเรื่องจำเป็นที่สหรัฐฯ ซึ่งสัญญาว่าจะบริจาควัคซีน 80 ล้านโดส ยื่นมือให้ความช่วยเหลือประเทศที่ต้องการวัคซีนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์

นายพันท์​ แห่งมูลนิธิ Observer Research Foundation ในกรุงนิวเดลี กล่าวว่า การที่จีนช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ในยามทุกข์ยาก จะสร้างความทรงจำไปอีกยาวนานว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลก ดังนั้น อเมริกาจึงควรจะที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือเช่นกัน เพราะการกระทำของประเทศมหาอำนาจเหล่านี้จะเป็นที่จดจำของประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิค และเอเชียใต้

ที่ผ่านมา อินเดียได้ส่งออกวัคซีนไปแล้ว 65 ล้านโดส ก่อนที่จะแตะเบรกระงับการส่งออก รัฐบาลกรุงนิวเดลียังหวังว่าจะเร่งเสริมกำลังการผลิต เพื่อให้สามารถส่งออกวัคซีนไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ แต่นั่นอาจจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะปลายปีนี้

นาย คูเกิลแมน แห่ง Wilson Center กล่าวว่า อินเดียยังมีโอกาสที่จะกลับมามีบทบาทและอิทธิพลอีกครั้งในอนาคต ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่มีเหนือจีน

ที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นประเทศส่งออกวัคซีนมากที่สุดในโลก หลายประเทศทั้งในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกา ต่างก็ใช้วัคซีนต้านโควิด-19 จากจีนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรของตน

XS
SM
MD
LG