ตั้งแต่ช่วงต้นปีเป็นต้นมา อากาศหนาวเย็นจากขั้วโลกได้แผ่ปกคลุมซีกโลกทางเหนือ ทำให้อุณหภูมิลดลงต่ำสุดในรอบหลายสิบปี สร้างความยากลำบากให้กับประชาชนในหลายประเทศ และมีผู้คนล้มป่วยหรือเสียชีวิตจากความหนาวเย็นเป็นจำนวนมาก แต่รายงานชิ้นใหม่ของ National Institutes of Health (NIH) ในสหรัฐ บอกว่าอากาศหนาวเย็นนั้นก็อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพคนเราได้เช่นกัน
รายงานของ NIH ชิ้นนี้ระบุว่า เมื่อเรามีอาการตัวสั่นเพราะความหนาว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไอราซิน (Irisin) ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการปล่อยไขมันสีน้ำตาลหรือไขมันชนิดดีที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่และทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ในทำนองเดียวกับการเผาผลาญพลังงานเวลาออกกำลังกาย
คุณ Francesco Celi ผู้นำคณะนักวิจัยชุดนี้ อธิบายว่าได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ออกกำลังกาย อีกกลุ่มหนึ่งให้อยู่ใต้ผ้าห่มเย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส แล้ววัดผลที่เกิดขึ้นกับร่างกาย พบว่าทั้งสองกลุ่มมีอาการลั่นเหมือนกันราว 5-10 นาที และทั้งสองกลุ่มยังผลิตฮอร์โมนไอราซินออกมาในปริมาณพอๆ กัน
นักวิจัยสรุปว่าอาการตัวสั่นเพราะความหนาวเย็นราว 5-10 นาทีนั้นจะช่วยให้เกิดการเผาผลาญพลังงานได้พอๆ กับการออกกำลังกายราว 1 ชม. ซึ่งการค้นพบนี้อาจช่วยในการพัฒนายารักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามผลที่ได้นั้นเป็นผลในระยะสั้น จึงต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบในระยะยาวต่อไป
รายงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metabolism
รายงานจาก Rosanne Skirble / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon
รายงานของ NIH ชิ้นนี้ระบุว่า เมื่อเรามีอาการตัวสั่นเพราะความหนาว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนไอราซิน (Irisin) ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการปล่อยไขมันสีน้ำตาลหรือไขมันชนิดดีที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่และทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ในทำนองเดียวกับการเผาผลาญพลังงานเวลาออกกำลังกาย
คุณ Francesco Celi ผู้นำคณะนักวิจัยชุดนี้ อธิบายว่าได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ออกกำลังกาย อีกกลุ่มหนึ่งให้อยู่ใต้ผ้าห่มเย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส แล้ววัดผลที่เกิดขึ้นกับร่างกาย พบว่าทั้งสองกลุ่มมีอาการลั่นเหมือนกันราว 5-10 นาที และทั้งสองกลุ่มยังผลิตฮอร์โมนไอราซินออกมาในปริมาณพอๆ กัน
นักวิจัยสรุปว่าอาการตัวสั่นเพราะความหนาวเย็นราว 5-10 นาทีนั้นจะช่วยให้เกิดการเผาผลาญพลังงานได้พอๆ กับการออกกำลังกายราว 1 ชม. ซึ่งการค้นพบนี้อาจช่วยในการพัฒนายารักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามผลที่ได้นั้นเป็นผลในระยะสั้น จึงต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบในระยะยาวต่อไป
รายงานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Cell Metabolism
รายงานจาก Rosanne Skirble / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon