ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การแบ่งปันเรื่องราวความเหงาอาจช่วยให้คนเรารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง


FILE - Judie Shape, center, blows a kiss to her son-in-law as her daughter looks on, as they visit on the phone and look at each other through a window at the Life Care Center in Kirkland, Wash., March 11, 2020.
FILE - Judie Shape, center, blows a kiss to her son-in-law as her daughter looks on, as they visit on the phone and look at each other through a window at the Life Care Center in Kirkland, Wash., March 11, 2020.

ในภาษาอังกฤษนั้น มีสำนวนที่ว่า ‘จงหัวเราะ แล้วโลกจะหัวเราะไปกับคุณ แต่ถ้าหากจะร้องไห้ จงร้องไห้คนเดียว’ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คนเรามักจะร่วมสุข แต่ไม่อยากร่วมทุกข์ไปกับคนอื่น

นาตาลี อีฟ แกร์เร็ตต์ (Natalie Eve Garrett) เชื่อว่า การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงานั้นอาจช่วยให้คนเรารู้สึกดีขึ้นได้ จึงเริ่มคิดรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาทั้งหลายมาไว้ด้วยกัน

Natalie Eve Garrett is the editor of "The Lonely Stories," a collection of stories about loneliness. (Photo by Tim Coburn)
Natalie Eve Garrett is the editor of "The Lonely Stories," a collection of stories about loneliness. (Photo by Tim Coburn)

ทั้งนี้ แกร์เร็ตต์ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาเอาไว้ในหนังสือของเธอที่มีชื่อว่า The Lonely Stories: 22 Celebrated Writers on the Joys & Struggles of Being Alone ซึ่งเธอหวังว่า เรื่องราวดังกล่าวจะช่วยบรรเทาทุกข์หรือมอบความสุขให้แก่ผู้คนที่กำลังทนทุกข์อยู่กับความโดดเดี่ยวอ้างว้างได้

แกร์เร็ตต์คิดว่า คนเราทุกคนล้วนมีความรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง ดังนั้นการที่ได้อ่านเกี่ยวกับประสบการณ์ความเหงาที่หลากหลาย อาจจะเป็นวิธีการใช้ความเหงาและความอ้างว้างในการเชื่อมโยงถึงกันและกัน

เมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ความโดดเดี่ยวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนเกือบจะทุกคน จากการที่ต้องแยกออกตัวจากเพื่อนฝูง สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเพื่อนบ้านของตน

ในขณะเดียวกัน หลาย ๆ คนต้องถูกบังคับให้อยู่กับคนในครอบครัวตลอดเวลา ซึ่งสำหรับบางคนแล้ว เรื่องนี้ก็นำไปสู่ความเหงาในรูปแบบที่แตกต่าง ซึ่งหนังสือเรื่อง The Lonely Stories นี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับการขาดความสันโดษ หรือช่วงเวลาที่ได้อยู่กับตัวเองด้วย

"The Lonely Stories," edited by Natalie Eve Garrett and published by Catapult, is a collection of stories from 22 award-winning writers.
"The Lonely Stories," edited by Natalie Eve Garrett and published by Catapult, is a collection of stories from 22 award-winning writers.

แกร์เร็ตต์ได้พูดถึงความแตกต่างระหว่างความเหงาและความสันโดษว่า ความเหงาเป็นความรู้สึกที่ขาด แต่ความสันโดษเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง

นักเขียนและจิตรกรผู้นี้พบว่า การกักตัวกับลูกสองคนในช่วงของการระบาดใหญ่นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้ว่า เธอจะสามารถใช้เวลากับครอบครัวได้มากขึ้น แต่นั่นก็หมายความว่า เธอไม่มีเวลาที่จะเขียนภาพเลย และเธอก็พบว่า ตัวเองโหยหาเวลาที่จะได้อยู่คนเดียวจริง ๆ

แม้ว่าเรื่องหนังสือเรื่อง The Lonely Stories นั้นจะถูกเขียนขึ้นมาในช่วงของการระบาดใหญ่ แต่ก็มีนักเขียนเพียงไม่กี่คนที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยตรง เช่น เรียงความเรื่อง “One Witness and Respair” โดย เจสมีน วาร์ด (Jesmyn Ward) ที่เขียนเกี่ยวกับสามีของเธอซึ่งเสียชีวิตไปในช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาดใหญ่ และบทความเรื่อง “Exodus 2020” ซึ่ง เอมิลี่ ราบูโต (Emily Raboteau) ได้อธิบายถึงตึกอพาร์ทเมนท์ที่เธออาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ค ที่เพื่อนบ้านและเพื่อน ๆ ของเธอย้ายออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยกว่าในช่วงของการระบาดใหญ่ทีละคน ทีละคน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวความเหงาเกี่ยวกับการเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น “Trading Stories” ของจุมปา ลาฮิรี (Jhumpa Lahiri) ซึ่งเขียนถึงเรื่องเกี่ยวกับการต่อสู้ของพ่อแม่ของเธอในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง และผลกระทบต่อชีวิตและการทำงานของเธอ

President Barack Obama awards the 2014 National Humanities Medal to author Jhumpa Lahiri of New York, during a ceremony in the East Room at the White House in Washington, Sept. 10, 2015.
President Barack Obama awards the 2014 National Humanities Medal to author Jhumpa Lahiri of New York, during a ceremony in the East Room at the White House in Washington, Sept. 10, 2015.

นักเขียนบางคนเขียนเกี่ยวกับการเลือกอยู่คนเดียวตามลำพังด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือในเชิงสร้างสรรค์ และความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ เช่นใน “Maine Man” ของ เลฟ กรอสแมน (Lev Grossman) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับอาการเกือบเสียสติของเขาในช่วงอายุ 20 ปี จากการที่เขาเลือกที่จะเขียนหนังสืออยู่ในเมืองเล็ก ๆ ที่แยกตัวจากคนผู้คน และยังมี "Am I Still Here?" ของ แอนโทนี่ โดเออร์ (Anthony Doerr) ชายผู้ติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งเขียนถึงความพยายามของเขาในการตัดขาดจากโซเชียลมีเดีย และหันเข้าหาธรรมชาติและอยู่กับตัวเองอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ความเหงาไม่ได้เป็นเพียงแค่สภาพจิตใจ แต่ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางร่างกายที่ร้ายแรงได้

สถาบันแห่งชาติด้านผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า ความเหงาและความโดดเดี่ยวอาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า ความสามารถทางจิตใจถดถอย และอาจถึงกับเสียชีวิตได้

แต่คนหนุ่มสาวก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจากความเหงา เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า คนหนุ่มสาวและคนกลุ่มอื่น ๆ ในสหรัฐฯ รู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดใหญ่

แกร์เร็ตต์บอกกับ วีโอเอ ว่า การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับความเหงาเป็นวิธีการดึงความสนใจไปที่ปัญหาและเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น ดังนั้น เธอรู้สึกขอบคุณอย่างมากที่มีนักเขียนเก่ง ๆ มากมายเข้าร่วมเส้นทางแห่งความอ้างว้างนี้ และช่วยทำให้ไม่เหงาอีกต่อไป โดยเธอหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยเตือนว่า จริง ๆ แล้ว เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างที่คิด และเราไม่ได้เหงาอยู่เพียงลำพัง

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG