สัตว์ทะเลน้ำลึกที่มีขนาดเล็กมากๆ บางชนิดเป็นที่รู้จักในฐานะสถาปนิกแห่งท้องทะเล พวกมันสามารถสร้างที่อยู่ที่มีความซับซ้อนที่ทั้งให้การปกป้องและใช้ดักจับอาหารได้
โครงสร้างดังกล่าวนี้ทำจากของเหลวที่ไหลออกมาจากหัวของพวกมัน และหลังจากที่ถูกใช้ไปแล้ว สัตว์ทะเลที่มีชื่อเรียกว่า larvacean ตัวใหญ่ยักษ์ ก็จะสร้างบ้านหลังใหม่ของพวกมันขึ้นมาทุก ๆ วัน
บางคนเรียกบ้านของพวกมันว่า “วังน้ำมูก” เพราะมีลักษณะเหมือนบ้านหลังใหญ่ที่สร้างจากเมือกซึ่งเป็นของเหลวที่ผลิตออกมาจากเนื้อเยื่อที่มีชีวิตเพื่อเอาไว้ปกป้องตัวเอง
ส่วนบางคนก็คิดว่า การศึกษาที่อยู่ของ larvacean อาจสามารถช่วยอุตสาหกรรมการก่อสร้างได้ หากนักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจวิธีการสร้างบ้านของพวกมัน
Kakani Katija นักชีววิศวกรรมที่สถาบันวิจัย Monterey Bay Aquarium Research Institute ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการศึกษาวิจัยในเรื่อง “วังน้ำมูก” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature magazine ฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้
เธอกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบ้านเหล่านี้มีขนาดเล็กตัวที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร แต่พวกมันล้วนมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและเป็นวงวานที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด
Boris Worm นักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัย Dalhousie ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่าบ้านของ larvacean สร้างขึ้นจากน้ำเกือบทั้งหมด และสร้างขึ้นมาอย่างมีวัตถุประสงค์ เรียกว่าแทบไม่ต่างจากผลงานของมนุษย์ต่างดาว
โครงสร้างบ้านเมือกเหล่านี้มีความซับซ้อน โดยจะเป็นรังที่มีรูปร่างเหมือนหัวใจซ้อนกันสองชั้นไว้คอยดักจับอาหาร มีลักษณะใสและมีขนาดใหญ่กว่าเจ้า Larvacean ถึงสิบเท่า ทำให้โอบล้อมมันไว้ได้ทั้งตัว และพวกมันจะต้องคอยหลบซ่อนตัวจากปลาที่อาจกินพวกมันเป็นอาหารในเวลาที่น้ำไหลผ่านเข้าไป
Worm กล่าวต่อไปว่า สัตว์ทะเลชนิดนี้ยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมหาสมุทร เมื่อบ้านของพวกมันถูกใช้ไปแล้ว มันจะปล่อยคาร์บอนนับล้านตันลงไปที่พื้นทะเล เพื่อช่วยป้องกันภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้แล้ว Larvacean ยังช่วยนำไมโครพลาสติกออกจากมหาสมุทรแล้วนำลงไปไว้ยังใต้ท้องทะเล จากนั้นสิ่งปฏิกูลที่อยู่ในบ้านของพวกมันก็จะถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่ก้นมหาสมุทร
สิ่งที่ Larvacean สร้างขึ้นมานั้น สร้างความสนใจและยังคงเป็นปริศนาต่อบรรดานักวิทยาศาสตร์ และเนื่องจากบ้านเมือกนั้นมีความเปราะบางและสามารถแตกหักง่าย นักวิจัยจึงไม่สามารถนำกลับไปที่ห้องแล็บเพื่อทำการการศึกษาได้ ดังนั้น Katija และคณะของเธอจึงใช้หุ่นยนต์เรือดำน้ำ กล้อง และเลเซอร์ เพื่อคอยดูสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำลึก 200 ถึง 400 เมตร ใกล้กับอ่าวมอนเทอเรย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
Katija กล่าวว่า บรรดานักวิศวกรของนาซ่าควรเรียนรู้เกี่ยวกับบ้านของเจ้า Larvacean ให้มากขึ้น หากต้องการปลูกสิ่งก่อสร้างหรือสร้างอาณานิคมขึ้นบนดวงจันทร์ในอนาคต