ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทย์เชื่อ 'หญ้าทะเล' อาจเป็นกุญแจสำคัญต่อสู้ภาวะโลกร้อน


Seagrasses are seen in the Indian Ocean above the world's largest seagrass meadow and one of the biggest carbon sinks in the high seas, at the Saya de Malha Bank within the Mascarene plateau, Mauritius March 20, 2021. (Tommy Trenchard/Greenpeace/Handout v
Seagrasses are seen in the Indian Ocean above the world's largest seagrass meadow and one of the biggest carbon sinks in the high seas, at the Saya de Malha Bank within the Mascarene plateau, Mauritius March 20, 2021. (Tommy Trenchard/Greenpeace/Handout v
Seagrass Study
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:31 0:00


นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าหญ้าทะเลในมหาสมุทรอาจเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่พืชเหล่านี้กำลังถูกคุกคามจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การขุดเจาะทำเหมืองแร่และการประมง เป็นต้น

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ออกสำรวจพื้นที่ในมหาสมุทรอินเดียที่คาดว่าจะมีทุ่งหญ้าทะเลใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญ้าทะเล

การศึกษาพบประโยชน์ของหญ้าทะเล คือ สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าปริมาณที่ป่าไม้เก็บกักได้ถึงสองเท่า

หากหญ้าทะเลมีสุขภาพและการเจริญเติบโตที่ดีก็จะสามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 ออกจากสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ CO2 เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของโลกสูงขึ้น

คณะสำรวจมหาสมุทรอินเดีย นำโดยกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีซ (Greenpeace) เดินทางไปยัง Saya de Malha ที่อยู่ใกล้กับประเทศหมู่เกาะ สาธารณรัฐเซเชลส์

ทุ่งหญ้าทะเลที่ Saya de Malha มีขนาดประมาณเท่ากับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในยุโรป เนื่องจากบริเวณดังกล่าวอยู่ห่างไกลจากชายฝั่งทะเล จึงได้รับการปกป้องจากมลภาวะและกิจกรรมการขุดเจาะที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นอย่างดี

นอกจากนี้หญ้าทะเลเหล่านี้ยังอยู่ใกล้พื้นผิวน้ำ ซึ่งหมายความว่าพวกมันได้รับแสงแดดมากขึ้นอีกด้วย สภาพแวดล้อมเช่นนี้เป็นแหล่งพักพิงและเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์สำหรับสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลหลายพันชนิด

ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Exeter ของประเทศอังกฤษ กล่าวว่า สามารถรวบรวมข้อมูลภาคสนามขั้นแรกได้เกี่ยวกับสัตว์ทะเลในพื้นที่ รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเลที่ยังมีการศึกษาในเรื่องนี้เพียงน้อยนิด โดยนักวิทยาศาสตร์ได้เก็บรวบรวมเศษหญ้าที่ลอยอยู่ในน้ำเพื่อนำไปตรวจสอบในห้องทดลองในภายหลัง

อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าบริเวณ Saya de Malha นั้นสามารถเก็บกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ปริมาณมากน้อยแค่ไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า รากของหญ้าทะเลทั่วโลกสามารถดักจับคาร์บอนที่ฝังอยู่ในตะกอนมหาสมุทรได้ปีละมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์

Dimos Traganos นักวิทยาศาสตร์หลักของโครงการ German Aerospace Center ที่พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อปรับปรุงการค้นหาหญ้าทะเลโดยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลอื่นๆ บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของหญ้าทะเลมีผลกระทบอย่างมากต่อความพยายามในการจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ทั่วโลก

นักวิจัยของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ประเมินว่า หญ้าทะเลครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 300,000 ตารางกิโลเมตร โดยจะกระจายอยู่ทั่วทุกทวีปยกเว้นที่แอนตาร์กติกา และว่า ทุก 30 นาที หญ้าทะเลขนาดเทียบเท่ากับสนามฟุตบอลจะถูกทำลายโดยกิจกรรมของมนุษย์

การศึกษาฉบับหนึ่งชี้ให้เห็นว่า มลพิษจากการขุดเจาะและความเสียหายจากการประมงอาจเป็นสิ่งที่ทำลายหญ้าทะเลในประเทศอังกฤษถึง 92 เปอร์เซ็นต์ในช่วงหนึ่งศตวรรษ โดยการศึกษานี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Frontiers in Plant Science ฉบับเดือนมีนาคม

UNEP กล่าวว่า ในปีนี้สาธารณรัฐเซเชลส์เริ่มมองหาแหล่งคาร์บอนจากหญ้าทะเลตามชายฝั่งเป็นครั้งแรก และอย่างน้อยมีอยู่ 10 ประเทศที่กล่าวว่า หญ้าทะเลจะเป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของตน

XS
SM
MD
LG