ปลาไฟฟ้ามีตัวรับสัญญานไฟฟ้าใต้ผิวหนังที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนระบบเรด้าที่ช่วยในการสื่ิอสาร ช่วยหาอาหาร ผสมพันธุ์และทำหน้าที่เป็นตัวนำทาง นักวิจัยชี้ว่าการเข้าใจว่าปลาไฟฟ้าสร้างสัญญาณไฟฟ้าและแปลงสัญญานที่ได้รับอย่างไรจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางของมนุษย์ได้มากขึ้น
ปลาไฟฟ้าเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยในแม่น้ำประเทศเขตร้อน คุณรูดิเก้อ คราเฮ รองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย McGill ในแคนาดากล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วเราจะพบปลาไฟฟ้าน้ำจืดในสองจุดของโลก
คุณคราเฮ กล่าวว่าปลาไฟฟ้ามีสองกลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกอาศัยในทวีปอเมริกาใต้ เรียกว่า ปลา Gymnotiform ซึ่งประมาณว่ามีอยู่ราวสองร้อยสายพันธุ์ ส่วนกลุ่มที่สองเรียกว่า ปลา Mormyri มีอยู่ประมาณสองร้อยสายพันธุ์เช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญทางชีววิทยากล่าวว่าเเม้ว่าปลาทั้งสองกลุ่มจะมีวิวัฒนาการแยกกันมาแต่กลับมีความสามารถในการสร้างและรับสัมผัสคลื่นกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆได้เหมือนกัน
คุณคราเฮกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเราสามารถบันทึกสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปลาไฟฟ้าผลิตออกมาได้ด้วยอุปกรณ์อย่างง่ายที่ใช้ในการจับสัญญาณต่างๆใต้น้ำ
เขากล่าวว่าวิธีนี้ช่วยให้ทีมนักวิจัยสามารถเฝ้าติดตามดูการผลิตกระเเสไฟฟ้าและการรับคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าของปลาได้อย่างต่อเนื่องเพราะปลาจะผลิตกระเเสไฟฟ้าตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน นี่ช่วยให้นักวิจัยสามารถเฝ้าสังเกตุกิจกรรมของปลา ศึกษาลักษณะสัญญาณไฟฟ้าของปลาและค้นคว้าปลาใช้สัญญาณไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นในการสื่อสารอย่างไร เพื่อนำไปสู่การทดลองส่งสัญญานไฟฟ้าของปลาที่ทีมนักวิจัยบันทึกเอาไว้ตอบกลับไป
คุณคราเฮกล่าวว่าในขณะที่มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาประสาทสัมผัสต่อสัญญาณไฟฟ้า ระบบประสาทส่วนกลางของคนเราสามารถตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ในลักษณะใกล้เคียงกับการตอบสนองของปลาไฟฟ้า
คุณคราเฮกล่าวว่าลักษณะการส่งข้อมูล การรับข้อมูลด้วยระบบประสาทสัมผัสในปลาไฟฟ้าคล้ายกับการทำงานของระบบการถอดสัญญานเสียงในระบบการได้ยินและการมองเห็นของคนเราอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสมองของปลาไฟฟ้าไม่สลับซับซ้อนเท่ากับสมองของมนุษย์แต่มีลักษณะหลายๆอย่างทางโครงสร้างเเละเครือข่ายเส้นประสาทที่คล้ายกัน เขากล่าวว่าการศึกษาความคล้ายคลึงกันนี้เป็นเเนวทางใหม่เพื่อเข้าใจลักษณะทางกายภาพของมนุษย์
คุณคราเฮกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการศึกษานี้มุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเเยกข้อมูลด้วยระบบประสาทสัมผัสของคนเรา พฤติกรรมที่ตามมาและลักษณะการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เขากล่าวว่าว่ามีการศึกษาทดลองหลายอย่างที่ทีมงานทดลองกับปลาได้แต่ไม่สามารถทดลองในคน โดยทีมงานกำลังพยายามศึกษาถึงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเพื่อดูว่ามีการควบคุมพฤติกรรมต่างๆอย่างไรและนักวิจัยเชื่อว่าการศึกษาปลาไฟฟ้าจะนำพวกเขาไปสู่คำตอบแก่คำถามหลายๆข้อข้างต้นได้ในอีกไม่นานเกินรอ
ปลาไฟฟ้าเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยในแม่น้ำประเทศเขตร้อน คุณรูดิเก้อ คราเฮ รองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย McGill ในแคนาดากล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วเราจะพบปลาไฟฟ้าน้ำจืดในสองจุดของโลก
คุณคราเฮ กล่าวว่าปลาไฟฟ้ามีสองกลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกอาศัยในทวีปอเมริกาใต้ เรียกว่า ปลา Gymnotiform ซึ่งประมาณว่ามีอยู่ราวสองร้อยสายพันธุ์ ส่วนกลุ่มที่สองเรียกว่า ปลา Mormyri มีอยู่ประมาณสองร้อยสายพันธุ์เช่นกัน
ผู้เชี่ยวชาญทางชีววิทยากล่าวว่าเเม้ว่าปลาทั้งสองกลุ่มจะมีวิวัฒนาการแยกกันมาแต่กลับมีความสามารถในการสร้างและรับสัมผัสคลื่นกระเเสไฟฟ้าอ่อนๆได้เหมือนกัน
คุณคราเฮกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเราสามารถบันทึกสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปลาไฟฟ้าผลิตออกมาได้ด้วยอุปกรณ์อย่างง่ายที่ใช้ในการจับสัญญาณต่างๆใต้น้ำ
เขากล่าวว่าวิธีนี้ช่วยให้ทีมนักวิจัยสามารถเฝ้าติดตามดูการผลิตกระเเสไฟฟ้าและการรับคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าของปลาได้อย่างต่อเนื่องเพราะปลาจะผลิตกระเเสไฟฟ้าตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน นี่ช่วยให้นักวิจัยสามารถเฝ้าสังเกตุกิจกรรมของปลา ศึกษาลักษณะสัญญาณไฟฟ้าของปลาและค้นคว้าปลาใช้สัญญาณไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นในการสื่อสารอย่างไร เพื่อนำไปสู่การทดลองส่งสัญญานไฟฟ้าของปลาที่ทีมนักวิจัยบันทึกเอาไว้ตอบกลับไป
คุณคราเฮกล่าวว่าในขณะที่มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาประสาทสัมผัสต่อสัญญาณไฟฟ้า ระบบประสาทส่วนกลางของคนเราสามารถตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ในลักษณะใกล้เคียงกับการตอบสนองของปลาไฟฟ้า
คุณคราเฮกล่าวว่าลักษณะการส่งข้อมูล การรับข้อมูลด้วยระบบประสาทสัมผัสในปลาไฟฟ้าคล้ายกับการทำงานของระบบการถอดสัญญานเสียงในระบบการได้ยินและการมองเห็นของคนเราอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสมองของปลาไฟฟ้าไม่สลับซับซ้อนเท่ากับสมองของมนุษย์แต่มีลักษณะหลายๆอย่างทางโครงสร้างเเละเครือข่ายเส้นประสาทที่คล้ายกัน เขากล่าวว่าการศึกษาความคล้ายคลึงกันนี้เป็นเเนวทางใหม่เพื่อเข้าใจลักษณะทางกายภาพของมนุษย์
คุณคราเฮกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการศึกษานี้มุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเเยกข้อมูลด้วยระบบประสาทสัมผัสของคนเรา พฤติกรรมที่ตามมาและลักษณะการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เขากล่าวว่าว่ามีการศึกษาทดลองหลายอย่างที่ทีมงานทดลองกับปลาได้แต่ไม่สามารถทดลองในคน โดยทีมงานกำลังพยายามศึกษาถึงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเพื่อดูว่ามีการควบคุมพฤติกรรมต่างๆอย่างไรและนักวิจัยเชื่อว่าการศึกษาปลาไฟฟ้าจะนำพวกเขาไปสู่คำตอบแก่คำถามหลายๆข้อข้างต้นได้ในอีกไม่นานเกินรอ