ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้นำสำคัญของอาหรับหลายประเทศไม่เข้าร่วมประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาหรับ ที่กรุงวอชิงตันสัปดาห์นี้


FILE - Saudi King Salman, shown at an Arab summit in Riyadh, January 22, 2013, will not attend a Gulf Summit hosted by the U.S. in Washington this week.
FILE - Saudi King Salman, shown at an Arab summit in Riyadh, January 22, 2013, will not attend a Gulf Summit hosted by the U.S. in Washington this week.

กษัตริย์ซาอุฯ สุลต่านโอมาน และปธน.สหอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศไม่เข้าร่วมในการประชุมที่มุ่งเน้นเรื่องความมั่นคงในตะวันออกกลาง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:45 0:00
Direct link

การประชุมสุดยอดสหรัฐฯ กับชาติอาหรับ หรือ US – Arab Summit จะเริ่มขึ้นวันพุธนี้ที่ทำเนียบขาว โดยมีผู้แทนประเทศสมาชิกสภาความร่วมมือประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย 6 ประเทศเข้าร่วม จากนั้นจะมีการเจรจากันในวันพฤหัสบดีที่ Camp David

รมต.ต่างประเทศของซาอุดิอาเรเบีย Adel al-Jubeir ระบุว่ากษัตริย์ Salman ของซาอุฯ จะทรงส่งมกุฏราชกุมาร Mohammed bin Mayef มาแทน โดยทรงให้เหตุผลว่าการประชุม US – Arab Summit ครั้งนี้ มีช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับการหารือเรื่องข้อตกลงหยุดยิงและการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่เยเมน ซึ่งซาอุฯ รับหน้าที่เป็นผู้นำพันธมิตรชาติอาหรับในการโจมตีทางอากาศใส่กลุ่มกบฏฮูติในเยเมน

การที่กษัตริย์ Salman ทรงถอนตัวจากการประชุมสุดยอดสหรัฐฯ กับชาติอาหรับครั้งนี้ ทำให้จะมีเพียงผู้นำของกะต้าร์และคูเวตเท่านั้น ที่จะนำคณะผู้แทนร่วมประชุมในกรุงวอชิงตันในวันพุธ เพราะก่อนหน้านี้สุลต่าน Qabiis bin Said ของโอมาน และ ปธน.Khalifa bin Zayed ของสหอาหรับเอมิเรตส์ ก็ได้ประกาศไม่เข้าร่วมเนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพเช่นกัน

โฆษกทำเนียบขาว Eric Schultz แถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การประชุมครั้งนี้จะมุ่งเน้นหารือเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย และหาแนวทางจัดการความขัดแย้งในอิรัก ซีเรีย ลิเบีย และเยเมน

คุณ Jonathan Adelman นักวิเคราะห์แห่ง University of Denver กล่าวว่า อย่างน้อยมี 2 ประเทศคือ สหอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาเรเบีย ที่พยายามหาความร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อจัดตั้งองค์การด้านการทหารคล้ายกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือ NATO เป้าหมายเพื่อรับรองว่าการโจมตีประเทศใดประเทศหนึ่งในภาคี จะต้องถูกตอบโต้จากประเทศสมาชิกทั้งหมด ตลอดจนการยกระดับความสามารถทางการทหารของประเทศสมาชิกด้วย

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าจะมีการหารือกันในประเด็นเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน รวมทั้งความกังวลที่ว่าอิหร่านอาจมีอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหลังจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกลดมาตรการลงโทษต่ออิหร่าน ขณะเดียวกันอิหร่านก็ยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์

ศาสตราจารย์ Nabeel Khoury แห่ง Northwestern University ซึ่งเป็นอดีตนักการฑูตสหรัฐฯ ประจำตะวันออกกลางเชื่อว่า สำหรับตนการประชุมครั้งนี้จะยังไม่สามารถวางทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงระหว่างอิหร่านกับซาอุฯ เพื่อสร้างความมั่นคงในตะวันออกกลางได้

ขณะที่ Jonathan Adelman แห่ง University of Denver เห็นคล้ายกันว่าการที่ผู้นำระดับสำคัญหลายคนรวมทั้งกษัตริย์ Salman ของซาอุฯ ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นสัญญาณว่าแนวทางหรือโครงร่างในการจัดทำข้อตกลงดังกล่าว คงจะไม่เกิดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้อย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าว Victor Beattie รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG