นักวิทยาศาสตร์รัสเซียทำการชันสูตรสุนัขป่าจากร่างที่ถูกแช่แข็งในดินมายาวนาน 44,000 ปี บริเวณเขตห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาซากสุนัขป่าโบราณ
การค้นพบสุนัขป่าตัวนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญโดยชาวบ้านในเขตยาคุเทียเมื่อ 3 ปีก่อน แต่เพิ่งทำการศึกษาร่างกายของมันในเวลานี้
อัลเบิร์ต โปรโตโปพอย หัวหน้าเเผนกศึกษาสัตว์โบราณกลุ่มเเมมมอธ ที่สถาบัน Yakutia Academy of Sciences กล่าวว่าครั้งเป็นการค้นพบเเรกของสัตว์ที่เป็นผู้ล่าในยุค 'ไพลส์โตซีน' (Pleistocene) ตอนปลาย
"อายุของมันอยู่ที่ประมาณ 44,000 ปี" เขากล่าว
พื้นที่พบซากหมาป่าตัวนี้อยู่กลางระหว่างมหาสมุทรอาร์กติกและเขตตะวันออกไกลฝั่งอาร์กติกของรัสเซีย ดินเเดนอันกว้างใหญ่ดังกล่าวเป็นหนองน้ำและป่าขนาดประมาณรัฐเท็กซัส โดยร้อยละ 95 ของพื้นที่เป็นดินเยือกเเข็ง
อุณหภูมิในเขตยาคุเทียขึ้นชื่อว่าหนาวเย็นมาก ซึ่งสามารถหนาวระดับติดลบ 64 องศสาเซลเซียส
โปรโตโปพอยกล่าวว่าตามปกติซากสัตว์ที่พบในยาคุเทียจะเป็นสัตว์กินพืช
แม้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบซากสัตว์อายุใกล้เคียงกับสุนัขป่าตัวนี้ในดินเยือกเเข็ง เมื่อนำ้เเข็งละลายเนื่องจากภาวพโลกร้อน แต่โปรโตโปพอยกล่าวว่าสุนัขป่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และที่สำคัญออกล่าเหยื่อและเคลื่อนที่ไปมาอยู่ตลอด
อาร์เตียม เนโดลูซห์โก แห่งมหาวิทยาลัย European University of St Petersburg ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งกล่าวว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเข้าในถึงพฤติกรรมการกินอาหาร และการอยู่อาศัยในสังคมของหมาป่ายุคโบราณในเขตดังกล่าว
- ที่มา: รอยเตอร์
กระดานความเห็น