ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รัสเซียประกาศความสำเร็จทดสอบขีปนาวุธเร็วเหนือเสียง 'เซอร์คอน'


This handout video grab released, Nov. 29, 2021, shows the launch of a new Zircon hypersonic cruise missile from the the Admiral Gorshkov warship at a target in the Barents Sea.
This handout video grab released, Nov. 29, 2021, shows the launch of a new Zircon hypersonic cruise missile from the the Admiral Gorshkov warship at a target in the Barents Sea.

รัสเซียประกาศความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง เซอร์คอน (Zircon)ในวันจันทร์ ท่ามกลางการแข่งขันพัฒนาอาวุธของบรรดาประเทศมหาอำนาจ

ปัจจุบัน รัสเซีย สหรัฐฯ ฝรั่งเศส และจีน คือ 4 ประเทศที่กำลังพัฒนาและทดสอบขีปนาวุธร่อนที่สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเหนือความเร็วเสียง คือมีความเร็วเกินระดับมัค 5

กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยว่า เรือรบ Admiral Gorshkov ของกองทัพรัสเซียได้ทดสอบยิงขีปนาวุธเซอร์คอนเพื่อโจมตีเป้าหมายกลางทะเลแบเรนต์สที่อยู่ห่างออกไป 400 กิโลเมตรได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการทดสอบขั้นสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ รัสเซียได้ทดสอบขีปนาวุธเซอร์คอนมาแล้วหลายครั้ง โดยกองทัพรัสเซียมีแผนติดตั้งขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงนี้บนเรือรบและเรือดำน้ำหลายลำ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2019 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่หลายประเภท รวมทั้งขีปนาวุธเซอร์คอน ซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายได้ทั้งบนบกและกลางทะเลในระยะทาง 1,000 กิโลเมตร ด้วยความเร็วระดับมัค 9

การทดสอบขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงของรัสเซียครั้งล่าสุดมีขึ้นหลังจากที่ประเทศทางตะวันตกรายงานว่า จีนทำการทดสอบขีปนาวุธร่อนความเร็วเหนือเสียงเมื่อเดือนกรกฎาคมเหนือทะเลจีนใต้ แม้จะพลาดเป้าเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรก็ตาม

การทดสอบดังกล่าวของจีนนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถยิงจรวดความเร็วเหนือเสียงให้เดินทางไปรอบโลกได้ และเป็นอาวุธที่มีความเร็วมากกว่าเสียงถึงห้าเท่าจะทำให้ยากต่อการติดตามและสกัดกั้น แต่จีนได้ปฏิเสธเรื่องการทดลองอาวุธดังกล่าว โดยระบุแต่เพียงว่าตนทดสอบยานอวกาศซึ่งสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้เท่านั้น

ทั้งนี้ นอกจากขีปนาวุธเซอร์คอนแล้ว รัสเซียยังระบุว่ากำลังพัฒนาขีปนาวุธหลายประเภทที่สามารถหลบเลี่ยงระบบป้องกันขีปนาวุธได้ รวมทั้งขีปนาวุธข้ามทวีป ซาร์มัต (Sarmat) และขีปนาวุธร่อนพลังงานนิวเคลียร์ บูเรเวสต์นิค (Burevestnik)

XS
SM
MD
LG