ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อดีตผู้นำปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอายุ 79


FILE - President of Pakistan Gen. Pervez Musharraf salutes on April 9, 2002, at a rally in Lahore, Pakistan.
FILE - President of Pakistan Gen. Pervez Musharraf salutes on April 9, 2002, at a rally in Lahore, Pakistan.

อดีตประธานาธิบดีปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ถึงแก่อสัญกรรมในวันอาทิตย์ด้วยวัย 79 ปี หลังล้มป่วยด้วยโรคอะไมลอยด์โดสิส (amyloidosis) ซึ่งเป็นโรคที่ไม่พบบ่อยและเกิดจากร่างกายสร้างโปรตีนแบบไม่ปกติไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะนั้นเกิดความผิดปกติ

อดีตปธน.มูชาร์ราฟ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศหลังเกิดเหตุรัฐประหารที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อของประชาชนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1999 ซึ่งส่งผลให้อดีตนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ ที่ชนะการเลือกตั้งมาต้องหลุดจากตำแหน่งไป

หลังให้คำมั่นสัญญาที่จะเร่งฟื้นฟูนประชาธิปไตยของประเทศ มูชาร์ราฟ ทำหน้าที่ผู้นำปากีสถานเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปี โดยดำรงทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีและตำแหน่งผู้นำกองทัพไปพร้อม ๆ กันเกือบตลอดระยะเวลาดังกล่าว

และในฐานะผู้นำเผด็จการกองทัพคนที่ 4 ของปากีสถาน มูชาร์ราฟ เริ่มต้นการดำรงตำแหน่งผู้นำท่ามกลางความนิยมชมชอบของประชาชน อันเป็นผลมาจากการให้สัญญาที่จะปราบปรามคอร์รัปชันและส่งเสริมการรับผิดต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ก่อนที่ แรงสนับสนุนของประชาชนปรับเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเฟื่องฟูเพราะความช่วยเหลือจากต่างประเทศ จากการสนับสนุนกองกำลังพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน

แต่หลังปกครองประเทศต่อมาได้หลายปี พรรคการเมืองหลัก ๆ หลายพรรคระบุว่า ตนนั้นถูกรัฐบาลกดดันและปราบปรามอยู่ ขณะที่ ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองก็ถูกจับกุมตัวไปมากมาย และเสรีภาพสื่อและระบบตุลาการก็ถูกจำกัด

FILE - Pakistani President Gen. Pervez Musharraf and his wife, Sehba, pose with Pakistani children clad in traditional dresses in Islamabad, Pakistan on Aug 14, 2001.
FILE - Pakistani President Gen. Pervez Musharraf and his wife, Sehba, pose with Pakistani children clad in traditional dresses in Islamabad, Pakistan on Aug 14, 2001.

และหลังเผชิญปัญหาและแรงกดดันมากมาย มูชาร์ราฟตกลงที่จะก้าวลงจากตำแหน่งผู้นำกองทัพ หลังประกาศระงับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญของประเทศและประกาศภาวะฉุกเฉินในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2007 ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางการเมืองทั้งหมดถูกสั่งห้าม และสื่อก็ถูกสั่งปิดปาก ขณะที่ สมาชิกอาวุโสของฝ่ายตุลาการบางรายก็ถูกควบคุมตัว

และเมื่อปากีสถานจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008 ที่พรรคของ เบนาซีร์ บุตโต เป็นผู้ชนะ มูชาร์ราฟ ก็ถูกยื่นถอดถอน และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2008 ก่อนจะเดินทางออกจากปากีสถานในปีถัดมา และกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 2013 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นฝันสลาย หลังประชาชนไม่สนับสนุนเหมือนเดิมและคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งสั่งตัดสิทธิ์ของเขาเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในอดีต

ต่อมา รัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ สั่งฟ้องมูชาร์ราฟในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน จากการสั่งระงับรัฐธรรมนูญ และในปี ค.ศ. 2019 ศาลตัดสินมูชาร์ราฟ ว่ามีความผิดจริง และสั่งลงโทษประหารชีวิต

ในปีต่อมา ศาลสูงในเมืองลาฮอร์พลิกคำตัดสินและยกฟ้องข้อกบฏต่อแผ่นดินและยกเลิกโทษประหารชีวิตต่ออดีตผู้นำปากีสถาน แต่ มูชาร์ราฟที่เผชิญปัญหาทางกฎหมายมากมายในเวลานั้น ก็ตัดสินใจเดินทางออกจากปากีสถานมาที่ดูไบ ในปี ค.ศ. 2016 โดยอ้างเหตุผลด้านสุขภาพ

มูชาร์ราฟ ถึงแก่อสัญกรรมโดยมีญาติใกล้ชิดที่ยังมีชีวิตอยู่คือ ภรรยา บุตรชายและบุตรสาว

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG