ปัญหาสำคัญอันหนึ่งในการตรวจหาโรค Alzheimer’s หรือ โรคสมองเสื่อม คือตรวจไม่ได้ง่ายๆว่าเป็นโรคที่ว่านี้จริง หรือความจำเสื่อมถอยลงในขณะที่มีอายุสูงขึ้น
แต่นักวิจัย Jennifer Stamps ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกที่ McKnight Brain Institute ของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ค้นพบวิธีทดสอบที่ได้ผลในการตรวจหาโรคสมองเสื่อมในระยะต้น
วิธีทดสอบนี้ คือการให้คนไข้ใช้ช่องจมูกแต่ละข้างสูดดมเนยถิ่วลิสง โดยวัดระยะความห่างของเนยจากช่องจมูกที่กำลังทดสอบเป็นระยะๆ ช่องจมูกอีกข้างหนึ่งนั้นให้ปิดไว้
นักวิจัยพบว่า คนไข้ที่มีอาการโรคสมองเสื่อมขั้นต้น ช่องจมูกแต่ละข้างได้กลิ่นเนยถิ่วลิสงไม่เท่ากัน โดยช่องจมูกข้างซ้ายไม่ได้กลิ่นเนย จนกระทั่งยื่นเนยให้ดมใกล้กับช่องจมูกข้างซ้ายมากกว่าช่องจมูกข้างขวา ราวๆ 10 เซ็นติเมตรโดยเฉลี่ย
ส่วนคนไข้ที่มีอาการโรคจิตเสื่อมอย่างอื่นๆ ช่องจมูกจะได้กลิ่นไม่แตกต่างกัน หรืออย่างมากที่สุด ช่องจมูกข้างขวาจะทำงานดมกลิ่นไม่ได้ดีเท่าข้างซ้าย
ในจำนวนคนไข้ 24 คนที่เข้ารับการทดสอบ มี 10 คนที่แสดงให้เห็นว่า ช่องจมูกข้างซ้ายมีปัญหาในการดมกลิ่นเนยถิ่วลิสง อีก 14 คนไม่มีปัญหาดังกล่าว
นักวิจัยบอกว่า ยังจะต้องดำเนินการทดลองกันต่อไปอีก แต่อย่างน้อยในขณะนี้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ยืนยันการวินิจฉัยโรค Alzheimer’s ได้ โดยเป้าหมายในที่สุดคือ พัฒนาวิธีทดสอบนี้จนกระทั่งนำมาใช้เป็นเครื่องมือพยากรณ์ได้ว่า คนไข้คนไหนจะเป็นโรค Alzheimer’s ในที่สุด
แต่นักวิจัย Jennifer Stamps ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกที่ McKnight Brain Institute ของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ค้นพบวิธีทดสอบที่ได้ผลในการตรวจหาโรคสมองเสื่อมในระยะต้น
วิธีทดสอบนี้ คือการให้คนไข้ใช้ช่องจมูกแต่ละข้างสูดดมเนยถิ่วลิสง โดยวัดระยะความห่างของเนยจากช่องจมูกที่กำลังทดสอบเป็นระยะๆ ช่องจมูกอีกข้างหนึ่งนั้นให้ปิดไว้
นักวิจัยพบว่า คนไข้ที่มีอาการโรคสมองเสื่อมขั้นต้น ช่องจมูกแต่ละข้างได้กลิ่นเนยถิ่วลิสงไม่เท่ากัน โดยช่องจมูกข้างซ้ายไม่ได้กลิ่นเนย จนกระทั่งยื่นเนยให้ดมใกล้กับช่องจมูกข้างซ้ายมากกว่าช่องจมูกข้างขวา ราวๆ 10 เซ็นติเมตรโดยเฉลี่ย
ส่วนคนไข้ที่มีอาการโรคจิตเสื่อมอย่างอื่นๆ ช่องจมูกจะได้กลิ่นไม่แตกต่างกัน หรืออย่างมากที่สุด ช่องจมูกข้างขวาจะทำงานดมกลิ่นไม่ได้ดีเท่าข้างซ้าย
ในจำนวนคนไข้ 24 คนที่เข้ารับการทดสอบ มี 10 คนที่แสดงให้เห็นว่า ช่องจมูกข้างซ้ายมีปัญหาในการดมกลิ่นเนยถิ่วลิสง อีก 14 คนไม่มีปัญหาดังกล่าว
นักวิจัยบอกว่า ยังจะต้องดำเนินการทดลองกันต่อไปอีก แต่อย่างน้อยในขณะนี้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ยืนยันการวินิจฉัยโรค Alzheimer’s ได้ โดยเป้าหมายในที่สุดคือ พัฒนาวิธีทดสอบนี้จนกระทั่งนำมาใช้เป็นเครื่องมือพยากรณ์ได้ว่า คนไข้คนไหนจะเป็นโรค Alzheimer’s ในที่สุด