ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หลายประเทศเอเชียรวมทั้งไทยรับอานิสงส์ราคาน้ำมันโลกลดลงต่อเนื่อง


FILE- A technician checks pipelines at Bangchak oil tanks in Bangkok September 7, 2005.
FILE- A technician checks pipelines at Bangchak oil tanks in Bangkok September 7, 2005.

ราคาน้ำมันดิบโลดที่ลดลงกว่าร้อยละ 25 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมส่งผลให้หลายประเทศในเอเชียได้รับอานิสงส์ทางด้านเศรษฐกิจหลายด้าน

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:18 0:00
Direct link

นักวิเคราะห์กล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้วประเทศในเอเชียล้วนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ และดำเนินมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศเพื่อกดราคาน้ำมันขายปลีกสำหรับผู้บริโภคอยุ่ในระดับที่ไม่สูงเกินไป แต่เมื่อจากราคาน้ำมันลดลง จึงส่งผลดีต่อประเทศเหล่านั้นโดยปริยาย

นักวิเคราะห์ Andrew Colquhoun จาก สถาบัน Fitch Rating ที่ฮ่องกงกล่าวว่า หลายประเทศลดการใช้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันได้ในช่วงนี้ ซึ่งเท่ากับการมีรายได้เพิ่มมากขึ้นทางอ้อม

แต่ขึ้นอยู่กับว่าประเทศเหล่านั้นจะสามารถนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นทางอ้อมเหล่านี้ไปใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ระยะยาวแก่ประเทศ หรือจะขึ้นอยู่ว่า รัฐบาลจะนำเงินไปออมหรือลงทุน

นักวิเคราะห์ของ Fitch Rating บอกด้วยว่า ไทย เกาหลีใต้ จีน และ ญี่ปุ่น ได้รับผลดีโดยอ้อมจากราคาน้ำมันที่ลดลง โดยเฉพาะราคาของน้ำมันดิบนั้นเชื่อมโยงกับราคาเชื้อเพลิงอื่นๆเช่น ก๊าซหุงต้ม

ขณะที่ประเทศไทยนั้น เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบ มูลค่าร้อยละ 15 ของรายรับทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในภูมิภาค ทำให้ได้รับอานิสงส์น้ำมันลดราคาไปเต็มๆ

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย นั้น นักวิเคราะห์ Gareth Leather จาก สถาบัน Capital Market ในอังกฤษ กล่าวว่า งบประมาณที่เหลือจากการที่รัฐบาลลดการอุดหนุนราคาน้ำมันนั้น สามารถนำมาลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของอินโดนีเซียอย่างได้ผล และนำมาใช้จ่ายด้านสาธารณะอื่นๆ นอกจากนี้ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติได้มากขึ้น ต่อผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่ที่กำลังเน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์จาก Capital Market บอกว่า นโยบายการขึ้นราคาขายปลีกของอินโดนีเซีย น่าจะส่งผลดีในระยะยาวต่ออินโดนีเซีย เพราะที่อินโดนีเซียใช้งบประมาณร้อยละ 20 ของงบประมาณรัฐบาลมาอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ โดยพบว่าที่ผ่านมาใช้งบประมาณราว ราวๆ 2 แสนล้านดอลลาห์ต่อปีเพื่ออุดหนุนราคาน้ำมันให้ต่ำลง

Andrew Colquhoun นักวิเคระห์ จาก สถาบัน Fitch Rating ย้ำว่า สิ่งสำคัญกว่าจำนวนงบประมาณคือวิธีการที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะถ่ายโอนงบประมาณไปสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่

ด้านมาเลเซีย ประกาศหยุดอุดหนุดราคาน้ำมันในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม เป็นต้นไป แต่รัฐบาลจะยังคงประคองราคาน้ำมันเอาไว้ไม่ให้เกิดการผันผวนมากนัก

ขณะที่ Chris Weston นักวิเคราะห์ จาก IG Markets บอกว่า หลังจากที่รัฐบาลประเทศในเอเชียได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ต่ำลง นักลงทุนต่างชาติอาจทำเงินมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย

นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างเห็นตรงกันว่า การประเมินเศรษฐกิจของเอเชีย ได้รวมปัจจัยด้านบวกหรือข่าวดีจากราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงไปเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือ โอเปค ก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่าเอเชียจะยังเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลกต่อไป


โปรดติดตามรายละเอียดจากคลิปเรื่องนี้ในรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ

รายงานโดย Ron Corben/เรียบเรียงโดย Rattaphol Onsanit

XS
SM
MD
LG