ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวประมงรักษ์โลกแห่งบาร์เซโลนาต้นแบบแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล


ชาวประมงรักษ์โลกแห่งบาร์เซโลนา ต้นแบบแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:25 0:00

ชาวประมงรักษ์โลกแห่งบาร์เซโลนา ต้นแบบแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:38 0:00

ในทุกปีมีปริมาณขยะพลาสติกรวมกันราว 12 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงในมหาสมุทรทั่วโลก สร้างปัญหามลพิษในทะเล คร่าชีวิตสัตว์น้ำนานาชนิด และเป็นต้นเหตุของปัญหาพลาสติกจิ๋วหรือ ไมโครพลาสติก ที่ปะปนมาในห่วงโซ่ ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก ขณะที่มีกลุ่มชาวประมงในเมืองบาร์เซโลนา แคว้นคาตาลุญญาของสเปน ที่ริเริ่มแนวคิดการอาสาเป็นแนวหน้า ออกหาปลาและหาขยะพลาสติกในทะเลก่อนนำกลับขึ้นฝั่ง ด้วยความหวังว่าจะเป็นแนวทางการทำประมงรักษ์โลกที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

คาร์ลอส มาร์ติน (Carlos Martin) และลูกเรือโบนามาร์ 2 แห่งท่าเรือบาร์เซโลนา ออกหาเรืิอในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประจำ

หลายปีที่ผ่านมา เขาสังเกตเห็นว่า ปริมาณขยะที่ติดอวนจับปลาที่ลากขึ้นมาเรือเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สวนทางกับจำนวนปลาที่จับได้ลดน้อยลง โดยเฉพาะขยะพลาสติกกลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกที

คาลอส บอกว่า ขยะส่วนใหญ่ที่ติดอวนขึ้นมาบนเรือเขาจะโยนทิ้งลงไปในแม่น้ำตอนขากลับเข้าฝั่ง ทำให้มีปริมาณพลาสติกสะสมบริเวณปากแม่น้ำ

เมื่อเจอขยะเพิ่มทำให้ต้องออกหาปลาไกลขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องแลกด้วยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

คาลอส บอกว่า ส่วนใหญ่เขาจะคัดแยกพลาสติกชิ้นใหญ่แล้วนำกลับมาขึ้นฝั่งด้วย แต่เศษพลาสติกชิ้นย่อยและเปียกที่ติดขึ้นมาจากใต้น้ำจำนวนมหาศาลนั้นกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะพลาสติกมักจะเกี่ยวติดขึ้นมาบนอวน พร้อมกับดินโคลนน้ำหนักมหาศาล ที่นอกจากทำให้ตาข่ายดักปลาได้น้อยแล้ว หลายครั้งก็ทำให้ตาข่ายที่ลากใตน้ำได้รับความเสียหายเพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ทางการท้องถิ่นของแคว้นคาตาลุญญามองเห็นโอกาส เสนอแนวคิดที่จะให้เครือข่ายชาวประมงเป็นแนวหน้าจัดการกับขยะพลาสติกในทะเล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 1 ล้านยูโรที่มาจากสหภาพยุโรปและทางการส่วนท้องถิ่นให้ แต่กลุ่มชาวประมงเลือกที่จะไม่ขอรับเงินในส่วนนี้แต่ขอรับการสนับสนุนในลักษณะอุปกรณ์การขนถ่ายขยะพลาสติกมากกว่า

Sergi Tudela ผอ.สหกรณ์การประมงแห่งคาตาลุญญา บอกว่า งบประมาณจากทางการจะใช้ในส่วนของอุปกรณ์เพื่อจัดเก็บขณะลำเลียงขยะมากับเรือมากกว่า ขณะเดียวกันก็สามารถคัดแยกและศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และแหล่งที่มาของขยะที่พบในทะเลไปด้วย พวกเขาหวังว่าหากโครงการนี้สำเร็จก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆทั่วเขตเมดิเตอร์เรเนียนได้ในอนาคต

ข้อมูลจากทางการสเปน ระบุว่าในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะพลาสติกที่พบชายหาดเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 65 เช่นเดียวกับปัญหาอุปกรณ์จับปลาของชาวประมงที่ถูกทิ้งในทะเล ซี่งมีน้ำหนักรวมกันราว 8-12 ล้านตันทั่วโลกก็เริ่มส่งผลกระทบ ทำให้ผู้ที่อยู่ในวิถีคนจับปลาอย่างคุณคาลอส มาร์ติน ก็เริ่มมองเห็นและเข้าใจแล้วว่าปัญหาเหล่านี้กำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่และส่งผลต่อวิถีชีวิตพวกเขาโดยตรง

แนวคิดที่เปลี่ยนไปของชาวประมงในคาตาลุญญา กำลังกลายเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการเป็นชาวประมงรักษ์โลก ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่จะตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติเพียงฝ่ายเดียว

XS
SM
MD
LG