ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โสมแดง-โสมขาว ทดลองจรวดไล่เลี่ยกัน สะท้อนการแข่งขันด้านอวกาศดุเดือด


FILE - A test related to the development of a reconnaissance satellite is seen in this undated photo released on Dec. 19, 2022, by North Korea's Korean Central News Agency.
FILE - A test related to the development of a reconnaissance satellite is seen in this undated photo released on Dec. 19, 2022, by North Korea's Korean Central News Agency.

เกาหลีใต้ส่งจรวดขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกสำเร็จเมื่อ 25 พฤษภาคม ไม่กี่วันก่อนเกาหลีเหนือจะยิงจรวดรุ่นใหม่ขึ้นจากฐานส่ง สื่อนอกวิเคราะห์ สะท้อนภาวะการแข่งขันทางอวกาศของสองชาติเหนือ-ใต้ที่จริงจังและใช้ทรัพยากรมหาศาล

รอยเตอร์รายงานว่า จรวดนูรี เป็นจรวดที่ออกแบบโดยเกาหลีใต้ทั้งหมด โดยใช้เวลาพัฒนาหลายทศวรรษ ก่อนที่จะเดินทางมาถึงหมุดหมายสำคัญที่นูรีสามารถขึ้นสู่อวกาศและปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ โดยรัฐบาลกรุงโซลมีความทะเยอทะยานที่จะส่งดาวเทียมพลเรือนและดาวเทียมทหารขึ้นสู่วงโคจรต่อไปในอนาคตด้วย

ในขณะที่ฝั่งเกาหลีเหนือ แม้จรวดโชลีมา-1 ซึ่งเป็นโมเดลจรวดล่าสุดจะประสบความล้มเหลวในการทดลองเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่จรวดรุ่นดังกล่าวก็มีความก้าวหน้ากว่าจรวดรุ่นก่อนๆ ที่เคยปรากฏให้เห็นมา

South Korea first used a self-made rocket last May, the KSLV-II Nuri. While North Korea has developed its own rockets.
South Korea first used a self-made rocket last May, the KSLV-II Nuri. While North Korea has developed its own rockets.

แม้การแข่งขันของทั้งสองชาติจะยังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนหรือญี่ปุ่น แต่ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็เชื่อมโยงความภาคภูมิใจในความเป็นชาติอยู่กับจรวด สะท้อนจากผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน ที่กล่าวว่ากิจการอวกาศคือการแสดงพลังอำนาจในภาพรวมของชาติ ส่วนอดีตประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ มูน แจ-อิน กล่าวในวันที่จรวดโมเดลนูรี ถูกยิงขึ้นฟ้าในวันแรกเมื่อปี 2021 ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือสัญญาณแห่ง “ยุคแห่งอวกาศของเกาหลี”

Equipped with new launch vehicles and fuelled by national pride, North and South Korea are chasing ambitious orbital goals. North Korea has one satellite in orbit from six launches, while South Korea launched its second successful satellite last May.
Equipped with new launch vehicles and fuelled by national pride, North and South Korea are chasing ambitious orbital goals. North Korea has one satellite in orbit from six launches, while South Korea launched its second successful satellite last May.

โจนาธาน แมคโดเวล นักดาราศาสตร์จากศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน มองว่าการทดลองจรวดครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือสะท้อนถึงความจริงจังในการนำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

ด้านมาร์คัส มิลเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดจากยุโรป ระบุว่าการทดลองจรวดครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือ ที่ใช้ฐานยิงจรวดใหม่ที่ใช้เวลาสร้างเพียงเดือนเดียวนั้นเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และเรื่องนี้สะท้อนว่าเกาหลีเหนือมีเครื่องไม้เครื่องมือและทรัพยากรจำนวนมากพอควรทีเดียว

รอยเตอร์รายงานว่า การทดลองยิงจรวดนูรีของเกาหลีใต้ คาดว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2025

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG