ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชาวอินโดปลุกกระแสต้านอเมริกา หลังผู้บัญชาการทหารสูงสุดถูกสั่งห้ามเข้าสหรัฐฯ


FILE - Indonesian military Chief Gatot Nurmantyo talks to reporters in Jakarta, Indonesia, January 5, 2017.
FILE - Indonesian military Chief Gatot Nurmantyo talks to reporters in Jakarta, Indonesia, January 5, 2017.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00

คำสั่งห้ามของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ไม่ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอินโดนีเซียเดินทางเข้าสหรัฐฯ กำลังทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ

พลเอก กาตอต นูร์มานติโย ถูกกันไม่ให้ขึ้นเครื่องบินของสายการบินเอมิเรตส์ ที่สนามบินซูการ์โน-ฮัตตา ในกรุงจาการ์ต้า ขณะเตรียมเดินทางมายังสหรัฐฯ เพื่อร่วมการประชุมต่อต้านแนวคิดสุดโต่ง ในสัปดาห์นี้ ตามคำเชิญของประธานผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมของสหรัฐฯ

เอกอัคราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงจาการ์ต้า ออกมากล่าวขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเป็นผลของการทำงานที่ผิดพลาดของระบบตรวจสอบด้านความปลอดภัย

โดยสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงจาการ์ต้า มีแถลงการณ์ว่า "ทางสถานทูตสหรัฐฯ ได้เตรียมอำนวยความสะดวกในการเดินทางของพลเอกกาตอตไปยังสหรัฐฯ แล้ว และสหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นในความเป็นพันธมิตรด้านยุทธศาสตร์กับอินโดนีเซีย เพื่อนำความมั่นคงและความรุ่งเรืองมาสู่ทั้งสองประเทศ"

แต่ดูเหมือนเรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศไปแล้ว เมื่อพลเอกกาตอตปฏิเสธไม่เดินทางไปสหรัฐฯ ในเที่ยวบินที่ได้รับการจองที่นั่งใหม่ และกระแสต่อต้านอเมริกาในหมู่ชาวอินโดนีเซียก็เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้ง

ทางกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย มีคำแถลงต่อมาว่า คำขอโทษของสหรัฐฯ ยังไม่เพียงพอ และรัฐบาลอินโดนีเซียยังต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากทางสหรัฐฯ ในประเด็นสำคัญนี้

ขณะเดียวกัน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ Jakarta Post เรียกเหตุการณ์นี้ว่า "ความอื้อฉาวทางการทูต" และว่าการตอบสนองของสถานทูตสหรัฐฯ นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เรื่องนี้ยังอาจส่งผลลบต่อภาพพจน์ของพลเอกกาตอต ผู้ซึ่งถูกมองว่าเป็นอิสระจากรัฐบาลอินโดนีเซีย และมักปะทะคารมกับประธานาธิบดี โจโค วีโดโด เป็นประจำ นอกจากนี้พลเอกกาตอตยังถูกคาดหมายว่าจะลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียในการเลือกตั้งสมัยหน้าด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณเอแวน ลักษมานา นักวิจัยที่ Center for Strategic and International Studies ในกรุงจาการ์ต้า เชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบต่อภาพลักษณ์ของพลเอกกาตอตแต่อย่างใด และจะยิ่งทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะเรื่องนี้ได้ขยายไปเป็นประเด็นทางการเมือง และนักการเมืองจำนวนมากได้ประกาศเลือกยืนเคียงข้างเขา เพื่อขอคำอธิบายจากทางสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่าเหตุการณ์นี้ถือเป็นการดูหมิ่นอินโดนีเซียอย่างรุนแรง

FILE - Indonesia President Joko Widodo, center, talks with Indonesian Army Chief of Staff Gen. Gatot Nurmantyo, during inspection of aids for Rohingya before its departure at Halim Perdanakusuma air base in Jakarta, Sept. 13, 2017.
FILE - Indonesia President Joko Widodo, center, talks with Indonesian Army Chief of Staff Gen. Gatot Nurmantyo, during inspection of aids for Rohingya before its departure at Halim Perdanakusuma air base in Jakarta, Sept. 13, 2017.

ทางด้านกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิของสหรัฐฯ (Homeland Security) ระบุว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานของพลเอกกาตอตได้รับการเตือนไปแล้วว่า อาจมีการล่าช้าในการเดินทางครั้งนี้เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย และว่ามีข่าวลือว่า พลเอกกาตอตเป็นผู้จุดประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มความสนใจของประชาชนที่มีต่อตนเอง

ด้านคุณอาร์บี ซานิต นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย กล่าวว่า "แม้การที่พลเอกกาตอตปฏิเสธที่จะเดินทางมายังสหรัฐฯ ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจในทำเนียบขาว แต่ก็ทำให้ตัวเขาเองเป็นที่ชื่นชมในหมู่ชาวอินโดนีเซียขึ้นมาอย่างมากเช่นกัน"

ภายหลังเหตุการณ์นี้ บัญชีทวิตเตอร์ของกองทัพอินโดนีเซีย ไดเ้โพสต์ข้อความที่อ้างอิงมาจากคำกล่าวของอดีตประธานาธิบดีซูการ์โนว่า

"หากคุณกำลังมองหาผู้นำ ให้มองไปยังคนที่ต่างชาติไม่ชอบหรือหวาดกลัว เพราะคนคนนั้นจะสามารถปกป้องคุณจากการแสวงหาประโยชน์ของต่างชาติ"

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอินโดนีเซีย ดีขึ้นมากในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ซึ่งเคยอาศัยและศึกษาในอินโดนีเซียในช่วงวัยเด็ก แต่มิได้มีความคืบหน้าแต่อย่างใดในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดี โดนัลด์ ​ทรัมป์​

ถึงกระนั้น เนื่องจากกระแสชาตินิยมในอินโดนีเซียที่กำลังขยายตัว ประกอบกับเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้น จึงได้ทำให้ชาวอินโดนีเซียจำนวนมากออกมาปลุกกระแสต่อต้านอเมริกาแล้วในตอนนี้

XS
SM
MD
LG