ในอดีต ขวดยา ขวดเหล้าและขวดนม ล้วนเเต่ผลิตด้วยมือจนกระทั่งมาถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ความต้องการใช้ขวดแก้วเพิ่มขึ้นอย่างมากจนทำให้การผลิตขวดแก้วกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ประเภทแรกในสหรัฐอเมริกา
ขวดเเก้วใส่เหล้าเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า Dutch Onions เนื่องจากเเหล่งต้นกำเนิดและรูปร่างของขวดและถือเป็นขวดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาขวดเเก้วในพิพิธภัณ์แห่งนี้ โดยทำขึ้นด้วยมือในช่วงต้นๆ คริสตศวรรษที่ 1700 ส่วนขวดนมมีอายุน้อยที่สุดและผลิตด้วยเทคนิคสมัยใหม่เมื่อไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา
ที่พิพิธภัณฑ์มีขวดแก้วมากกว่าสองพันขวด ต่างกันทั้งสี รูปทรงและขนาด เกือบทั้งหมดผลิตด้วยมือในช่วงคริสตศวรรษ 1800 ขวดแก้วหมายเลข 32 ที่ตั้งไว้ในตู้โชว์ ทำขึ้นในปีคริสตศักราช 1890 คุณ Gary Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดเเก้วกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กล่าวว่าขวดเเก้วดังกล่าวเป็นขวดโค้กใบเเรก
ขวดแก้วบางขวดมีชื่อเจ้าของปรากฏอยู่อย่างชัดเจนบนตัวขวด แสดงให้เห็นว่าคนสมัยนั้นเห็นคุณค่าของการนำขวดไปหมุนเวียนใช้ใหม่
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดเเก้วกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเนื่องจากการผลิตขวดเเก้วมีค่าใช้จ่ายสูง บริษัทต้องการได้ขวดคืนจากผู้บริโภคเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่
ขวดแก้วบางขวดในพิพิธภัณฑ์ไม่เคยใช้บรรจุเครื่องดื่มแต่เป็นขวดแก้วเพื่อการสะสมและมักมีรูปนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหรือดาราดัง
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดแก้วชี้ชวนให้ดูขวดเเก้วเพื่อการสะสม เขากล่าวว่าขวดเหล่านี้เป็นของที่ระลึกการรณรงค์การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปีคริสตศักราช 1972 หรือเกือบสี่สิบสองปีที่แล้ว มีรูปประธานาธิบดี Richard Nixon อยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีรูปรองประธานาธิบดี Spiro T. Agnew ขวดแก้วรูปทรงลาอีกสองขวดเป็นขวดสัญลักษณ์ของพรรค Democrat
พิพิธภัณฑ์ขวดแก้วนี้ตั้งอยู่ภายในอาคารเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้สูงสามชั้น ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทที่รุ่งเรืองในช่วงคริสตศวรรษ 1800 โดยมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติที่โด่งดังหลายบ่อแต่มาปัจจุบันมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติเหลืออยู่แค่สองบ่อเท่านั้น
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดแก้วกล่าวว่าในอดีต ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์เคยมีโรงแรมรีสอร์ทชื่อ Sans Souci Hotel ตั้งอยู่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบรรดาโรงเเรมรีสอร์ทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา เขากล่าวว่าเชื่อว่าโรงเเรมเเห่งนี้เคยมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติถึงสี่บ่อ
คุณ Moeller กล่าวว่ากล่าวว่า ในสมัยที่เขตนี้รุ่งเรือง มีการผลิตน้ำดื่มจากบ่อน้ำแร่ธรรมชาติถึงปีละหลายล้านขวดเพื่อส่งไปขายทั่วโลก ขวดแก้วที่ใช้บรรจุน้ำดื่มจากบ่อน้ำพุธรรมชาติผลิตด้วยมือจนกระทั่งมีการคิดค้นเครื่องผลิตขวดเเก้วขึ้นในปีคริสตศักราช 1903
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กล่าวปิดท้ายว่าผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงประวัติของการทำขวดแก้วในสหรัฐที่ถูกละเลยนี้เพราะนอกจากจะจัดแสดงขวดแก้วเก่าแก่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังนำเครื่องมือผลิตขวดด้วยแรงคน ที่เป่าขวด ตลอดจนแม่พิมพ์เป่าขวดแก้วที่ใช้ในการสร้างรูปทรงแก่ขวดมาให้ได้ชมอีกด้วย
ขวดเเก้วใส่เหล้าเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า Dutch Onions เนื่องจากเเหล่งต้นกำเนิดและรูปร่างของขวดและถือเป็นขวดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาขวดเเก้วในพิพิธภัณ์แห่งนี้ โดยทำขึ้นด้วยมือในช่วงต้นๆ คริสตศวรรษที่ 1700 ส่วนขวดนมมีอายุน้อยที่สุดและผลิตด้วยเทคนิคสมัยใหม่เมื่อไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา
ที่พิพิธภัณฑ์มีขวดแก้วมากกว่าสองพันขวด ต่างกันทั้งสี รูปทรงและขนาด เกือบทั้งหมดผลิตด้วยมือในช่วงคริสตศวรรษ 1800 ขวดแก้วหมายเลข 32 ที่ตั้งไว้ในตู้โชว์ ทำขึ้นในปีคริสตศักราช 1890 คุณ Gary Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดเเก้วกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กล่าวว่าขวดเเก้วดังกล่าวเป็นขวดโค้กใบเเรก
ขวดแก้วบางขวดมีชื่อเจ้าของปรากฏอยู่อย่างชัดเจนบนตัวขวด แสดงให้เห็นว่าคนสมัยนั้นเห็นคุณค่าของการนำขวดไปหมุนเวียนใช้ใหม่
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดเเก้วกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเนื่องจากการผลิตขวดเเก้วมีค่าใช้จ่ายสูง บริษัทต้องการได้ขวดคืนจากผู้บริโภคเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่
ขวดแก้วบางขวดในพิพิธภัณฑ์ไม่เคยใช้บรรจุเครื่องดื่มแต่เป็นขวดแก้วเพื่อการสะสมและมักมีรูปนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหรือดาราดัง
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดแก้วชี้ชวนให้ดูขวดเเก้วเพื่อการสะสม เขากล่าวว่าขวดเหล่านี้เป็นของที่ระลึกการรณรงค์การเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปีคริสตศักราช 1972 หรือเกือบสี่สิบสองปีที่แล้ว มีรูปประธานาธิบดี Richard Nixon อยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีรูปรองประธานาธิบดี Spiro T. Agnew ขวดแก้วรูปทรงลาอีกสองขวดเป็นขวดสัญลักษณ์ของพรรค Democrat
พิพิธภัณฑ์ขวดแก้วนี้ตั้งอยู่ภายในอาคารเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้สูงสามชั้น ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทที่รุ่งเรืองในช่วงคริสตศวรรษ 1800 โดยมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติที่โด่งดังหลายบ่อแต่มาปัจจุบันมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติเหลืออยู่แค่สองบ่อเท่านั้น
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขวดแก้วกล่าวว่าในอดีต ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์เคยมีโรงแรมรีสอร์ทชื่อ Sans Souci Hotel ตั้งอยู่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบรรดาโรงเเรมรีสอร์ทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา เขากล่าวว่าเชื่อว่าโรงเเรมเเห่งนี้เคยมีบ่อน้ำแร่ธรรมชาติถึงสี่บ่อ
คุณ Moeller กล่าวว่ากล่าวว่า ในสมัยที่เขตนี้รุ่งเรือง มีการผลิตน้ำดื่มจากบ่อน้ำแร่ธรรมชาติถึงปีละหลายล้านขวดเพื่อส่งไปขายทั่วโลก ขวดแก้วที่ใช้บรรจุน้ำดื่มจากบ่อน้ำพุธรรมชาติผลิตด้วยมือจนกระทั่งมีการคิดค้นเครื่องผลิตขวดเเก้วขึ้นในปีคริสตศักราช 1903
คุณ Moeller ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กล่าวปิดท้ายว่าผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงประวัติของการทำขวดแก้วในสหรัฐที่ถูกละเลยนี้เพราะนอกจากจะจัดแสดงขวดแก้วเก่าแก่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังนำเครื่องมือผลิตขวดด้วยแรงคน ที่เป่าขวด ตลอดจนแม่พิมพ์เป่าขวดแก้วที่ใช้ในการสร้างรูปทรงแก่ขวดมาให้ได้ชมอีกด้วย