ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ยานสำรวจอวกาศเดินทางสู่ 'จุดไกลสุดจากโลก' ต้อนรับปีใหม่


In this photo provided by NASA, a NASA scientist celebrates with school children at the exact moment that the New Horizons spacecraft made the closest approach of Kuiper Belt object Ultima Thule, Jan. 1, 2019, in Laurel, Md.
In this photo provided by NASA, a NASA scientist celebrates with school children at the exact moment that the New Horizons spacecraft made the closest approach of Kuiper Belt object Ultima Thule, Jan. 1, 2019, in Laurel, Md.

ยานสำรวจอวกาศขนาดเล็ก New Horizons ขององค์การสำรวจอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซ่า เดินทางสู่จุดที่ไกลที่สุดจากโลก ที่ยานของมนุษย์เคยเดินทางไปถึง

ความสำเร็จนี้โดยยาน New Horizons ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแกรนด์เปียโน เกิดขึ้นเมื่อชาวโลกฉลองปีใหม่ ค.ศ. 2019 ได้เพียง 33 นาทีเท่านั้น

สถาบันวิทยาศาสตร์ Applied Physics Laboratory ของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอบกินส์ ซึ่งเป็นผู้สร้างยานลำนี้ กล่าวว่า New Horizons เดินทางผ่านวัตถุอวกาศที่เรียกว่า 2014 MU69 หรือ อัลติมาทุล (Ultima Thule)

และ 10 ชั่วโมงหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่บริหารจัดการภารกิจนี้ ประกาศว่ายานลำดังกล่าวบรรลุเป้าหมายการเดินทางสู่จุดที่ไกลสุดเท่าที่ยานของมนุษย์เคยเดินทางไปถึง

FILE - This illustration provided by NASA shows the New Horizons spacecraft. NASA launched the probe in 2006; it’s about the size of a baby grand piano.
FILE - This illustration provided by NASA shows the New Horizons spacecraft. NASA launched the probe in 2006; it’s about the size of a baby grand piano.

ยาน New Horizons เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่า 800 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเริ่มขึ้นปี ค.ศ. 2006 และใช้เวลา 4 ชั่วโมงเก็บข้อมูลอวกาศเมื่อเดินทางถึงวัตถุอัลติมาทุล

​นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การส่งข้อมูลทั้งหมดกลับมายังโลกน่าจะใช้เวลาเกือบ 2 ปี

ภาพในอดีตแสดงให้เห็นว่าวัตถุอัลติมาทุลมีรูปทรงยาวรี ขนาดประมาณ 35 กิโลเมตร กับความกว้าง 14 กิโลเมตร

เมื่อปี ค.ศ. 2015 ยาน New Horizons เดินทางผ่านดาวพลูโต ซึ่งเป็นสถิติใหม่ในขณะนั้น ที่ยานจากโลกเดินทางไกลสู่วัตถุในอวกาศ

แต่ในความสำเร็จใหม่ต้อนรับปี ค.ศ. 2019 นี้ New Horizons เดินทางไกลจากดาวพลูโตไปอีก 1,600 ล้านกิโลเมตร และห่างจากโลกไป 6,500 ล้านกิโลเมตร

XS
SM
MD
LG